ข่าว

"โควิดวันนี้" ไทยพบเคสผู้ป่วยอาการหนักทะยานขึ้นอันดับ 6 ของโลก 3 เอเชีย 1 อาเซียน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เว็บไซต์ worldometers อัปเดตเคสผู้ป่วย "โควิด-19" ที่มีอาการหนักจากทั่วโลก ปรากฏว่า ไทยพบเคสผู้ป่วยอาการหนักทะยานขึ้นอันดับ 6 ของโลก 3 เอเชีย 1 อาเซียน

(5 ส.ค.2564) เว็บไซต์ worldometers อัปเดตเคสผู้ป่วย "โควิด-19" ที่มีอาการหนักจากทั่วโลก ปรากฏว่า ประเทศไทยพบเคสดังกล่าวติดอันดับ 6 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของอาเซียนซึ่งพบถึง 4,993 ราย 

 

 

สถานการณ์โรค "โควิด-19" ประจำวันนี้โดยจำนวนผู้ติดเชื้อ "โควิดวันนี้" 20,920 ราย (เป็นติดเชื้อใหม่ 20,658 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 262 ราย) 

 

ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อ "โควิดวันนี้" สะสมอยู่ที่ 693,305 ราย หายป่วยแล้ว 473,732 ราย กำลังรักษา 213,910 เสียชีวิตเพิ่มวันนี้ 160 ราย รวมเสียชีวิตแล้ว 5,663 ราย จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 4 ส.ค. 2564) รวม 18,961,703 โดส ใน 77 จังหวัด ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 4 สิงหาคม 2564 ยอดฉีดทั่วประเทศ 383,607 โดส เข็มที่ 1 : 290,616 ราย ,  เข็มที่ 2 : 92,991 ราย

 

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 14,783,001 ราย , จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 4,178,702 ราย

 

ผู้ป่วยอาการหนัก 10 อันดับแรกของโลก

 

  1. สหรัฐอเมริกา  12,705 ราย
  2. อินเดีย 8,944 ราย
  3. บราซิล 8,318 ราย
  4. โคลอมเบีย 8,155 ราย
  5. อิหร่าน 5,959 ราย
  6. ไทย 4,993 ราย
  7. เม็กซิโก 4,798 ราย
  8. ปากีสถาน 4,050 ราย
  9. อาร์เจนติน่า 3,748 ราย 
  10. รัสเซีย 2,300 ราย

 

โดยเรื่องนี้ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้วิเคราะห์สถานการณ์ "โควิด-19" ในไทยโดยระบุว่า ตอนนี้ไทยมีจำนวนผู้ป่วยรุนแรงและวิกฤติสูงเป็นอันดับที่ 6 ของโลก , อันดับที่ 3 ของเอเชีย และเป็นอันดับที่ 1 ในอาเซียน จากข้อมูลพบว่า ณ ปลายเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา อัตราการตรวจพบว่าติดเชื้อสูงมากถึงเกือบ 24% นั่นคือตรวจประมาณ 4 คนจะเจอว่าติดเชื้อ 1 คน

 

 

ความชุกของการติดเชื้อโควิด-19 ที่ตรวจพบนี้ถือว่าสูงมาก และย้ำเตือนให้เราทุกคนต้องตระหนักถึงสถานการณ์การระบาดขณะนี้ว่า "วิกฤติ"

 

ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ที่ควรพิจารณาดำเนินการในสถานการณ์เช่นนี้ คือ

 

1. จำเป็นต้องขยายศักยภาพของการตรวจคัดกรองโรคให้มากกว่าที่ทำมา อย่างน้อยอีก 2-3 เท่า คือตรวจให้ได้ 150,000-200,000 ครั้งต่อวัน เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อแพร่เชื้อของคนในสังคม

ทั้งนี้ เชื้อสายพันธุ์เดลตามีสมรรถนะในการแพร่เร็วกว่าอัลฟาถึง 55% และคนติดเชื้อ 1 คนจะแพร่ให้ผู้อื่นได้ราว 8-9 คนเทียบเท่ากับโรคสุกใส ดังนั้น การตรวจให้มาก เร็ว และครอบคลุมพื้นที่จึงเป็นหัวใจสำคัญในการต่อสู้ศึกนี้

 

2.วัดและโรงเรียนทั่วประเทศ จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ในฐานะศูนย์พักพิงสำหรับผู้ติดเชื้อแบบไม่มีอาการ เพราะการทำ Home Isolation และ Community Isolation ในลักษณะอื่นนั้นแม้จะดำเนินไปได้ แต่การบริการหน่วยย่อยระดับครัวเรือนนั้นจะไม่ทางทำได้อย่างทั่วถึงหรือเพียงพอ และมีโอกาสที่จะติดเชื้อแพร่เชื้อในครัวเรือนไปเรื่อยๆ ดังนั้น การทำให้เป็นยูนิตที่ใหญ่ขึ้นสำหรับกลุ่มที่ไม่มีอาการนั้นจะมีความคุ้มค่าและเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าในระยะหลายเดือนถัดจากนี้

 

3.ควรเตรียมประชาชนในเรื่องเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน ลดการนำเข้าสิ่งฟุ่มเฟือย เน้นการใช้ของภายในประเทศ เพราะแนวโน้มการระบาดลักษณะที่กำลังเผชิญนี้มีความยาวนาน

 

4.ระบบสาธารณสุขต้องวางแผนรับมือกับเรื่องผู้ป่วยที่มีอาการคงค้างระยะยาว หรือที่เรียกว่า COVID Long Hauler/Chronic COVID Syndrome ซึ่งประเทศต่างๆ ที่ผ่านการระบาดหนักมาก่อน มีผู้ป่วยที่พบภาวะดังกล่าวมากได้ถึงราว 30-40%

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ