ข่าว

4 ข้อต้องรู้ ก่อนกิน "หมู" ห่างไกล "โรคไข้หูดับ"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมอนามัย เตือน 4 ข้อต้องรู้ ก่อนกิน "หมู" ห่างไกล "โรคไข้หูดับ"

จากกรณีข่าวดังอาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดังในจังหวัดพิษณุโลก ที่ได้ซื้อหมูจากห้างฯดังมาหั่นทำหมูกระทะกินกับเพื่อนโดยที่มือเป็นแผล กระทั่งติดเชื้อโรคหูดับจนเสียชีวิต

 

 

 

 

จากการตรวจสอบพบว่าได้มีการซื้อเนื้อหมูสไลด์แช่แข็งมาจากห้างฯแห่งหนึ่ง เพื่อมาประกอบอาหารปิ้งย่างหมูกระทะร่วมกับเพื่อนๆเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยผู้เสียชีวิตเป็นคนหั่นหมูและมีแผลที่มือ จากนั้นวันที่ 14 มิ.ย. เวลา 23.00 น.  เริ่มมีอาการท้องเสีย อาเจียน จึงไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก ด้วยมีอาการปวดกระดูก หนาวสั่น ปากเขียว ถูกส่งเข้ารักษาห้องไอซียู กระทั่งร่างกายไม่ตอบสนอง ไตไม่ทำงาน และเสียชีวิตในวันที่ 15 มิ.ย. เวลา 23.58 น. โดยแพทย์สงสัยว่าอาจเป็นโรคไข้หูดับ จึงนำเลือดส่งตรวจ และผลยืนยันว่าเป็นโรค Streptococcus suis หรือ โรคไข้หูดับ

"โรคไข้หูดับ" ป้องกันได้ โดยไม่กินเนื้อหมูแบบสุกๆดิบๆ เลือกซื้อเนื้อหมูที่ได้มาตรฐาน และหากมือเป็นแผลไม่ควรที่จะหยิบจับหมูสดโดยตรง เพื่อสุขภาพที่ดี ขอให้เชื่อกรมอนามัย กรมอนามัยส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี

ด้าน นายแพทย์รัฐภูมิ ชามพูนท รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า โรคสเตรปโตคอคคัส ซูอิส เกิดขึ้นในเนื้อหมู หรือสุกร ซึ่งเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากการกินหมูสุกๆดิบๆ หรือจากมือมีบาดแผลแล้วไปสัมผัสกับเชื้อ ซึ่งผู้เสียชีวิตรายนี้เสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด อาจเป็นเพราะมีบาดแผลที่มือแล้วเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดทางบาดแผล หรืออาจเกิดจากการบริโภคเนื้อหมูที่มีเชื้อ

 

 

ทั้งนี้ กรมอนามัย ได้ออกมาเตือนภัยประชาชนให้ระวัง "กินหมูดิบ" เสี่ยงติดเชื้อ "โรคไข้หูดับ" พร้อมเผยอาการจะมีไข้ วิงเวียน ปวดศีรษะ อาเจียน ประสาทหูอักเสบจนหูดับ และในรายที่อาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้

โดยการป้องกันมีดังนี้ 1. หลีกเสี่ยงการบริโภคเนื้อดิบ หรือสุกๆดิบๆ หมูป่วยหรือตายจากโรค 2. ผู้ปรุงอาหาร ผู้เลี้ยง และผู้ชำแหละหมูที่มีบาดแผล ต้องปิดแผลและสวมถุงมือขณะสัมผัสหมู หากสัมผัสต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ร่วมกับใส่ยาฆ่าเชื้อโรคที่แผล 3. เลือกซื้อหมูจากตลาดสด หรือโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ 4. ควรทำให้สุกด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 บาที

 

ที่มา กรมอนามัย

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ