ข่าว

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์"แลมบ์ดา"ที่ว่าร้ายกว่า"เดลตา" หมอดื้อ บอก แค่ 20% ที่เข้ามา น้อยแต่แรงก็จบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์"แลมบ์ดา" ที่ว่าแรงกว่า"เดลตา" หมอธีระวัฒน์ เชื่อ มีสิทธิ์ระบาดเข้าทุกสายพันธุ์ แม้เพียง 20% น้อยแต่แรงก็จบ

หลังจากที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาประกาศให้ "แลมบ์ดา" เป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจเฝ้าระวัง หรือที่เรียกว่า Variant of Interest (VOI) ลำดับที่ 7 ขณะที่หลายประเทศกำลังกังวลถึงความรุนแรงของ "แลมบ์ดา" โคโรนาไวรัสกลายพันธุ์ในลำดับที่ 4 ต่อจาก "เดลตา" ที่กำลังระบาดไปทั่วโลกมากกว่า 100 ประเทศ และถึงแม้ว่า จะยังไม่ปรากฏว่า มีการระบาดในประเทศไทย ก็ยังต้องเฝ้าระวังเนื่องจากมีแนวโน้มว่า โควิดสายพันธุ์นี้ อันตราย และมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลตา

 

 

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์"แลมบ์ดา"ที่ว่าร้ายกว่า"เดลตา" หมอดื้อ บอก แค่ 20% ที่เข้ามา น้อยแต่แรงก็จบ

โควิดสายพันธุ์ใหม่แลมบ์ดามาจากไหน

โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) หรือ C.37 ระบาดไปแล้วประมาณ 30 ประเทศ โดยพบครั้งแรกที่ประเทศเปรู เมื่อปลายปี 2563 อีกทั้ง ประเทศเปรูยังเป็น 1 ในประเทศ ที่มีอัตราผู้ป่วยโควิด-19 เสี่ยงเสียชีวิตสูง จากการกลายพันธุ์บริเวณตำแหน่ง L452Q และ D253N มีแนวโน้มทำให้โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาจะแพร่ระบาดได้รวดเร็ว และมีอาการที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลตา ที่ประเทศไทยกำลังเฝ้าระวังอยู่ รวมไปถึงความสามารถในการหลีกเลี่ยงวัคซีนของสายพันธุ์แลมบ์ดาด้วยเช่นกัน

โควิดสายพันธุ์ใหม่แลมบ์ดาอาการเป็นอย่างไร

เบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่าอาการของผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาจะมีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์เดลตา และสังเกตอาการยากกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์เฝ้าระวังว่าจะสามารถแพร่เชื้อในอนาคต (Variant of Interest) หรือ VOI  และมีแนวโน้มว่าต่อไปอาจจะถูกเพิ่มเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern) หรือ VOC เช่นเดียวกับสายพันธุ์เดลตา ซึ่งมีเกณฑ์ในการวัด ดังนี้

 

- ความรุนแรงเมื่อติดเชื้อมากกว่าสายพันธุ์ปกติ

- มีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ปกติ

- สามารถเลี่ยงประสิทธิภาพวัคซีน หรือส่งผลต่อระบบสาธารณสุขให้ด้อยลงจากเดิม

สถานการณ์โควิดสายพันธุ์ใหม่แลมบ์ดาในไทย

จากข้อมูลวันที่ 19 กรกฎาคม ยังไม่มีรายงานว่า พบโควิดสายพันธุ์ใหม่แลมบ์ดาในไทย โดยความเสี่ยงที่มากที่สุด คือกลุ่มคนที่เข้าออกนอกประเทศ หรือเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์นี้ ขณะที่  ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับ"คมชัดลึกออนไลน์" ว่าไวรัสทุกสายพันธุ์มีโอกาสแพร่กระจายเข้ามาได้ทั้งหมด

 

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์"แลมบ์ดา"ที่ว่าร้ายกว่า"เดลตา" หมอดื้อ บอก แค่ 20% ที่เข้ามา น้อยแต่แรงก็จบ

 

เช่นเดียวกับสายพันธุ์แลมดา ที่คาดว่า ก็คงจะระบาดมาถึงประเทศไทยอีกไม่นาน แต่จะบอกว่าสายพันธุ์ไหน รุนแรงกว่ากัน คงเป็นเรื่องที่บอกยาก อย่างเช่นสายพันธุ์เดลตา ติดง่าย แพร่กระจายง่าย จึงเข้าไปเบียดอัลฟ่าลง แต่หากมีสายพันธุ์อื่นเข้ามา ถึงแม้จะเข้ามาครองตลาดได้เพียง 20% แต่หากทำให้อัตราการเสียชีวิตสูง นั่นจึงมีความหมายมากกว่า ส่วนวัคซีนชนิดใดจะสามารถเอาอยู่ หากในประเทศไทยนั้น ขอแค่มีวัคซีน ไม่ว่าจะชนิดใด ก็ขอให้มีได้ฉีดก่อนดีกว่า

 

วัคซีนชนิดใดสามารถป้องกันโควิดสายพันธุ์ใหม่แลมบ์ดาได้บ้าง

มีการเผยแพร่การวิจัยของมหาวิทยาลัยนิวยอร์กในสหรัฐอเมริกาว่า จริงอยู่ที่โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาอาจลดประสิทธิภาพของวัคซีนได้ แต่ในการทดสอบกับวัคซีนชนิด mRNA (วัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา) พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากพอในการช่วยป้องกันโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา สำหรับวัคซีนชนิดอื่นยังไม่มีผลการวิจัยออกมาเผยแพร่แต่อย่างใด

 

ที่มา : โรงพยาบาลเพชรเวช

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ