ข่าว

สธ.ยอมรับ ไทยจอง "วัคซีน" ช้า คาด"แอสตร้า" เดือนนี้ ได้ไม่ถึง 10 ล้านโดส

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ยอมรับ ประเทศไทย จองวัคซีนช้ากว่าประเทศอื่น คาด"แอสตร้า" เดือนกรกฎาคม จะได้ไม่ถึง 10 ล้านโดส

ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โสภณ เมฆธน คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ , นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญในด้านระบาดวิทยา และ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ แถลงข่าว “วัคซีนโควิดไทยจะเดินหน้าต่ออย่างไร” "ฉีดวัคซีน"

 

สธ.ยอมรับ ไทยจอง "วัคซีน" ช้า คาด"แอสตร้า" เดือนนี้ ได้ไม่ถึง 10 ล้านโดส

 

 

ทางด้าน นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ  ระบุถึงการจัดหาวัคซีนว่า มีด้วยกัน 2 ส่วน คือ การวางแผนจัดหาวัคซีน และการขยายศักยภาพการ "ฉีดวัคซีน" ซึ่งทั้ง 2 ส่วนยังคงทำได้ต่อเนื่อง แต่ติดปัญหาการส่งมอบวัคซีน แม้ว่า วัคซีนแอสตร้าจะผลิตในประเทศไทยแต่มีความจำเป็นต้องส่งออกไปประเทศอื่นที่มีการจองวัคซีน แอสตร้าฯที่ผลิตในประเทศไทยเช่นกันจึง

 

ขณะเดียวกันก็มีการวางแผนกับ "แอสตราเซนเนก้า" เรื่องการส่งมอบวัคซีน ทางกรมควบคุมโรค ได้ส่งแผนไปที่แอสตราเซนเนก้า โดยพิจารณาจากกำลังการฉีดที่จะเพิ่มขึ้นที่หวังจะให้ได้ถึง 10 ล้านโดส ซึ่งก็หวังว่าจะ ได้รับการจัดสรรจากแอสตราเซนเนก้า แต่เมื่อไปดูสถานการณ์การความเป็นจริง กำลังการผลิตที่สยามไบโอไซเอนท์ อยู่ที่ 180 ล้านโดสต่อปี  ซึ่งโดสเฉลี่ยตกอยู่ที่ 15 ล้านโดสต่อปี และในช่วงแรกของการผลิตวัคซีน กำลังการผลิตจะน้อย แล้วค่อยๆไต่ระดับสูงขึ้น

 

ทั้งนี้ จากการคาดการณ์วัคซีนแอสตร้าฯ เดือนกรฎกาคม และสิงหาคม "แอสตราเซนเนก้า" คาดว่าจะผลิตวัคซีน 16 ล้านโดสต่อเดือน ซึ่งในจำนวนนี้ต้องส่งมอบให้ประเทศอื่นด้วย  เพราะเป็นนโยบายของบริษัทฯ ที่ต้องการจัดสรรวัคซีนให้ทั่วถึง เพราะฉะนั้นการส่งมอบวัคซีนในเดือนกรกฎาคม คาดว่า ได้ไม่ถึง 10 ล้านโดส ตามแผนการ ส่วนการจัดหาจากที่อื่นก็เป็นเรื่องยาก เพราะทุกที่องการวัคซีนเหมือนกันหมด

 

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขได้พยายามจัดหาวัคซีนจากแหล่งอื่นเพื่อให้การฉีดวัคซีนของไทยเป็นไปตามเป้า ซึ่งในไตรมาส3 จะมีวัคซีนซิโนแวค และวัคซีนซิโนฟาร์ม เข้ามาเพิ่ม ส่วนในไตรมาส 4 จะมีวัคซีนแอสตร้าฯเข้ามา 20 ล้านโดส

 

ส่วนการกระตุ้นภูมิเข็ม 3 นพ.นคร ระบุว่า โรงเรียนแพทย์กำลังทำการศึกษา ว่าจะเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันได้อย่างไร และมีความจำเป็นในการฉีดเข็มที่ 3 ให้กับคนไทยหรือไม่ โดยอาจจะให้กลุ่มเปราะบาง ที่อาจต้องได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 ก่อน

 

นพ.นคร ยอมรับว่า ประเทศไทยมีการจองวัคซีนช้ากว่าประเทศอื่น ประกอบกับการจองต้องใช้เวลา ทำให้เราได้รับวัคซีนช้ากว่าหลายประเทศ นอกจากนี้ประเทศไทย ได้มีการศึกษาการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนชนิดเชื้อตายในเด็ก อายุระหว่าง 12-18 ปี ซึ่งตอนนี้ได้ทำการจองวัคซีนไฟเซอร์ ไปแล้ว 20 ล้านโดส  โดยจากข้อมูลการฉีดในเด็ก 12-17 ปี ทำให้หลายประเทศตื่นตัว เนื่องจากการศึกษา การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่ 2 ในกลุ่มเด็ก ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเกิดในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ซึ่งการนำวัคซีนไฟเซอร์มาฉีดให้เด็ก ประเทศไทยขอศึกษาเพิ่มเติมด้านความปลอดภัยก่อน

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ