ข่าว

"เส้นด้าย" ถามหายา"ฟาวิพิราเวียร์" ขอเปิดให้เอกชนนำเข้าแบบ Fast Track แก้ปัญหาขาดยา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เส้นด้าย ทวงถามหายา"ฟาวิพิราเวียร์" ขอเปิดให้เอกชนนำเข้าแบบ Fast Track แก้ปัญหาขาดยา พบผู้ป่วยทำ Home Isolation 90% ไม่ได้รับยา

กลุ่มเส้นด้าย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค สะท้อนปัญหา หลังจากลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง โดยระบุข้อความว่า "เส้นด้ายทวงถาม.. ฟาวิพิราเวียร์อยู่ไหน มีพอหรือไม่ เปิดให้เอกชนนำเข้าแบบฟาสแทร็ค (Fast Track) ได้หรือไม่ เพื่อแก้ปัญหาผู้ติดเชื้อไร้ยารักษาโดยด่วน!!!"

วันนี้ โครงการตรวจโควิด-19 เชิงรุก #ตรวจหนึ่งล้านคนในหนึ่งเดือน วันที่ 3 โดยความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ในหลายภาคส่วน พร้อมกลุ่มเส้นด้าย ยังคงดำเนินต่อไป โดยในโครงการนี้ เราตั้งเป้าไว้ที่ตรวจให้ได้มากที่สุด ในเวลาที่น้อยที่สุด

 

"เส้นด้าย" ถามหายา"ฟาวิพิราเวียร์" ขอเปิดให้เอกชนนำเข้าแบบ Fast Track แก้ปัญหาขาดยา

 

วันนี้ที่พื้นที่จุดตรวจเชิงรุก บริเวณลานกีฬาชุมชนอุทัยรัตน์ เขตพญาไท และมีดำเนินงานอย่างครบกระบวนที่สุด คือ มีการตรวจแอนติเจน เทสต์ คิดท  ATK ต่อด้วย RT-PCR และพิจารณาจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ได้ทันทีให้ ภายใต้คำสั่งของแพทย์ พร้อมเอกซเรย์ปอดบนรถเอกซเรย์เคลื่อนที่ทันที ใครผลเป็นลบ จับฉีดวัคซีนเลย

จากการได้พูดคุยกับทีมแพทย์และผู้รับบริการ พบว่า โครงการนี้โดยเฉพาะในส่วนที่การทำให้ผู้ติดเชื้อหลายคนเข้าถึงยาฟาวิพิราเวียร์ได้ทันทีหลังตรวจ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก และควรมีโมเดลแบบนี้เกิดขึ้นในทุก ๆ พื้นที่

 

แต่ก็ยังมีความน่าเป็นห่วง เพราะหากไม่ใช่โครงการที่มีความครอบคลุมเช่นนี้แล้ว ประชาชนก็ยังเข้าถึงยาตัวนี้ได้ยากมาก จนทำให้ในหลายกรณีอาการทรุดลงอย่างที่ไม่ควรเป็น จนอาจถึงแก่ชีวิต ดังที่เส้นด้ายนำเสนอไปหลายครั้งแล้ว

และหากอ้างอิงจากข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้ ที่มีการยืนยันโดยอธิบดีกรมการแพทย์ว่า มียาสำรองเพียงพอ และสั่งนำเข้ามาแล้ว แต่ความจริง สิ่งที่คนไข้บอกกับเส้นด้ายคือ การเข้าถึงยาได้ยากมาก คนไข้กว่าร้อยละ 90 ไม่ได้รับยาจากการรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation ทิพย์) หน่วยงานรัฐที่ดูแลกระจายยาก็ขาดประสิทธิภาพในการกระจายยา

จนหลายฝ่ายอดสงสัยไม่ได้ว่า มียาฟาวิพิราเวียร์มีสำรองอยู่เพียงพอจริงหรือไม่ และการผลิตนั้นจะทำได้ถึงจำนวนเป้าหมาย 40 ล้านเม็ดต่อเดือนได้ในเดือนตุลาคม ตามที่ประกาศไว้ได้จริงหรือไม่

#เส้นด้าย จึงขอตั้งคำถาม และส่งเสียงเรียกร้องต่อคณะกรรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า เพราะเหตุใดจึงไม่มีการส่งเสริมให้บริษัทเอกชน นำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์ โดยให้ลดเวลา และขั้นตอนในการขอนำเข้าเหลือเพียงการใช้เอกสารที่สำคัญและจำเป็นเท่านั้น (Fast Track)

ทำไมเราถึงปล่อยให้อนาคตของคนไทย ตกอยู่กำมือของหน่วยงานราชการเพียงไม่กี่แห่ง ที่เป็นคนนำเข้ายาชนิดนี้?

หากมีมาตราการดังกล่าวจริง เส้นด้ายเชื่อว่า บริษัทเอกชนกว่า 500 บริษัท ที่มีใบอนุญาตนำเข้ายาอยู่แล้ว จะมีหลายบริษัทที่พร้อมสั่งสารตั้งต้น (Raw Material) จากต่างประเทศ ที่มีขายทั้งในญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี หรือ แม้แต่จีน บริษัทเหล่านี้พร้อมที่จะเป็นผู้นำเข้า และผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ พวกเขามีความชำนาญและมีประสิทธิภาพในการกระจายตัวยาที่ดีกว่าหน่วยงานรัฐอย่างมาก

 

ดังเช่นในกรณีของชุดตรวจโควิดแบบแอนติเจน (ATK) ก็ยังสามารถทำ Fast Track ได้ และทำให้มีการนำเข้าถึงกว่า 20 ยี่ห้อให้มีการแข่งกันขาย มีการแข่งกันกระจายสินค้า จนปัจจุบันชุดตรวจแอนติเจน Atk สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปแล้ว

หากทำได้ ก็จะยิ่งเป็นหลักประกันว่า ประชาชนจะไม่ต้องเดิมพันอนาคตของตัวเองไว้กับการเข้าถึงยาของหน่วยงานราชการเพียงอย่างเดียว และไม่วางคอพาดไว้บนเขียง เพราะรอองค์การเภสัชผลิตให้ได้ตามเป้าในเดือนตุลาคมเพียงเจ้าเดียว แบบที่เกิดขึ้นกับวัคซีนในปัจจุบัน

โดยสรุป #เส้นด้าย ขอให้รัฐทำสิ่งที่ตัวเองทำได้ง่ายที่สุด นั่นคือ ผลิตอย่างเดิมก็ดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ต้องทำเพิ่มคือ เปิดทางเอกชนได้นำเข้ายาอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะกระจายยาให้ทั่วถึง และเพื่อให้การเบิกจ่ายยาไม่ล่าช้าจนคร่าชีวิตใครอย่างไม่ควรเกิดขึ้นอีก

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ