ข่าว

"โรคติดเชื้อราดำ" โยง "โควิด" ที่เราควรรู้ รักษายากมากต้องผ่าตัดกระดูก-เอาลูกตาออก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับ "โรคติดเชื้อราดำ" โยง "โควิด" ที่เราควรรู้ ซึ่งประเทศอินเดียกำลังเผชิญ เผย รักษายากมากต้องผ่าตัดกระดูก-เอาลูกตาออก

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียู เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เล่าถึงประเด็น "โรคติดเชื้อราดำ" (Mucormycosis) ที่ประเทศอินเดียกำลังเผชิญกับโรคดังกล่าวอย่างหนัก และโยงไปถึงโรค "โควิด" ด้วย

 

 

โดย คุณหมอมนูญ โพสต์เฟซบุ๊กเผยว่า อินเดียกำลังเผชิญกับโรคติดเชื้อราดำอย่างหนัก ท่ามกลางการระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 แต่ประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทยกลับพบโรคนี้น้อยมาก

 

สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศอินเดีย พบผู้ป่วยโควิดสะสมมากกว่า 29 ล้านคน เสียชีวิตไปมากกว่า 3.6 แสนคน และอัตราการเสียชีวิตนั้นยังสูงถึงหลักหลายพันคนต่อวันในขณะนี้

 

ประเทศอินเดียพบคนป่วยด้วยโรคติดเชื้อราดำมากกว่า 28,000 คนที่บริเวณโพรงจมูก ไซนัส ลุกลามเฉียบพลันเข้ากระดูก เบ้าตา และสมองในคนที่กำลังป่วยหรือหายป่วยจากโรคโควิด-19 เชื้อราดำเป็นสิ่งมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป เชื้อราดำจะปล่อยสปอร์ล่องลอยอยู่ในอากาศ เมื่อคนหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราดำเข้าไปในโพรงอากาศในจมูกและไซนัส เชื้อราจะเจริญเติบโตงอกงามอย่างรวดเร็วในคนที่เป็นเบาหวานและภูมิต้านทานต่ำ

 

สาเหตุสำคัญของการติดเชื้อราดำในคนอินเดียช่วงนี้ คือ ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 , เป็นโรคเบาหวาน , การให้สเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบของปอดจากโรคโควิด-19 ถ้าให้ขนาดสูงและเป็นเวลานานมีผลเสียทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นสูงและภูมิต้านทานต่ำ เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อราดำ

 

นอกจากนี้แล้วประเทศอินเดียกำลังขาดแคลนออกซิเจนที่ใช้ในทางการแพทย์อย่างหนัก คนอินเดียจำนวนมากป่วยเป็นปอดอักเสบ ออกซิเจนในเลือดต่ำ ไม่มีทางเลือก ต้องหันไปใช้ถังออกซิเจนที่ใช้ในทางอุตสาหกรรมซึ่งไม่แน่ใจในความสะอาด อาจมีเชื้อราดำปนเปื้อนได้

 

 

นอกจากนี้เวลาใช้ออกซิเจนต้องให้ก๊าซออกซิเจนผ่านน้ำเพื่อเพิ่มความชื้น น้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากเชื้อโรค ถ้าน้ำไม่สะอาดอาจเป็นตัวนำเชื้อราดำเข้าจมูกและไซนัสอีกทางหนึ่ง การรักษาโรคติดเชื้อราดำยากมาก ต้องให้ยาฆ่าเชื้อราทางเส้นเลือดเป็นเวลานาน บางคนต้องผ่าตัดกระดูก และเอาลูกตาออก ผู้ป่วยติดเชื้อราดำมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก

 

อ่านข่าว : เผยข้อมูลชัดๆ วัคซีน "ซิโนฟาร์ม" มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อโควิดมากน้อยแค่ไหน

 

อ่านข่าว : ทบทวน "ก่อนฉีดวัคซีนโควิด" เทียบกันชัดๆผลข้างเคียง "ซิโนแวค"- "แอสตร้าเซนเนก้า"

 

"โรคติดเชื้อราดำ" โยง "โควิด" ที่เราควรรู้ รักษายากมากต้องผ่าตัดกระดูก-เอาลูกตาออก
 
 
"โรคติดเชื้อราดำ" โยง "โควิด" ที่เราควรรู้ รักษายากมากต้องผ่าตัดกระดูก-เอาลูกตาออก
 
ขอบคุณเฟซบุ๊ก นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์
 
 
 
 
 
 
logoline

ข่าวที่น่าสนใจ