ข่าว

ไขข้อสงสัย 'ผู้ป่วยไมเกรน' ต้องหยุดยาก่อนไปฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สมาคมประสาทวิทยา แห่งประเทศไทย เผยผู้ป่วยไมเกรน ไม่จําเป็นต้องหยุดยาก่อนฉีดวัคซีนโควิด

สำหรับวันนี้ เริ่มวันแรกของคิกออฟฉีดวัคซีนโควิดทั่วประเทศ ศบค.ยืนยันว่า มีวัคซีนเตรียมให้บริการประชาชน 2 ยี่ห้อ คือ 1.ซิโนแวค 2.แอสตร้าเซนเนก้า ให้ประชาชน ซึ่งหลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่า ผู้ที่ป่วยเป็นไมเกรน ต้องหยุดยาก่อนที่จะไปฉีดวัคซีนหรือไม่ ทางสมาคมประสาทวิทยา แห่งประเทศไทย มีคำตอบให้

โดยระบุว่า เรื่อง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน เนื่องจากประเทศไทยได้มีการดําเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อให้หยุดการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 และถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่สําคัญในระดับประเทศ ที่คนไทยทุกคนควรได้รับวัคซีนโควิด-19 รวมถึง ผู้ป่วยโรคปวดศีรษะไมเกรน อย่างไรก็ตาม มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนกับการ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทําให้ผู้ป่วยโรคปวดศีรษะไมเกรนเกิดความกังวลใจ

ทางสมาคมประสาทวิทยาแห่ง ประเทศไทย มีข้อแนะนําเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนดังนี้ 1. เนื่องจากมีรายงานผลของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทําให้เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทชั่วคราว เช่น อาการชา หรือ อาการอ่อนแรง แต่จากการรวบรวมกรณีศึกษาต่าง ๆ ยังไม่พบว่ามีความผิดปกติจากการตรวจ เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI Brain) และการตรวจหลอดเลือดในสมอง (MRA หรือ CTA) อย่างชัดเจน อาการดังกล่าวเกิดจากการตอบสนองของร่างกายจากการฉีดวัคซีน ซึ่งเกิดได้กับวัคซีนทุกชนิด และเกิดขึ้น ชั่วคราว เท่านั้น

2. จากข้อมูลในปัจจุบันจึงแนะนําเรื่องการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนว่า ไม่จําเป็นต้องหยุดยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน เช่น ยากลุ่ม acetaminophen ยากลุ่ม NSAIDs ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine และคาเฟอีน หรือ ยาในกลุ่มทริปแทน หรือยาป้องกันไมเกรนชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ยาในกลุ่มยากันชัก เช่น Topiramate, Valproic acid ยาในกลุ่มยาด้านเศร้า เช่น Amitriptyline , Venlafaxine ยาในกลุ่มต้านแคลเซียม เช่น Funarizine ยาในกลุ่มต้านเบต้า เช่น Propranolol และยาป้องกันไมเกรนชนิดอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่เป็น
ประจํา

3. หากยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดยาแก้ปวดไมเกรนหรือยาป้องกันไมเกรน ให้ปรึกษาแพทย์ที่รักษา เพื่อ วางแผนในการฉีดวัคซีนโควิด - 19 และแนะนําอาการของโรคปวดศีรษะไมเกรนที่อาจจะเกิดขึ้น

ขอบคุณ สมาคมประสาทวิทยา แห่งประเทศไทย (The Neurological Society Of Thailand )

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ