ข่าว

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดการประชุมฯ "รักษ์ป่าน่าน" ครั้งที่ 4

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทรงบรรยายในห้วข้อ "สร้างป่า สร้างรายได" เน้นชาวบ้านที่สมัครใจ

          ปัญหาป่าไม้ของจังหวัดน่าน เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนให้ความสนใจ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยและทรงเห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ให้คืนสู่สมดุล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมมือกันจัดประชุมสัมมนา “รักษ์ป่าน่าน” ครั้งที่ 4 ขึ้น ในการนี้ เสด็จฯ ทรงเปิดงานฯ พร้อมทรงบรรยายในห้วข้อ “สร้างป่า สร้างรายได้”  โดยมี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, วรกิตติ ศรีทิพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน, ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภาจุฬาฯ, ศ.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ, คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ ประธาน คณะทำงานดำเนินงานร้านภูฟ้า, บัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตลอดจนข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ นิสิตจุฬาฯ และประชาชนเฝ้าฯรับเสด็จ ณ ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันก่อน

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดการประชุมฯ "รักษ์ป่าน่าน" ครั้งที่ 4

          หลังจาก ทอดพระเนตรนิทรรศการโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อาทิ สร้างป่า สร้างรายได้, แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระท้องถิ่น “รักษ์ป่าน่าน” ระดับชั้นประถมศึกษา และนิทรรศการจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายเรื่อง “สร้างป่า สร้างรายได้” ความบางตอนว่า จากการเยี่ยมชมนิทรรศการในการประชุมครั้งนี้ มีการพูดถึง "ปลูกพืชเชิงเดียว" มีหลายสำนักสอนว่าให้ปลูกอย่างเดียวกันมากๆ จะได้เป็นกอบเป็นกำ มีหลายที่ เช่น เยอรมัน พาไปดูการปลูกป่าพืชเชิงเดียว เขาแนะนำว่า เป็นตัวอย่างที่ทำแล้วไม่ควรทำ เพราะพืชจะไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีราคาขึ้นลง ถ้าปลูกอย่างเดียวปีนั้นก็แย่ไปเลยไม่มีอะไรมาประกันความเสี่ยง อีกประเด็นหนึ่งเป็นเรื่องการดูแลทรัพยากร ทุกคนคงเคยได้ยินว่า "สุขภาพหนึ่งเดียว" แต่คำว่าหนี่งเดียวไม่ใช่เฉพาะสุขภาพของคนแต่เป็นสุขภาพของสัตว์ พืช  สิ่งแวดล้อม

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดการประชุมฯ "รักษ์ป่าน่าน" ครั้งที่ 4

ฉาย บุนนาค-วทันยา วงษ์โอภาสี-สมชาย มีเสน-วีระศักดิ์ พงษ์อักษร 

          ไม่ใช่คนไทยสุขภาพดี คนพม่าสุขภาพไม่ดีก็ได้ เพราะไม่เกี่ยวกับเรา ต้องทำงานไปด้วยกัน อันนี้ก็ขัดกับหลักการสุขภาพหนึ่งเดียว ไม่ใช่ทำลายประเทศไทยไม่ได้ แต่ต้องทำลายไม่ได้ทั้งโลก ไม่ใช่ทำลายที่น่านไม่ได้ แต่ไปทำลายที่อื่นได้
          สร้างป่าสร้างรายได้ เราปลูกให้โครงสร้างใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ประกอบด้วยชั้นเรือนยอดต่างๆ ได้แก่ เรือนยอดชั้นบน เรือนยอดชั้นรอง เรือนยอดชั้นไม้พุ่ม และเรือนยอดชั้นผิวดิน  มีความหลากหลายและความสมบูรณ์ของพันธุ์ไม้ พันธุ์ไม้จะแตกต่างกันไปแต่ละป่าแต่ละชนิด มีหินและดินต้นกำเนิดที่ต่างกัน และให้ปลูกไม้ป่าดั้งเดิมของพื้นที่ที่เป็นไม้เบิกทางผสมผสานกับการปลูกพืชเกษตรหรือไม้เศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้แก่คนท้อบถิ่นได้ เราจะได้มีป่าใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด แม้จะทำเหมือนเดิมร้อยเปอร์เซ็นต์ไมาได้ด้แต่ก็ใกล้เคียงมาก เหมือนการปลูกป่าที่เรียกว่า "มิยาวากิ" ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งในประเทศญี่ปนแนะนำให้ปลูกพืชพื้นเมืองนอกจากหญ้าแฝก ตอนนี้

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดการประชุมฯ "รักษ์ป่าน่าน" ครั้งที่ 4

อรรถพล เจริญชันษา-วิบูลย์ แววบัณฑิต-ทิฆัมพร กองสอน-ถนัด ใบยา


          พื้นที่ดำเนินการสร้างป่าเริ่มเป็นชิ้นเป็นอันที่ อ.บ่อเกลือ  จ.น่านและ อ.นาแห้ว จ.เลย  และมีการขยายไปยังอำเภอต่างๆ ในแม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ จากสถิติเบื้องต้นปี 2561 มีชาวบ้านเข้าร่วมร่วมโครงการทั้งหมด19,890 ครัวเรือน. พื้นที่ที่ 71,786 ไร่ เป็นพื้นที่ที่กำลังฟื้นฟูและอนุรักษ์ ฟังดูเหมือนน้อย. แต่ไม่ชอบทำอะไระเยอะ   ทำทีละน้อย ในการทำงานร่วมกับกรมป่าไม้และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธาศัย (กศน.) เป็นแกนผลักดันโครงการ รวมถึงกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มาช่วยอย่างเต็มตัว 

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดการประชุมฯ "รักษ์ป่าน่าน" ครั้งที่ 4

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดการประชุมฯ "รักษ์ป่าน่าน" ครั้งที่ 4


          สร้างป่าสร้ายรายได้จังหวัดน่าน เรื่องตลาดสำคัญมาก มีการขายในพื้นที่และขายร้านภูฟ้า  งานบางอย่างส่งไปต่างประเทศ ขณะนี้ทีมงานของเราอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ขายสินค้าจากโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ของแปรรูปจากภัทรภัทร
          ขั้นตอนการดำเนินงานมีการสร้างความเข้าใจร่วมกัน  ประชุมร่วมกับชุมชน ครู กศน. เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ และชาวบ้าน คุยว่าชาวบ้านในพื้นที่จะได้รับประโยชน์อะไรจากโครงการ เพราะชาวบ้านกลัวว่า ทำแล้วที่ทำกินจะโดนยึดไป   ทำอย่างไรถึงจะทำมาหากินได้โดยไม่ถูกจับ และทำให้มีรายได้รองรับ  ต้องทำให้ชาวบ้านมั่นใจ 

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดการประชุมฯ "รักษ์ป่าน่าน" ครั้งที่ 4

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา-บัณฑูร ล่ำซำ 


          และที่ต้องขีดเส้นใต้คือรับสมัครขาวบ้านที่สมัครใจที่จะนำพื้นที่ของตัวเองมาร่วม ไม่มีการบังคับ และจำกัดขนาดพื้นที่ รวมถึงจดทะเบียนกลุ่มสร้างป่าสร้างรายได้ เป็นวิสาหกิจชุมชน หากมีปัญหาให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกัน เพราะกลุ่มมีไว้ช่วยกัน  
         ทั้งนี้ภายในงาน ดร.วิจารย์ สิมาฉายา และ บัณฑูร ล่ำซำ ร่วมกันบรรยายเรื่อง “สิ่งดีดีกำลังจะขึ้นที่น่าน” และต่อด้วยการเสวนาเรื่อง “วิถีคนน่านอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน” โดย วิบูลย์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน, อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้, ทิฆัมพร กองสอน รองประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์น่าน และ ถนัด ใบยา รองประธามูลนิธิฮักเมืองน่าน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ