ข่าว

นักไวรัสวิทยา เผยผลวิจัยญี่ปุ่นพบวัคซีน "Pfizer" ต้องกระตุ้นเข็ม 3 ห่าง 6 เดือนจากเข็มแรก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักไวรัสวิทยา เผยผลวิจัยญี่ปุ่นพบ วัคซีน "Pfizer" ต้องกระตุ้นเข็ม 3 ห่าง 6 เดือนจากเข็มแรก หลังทดลองฉีดบุคลากรทางแพทย์ 225 คน

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความในหัวข้อ ภูมิจาก Pfizer x2 อยู่นานแค่ไหน  มีใจความว่า

 

นักไวรัสวิทยา เผยผลวิจัยญี่ปุ่นพบวัคซีน "Pfizer" ต้องกระตุ้นเข็ม 3 ห่าง 6 เดือนจากเข็มแรก

ทีมวิจัยของญี่ปุ่น ทำการศึกษาในบุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดวัคซีน Pfizer จำนวน 225 คน และ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับระดับภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีต่อไวรัสโรคโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอนติบอดีที่ยับยั้งไวรัส (NAb) คำถามสำคัญที่ทีมวิจัยอยากทราบคือ ระดับของแอนติบอดีหลังฉีดวัคซีน mRNA 2 เข็ม จะลดลงเมื่อไหร่ และ สมควรต้องฉีดเข็ม 3 กระตุ้นเมื่อไหร่ถึงจะดี (อาจจะเป็นข้อมูลเสริมให้ WHO ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น)

 

ผลการศึกษาพบว่า ภูมิจะขึ้นสูง 7 วัน หลังถูกกระตุ้นด้วยเข็มที่ 2 และ การเก็บตัวอย่างตามอีก 2 ช่วงเวลาคือ 60 และ 90 วันหลังเข็มแรก ระดับของ NAb ก็ตกลงมาเรื่อย ๆ ตามภาพที่แสดงด้านล่าง เพื่อให้เห็นภาพที่ชัด ทีมวิจัยนำข้อมูลไปคำนวนเวลาที่ภูมิดังกล่าวจะตกลงไปตามเวลาต่าง ๆ พบว่า NAb มีตกลงประมาณครึ่งนึงที่ 67.8 วัน และ จะตกถึงจุดต่ำสุดที่ตรวจวัดไม่ได้ที่ประมาณ 198.3 วัน หรือ 6-7 เดือนหลังฉีดเข็มแรก ซึ่งทีมวิจัยมองว่า อาจจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะต้องได้รับเข็ม 3 ไปในทางเดียวกับที่ทีมอิสราเอลมองไว้เช่นกัน

 

 

นักไวรัสวิทยา เผยผลวิจัยญี่ปุ่นพบวัคซีน "Pfizer" ต้องกระตุ้นเข็ม 3 ห่าง 6 เดือนจากเข็มแรก

 

ทีมวิจัยยังพบอีกว่า ในตัวอย่างที่ทำการทดสอบจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีภูมิสูงกว่าภูมิจากธรรมชาติ (Elite responder) และ กลุ่มที่อยู่ในระดับใกล้เคียง หรือต่ำกว่าภูมิจากธรรมชาติ (Moderate responder) โดยกลุ่ม Elite จะสามารถยับยั้งไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมได้ดีกว่า แต่ เมื่อทดสอบกับสายพันธุ์กลายพันธุ์ ความสามารถจะเห็นได้ไม่ชัดมาก โดยเฉพาะกับ เดลต้า และ เบต้า

นอกจากนี้ทีมวิจัยยังมีข้อมูลอื่น ๆ อีกที่น่าสนใจ เช่น ผลของผลข้างเคียงหลังฉีด เช่น อาการไข้ หรือ อาการเจ็บแขน จะมีความสัมพันธ์ต่อภูมิที่สูงขึ้นหรือไม่ ซึ่งตัวเลขไม่ได้บ่งชี้ว่า จะมีความสัมพันธ์เหมือนที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดไป 

 

ที่มา : Anan Jongkaewwattana

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ