คอลัมนิสต์

ดราม่าตู้คีบตุ๊กตา..มอมเมาหรือเข้าใจผิด!?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย... ทีมข่าวอาชญากรรม

 



          เชื่อว่าหลายต่อหลายคนที่เข้าไปเดินในห้างสรรพสินค้าต่างๆ แทบทุกห้างจะมีโซนสวนสนุกสำหรับเด็ก ที่มีบริการหยอดเหรียญหรือซื้อคูปอง และเครื่องเล่นอย่างหนึ่งที่สะดุดตาเป็นที่นิยมของเด็กและวัยรุ่นคงหนีไม่พ้น “ตู้คีบตุ๊กตา” 

 

 

          ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดกระแส “ดราม่า” บนโลกออนไลน์ เกี่ยวกับตู้คีบตุ๊กตาภายในห้างสรรพสินค้า จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าวผู้ปกครองเด็กใน จ.เชียงใหม่ ร้องเรียนว่า มีตู้คีบตุ๊กตามอมเมาเยาวชนเกลื่อนเมืองเชียงใหม่ในลักษณะที่เป็นการเล่นการพนัน ทำให้เด็กและเยาวชนเข้าไปใช้บริการเพื่อหวังที่จะได้ตุ๊กตา หรือของรางวัลภายในตู้คีบตุ๊กตาดังกล่าว อันเป็นการกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ส่งผลให้เป็นที่สนใจของสังคม โดยเฉพาะผู้ปกครองชาวเชียงใหม่ กระทั่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าตู้คีบตุ๊กตาเหล่านี้เป็นสิ่งผิดกฎหมายหรือไม่ จนทำให้ พล.ต.ต.พิเชษฐ จีระนันตสิน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ (บก.ภ.จว.เชียงใหม่) ต้องสั่งตรวจสอบอย่างเร่งด่วน

 

 

ดราม่าตู้คีบตุ๊กตา..มอมเมาหรือเข้าใจผิด!?

 

 

          สำหรับเรื่องนี้ต้องแยกเป็น 2 ประเด็น ประเด็นแรก ตู้คีบตุ๊กตาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย หรือเป็นการพนันหรือไม่ ซึ่งมีผู้ประกอบการหลายรายชี้แจงมาว่าตู้คีบตุ๊กตา หรือที่เรียกว่า “เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ” เปิดให้บริการตามแนวหนังสือตอบข้อหารือของ สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยกลุ่มผู้ประกอบการได้ยึดเป็นแนวปฏิบัติในการให้บริการแก่ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ คือ 1.สินค้าที่อยู่ในเครื่องจำหน่ายสินค้าต้องมีราคาเท่ากันทั้งหมด และมีการติดป้ายราคาที่ชัดเจนบริเวณด้านหน้าเครื่องจำหน่ายสินค้า 2.สินค้าที่อยู่ในเครื่องจำหน่ายสินค้าต้องมีลักษณะ ขนาด รูปร่าง และสี เหมือนกันทั้งหมด 3.เครื่องสินค้าจะเริ่มทำงาน เมื่อลูกค้าได้ชำระค่าสินค้าครบถ้วนตามราคาสินค้าที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการหยอดเหรียญลงในช่องหยอดเหรียญ 4.หลังจากที่เครื่องจำหน่ายสินค้าเริ่มทำงานลูกค้าสามารถเลือกหยิบสินค้า โดยไม่มีการกำหนดระยะเวลา และ 5.เครื่องจำหน่ายสินค้าจะไม่หยุดทำงานจนกว่าลูกค้าจะได้รับสินค้า 

 

 

 

 

ดราม่าตู้คีบตุ๊กตา..มอมเมาหรือเข้าใจผิด!?


 


          ถ้าหากผู้ประกอบการดำเนินการตามวิธีดั้งกล่าวข้างต้นก็ถือว่าเป็นเพียงเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ไม่ใช่การพนันแต่อย่างใด แต่เนื่องจากมีผู้ประกอบการบางราย “หัวหมอ” หวังสร้างรายได้เพิ่มขึ้นโดยการฉวยโอกาสพลิกแพลงวิธีการเล่น ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงทำให้เกิดปัญหาร้องเรียนตามมา


          ประเด็นที่สอง นอกจากการพิสูจน์ว่าตู้คีบตุ๊กตาเป็นการพนันหรือไม่นั้น ต้องดูว่าเป็นการมอมเมาเยาวชนหรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ได้สอบถามจากผู้ปกครองเด็กหลายราย ได้ให้ความเห็นว่า อย่าไปมองที่ตู้คีบตุ๊กตาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองว่าตู้คีบตุ๊กตาบางแห่งตั้งอยู่ในสวนสนุกบนห้าง มีเครื่องเล่นต่างๆ มากมาย อาทิ บ้านบอล ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน สอนทำขนม เกมเสริมเชาว์ปัญญาต่างๆ เป็นต้น พ่อแม่บางรายพากันมาเดินห้างก็พาลูกมาเล่นสวนสนุกพักผ่อนระหว่างรอช็อบปิ้ง ซึ่งหลายคนมองว่าสวนสนุกเหล่านี้ทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมต่างๆ มีโอกาสพบปะเพื่อนใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ ฝึกสมองประลองไหวพริบ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับเด็กเล็กผู้ปกครองเองควรให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถแยกแยะได้ด้วยตนเอง

 

 

ดราม่าตู้คีบตุ๊กตา..มอมเมาหรือเข้าใจผิด!?

 

 


          ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติซึ่งได้รับผลกระทบจากการนำเสนอข่าวดังกล่าว ได้ออกมาชี้แจงว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่นอกพื้นที่ห้างสรรพสินค้า นำตู้คีบตุ๊กตามาเป็นส่วนหนึ่งในการกระทำความผิดตามกฎหมายการพนัน ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการที่สุจริตและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ด้วยการดำเนินธุรกิจตามแนวนโยบาย ข้อกำหนด และข้อกฎหมายที่ประกาศมาโดยตลอด ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

 

 

 

ดราม่าตู้คีบตุ๊กตา..มอมเมาหรือเข้าใจผิด!?

 


          กลุ่มผู้ประกอบการเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติระบุด้วยว่า หลายประเทศที่พัฒนาแล้วมองว่าสวนสนุกที่มีตู้คีบตุ๊กตาเช่นนี้ เป็นสิ่งที่สร้างสีสันให้แก่การมาเดินห้างในช่วงวันหยุด ต่างจากประเทศไทยเรายังจ้องจับผิดว่าเป็นการพนัน ทั้งๆ ที่กฎหมายบางอย่างบางฉบับอย่างพ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มีมาจะครบร้อยปีแล้ว ควรจะแก้กฎหมายให้เข้ากับยุคสมัยหรือไม่
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ