ข่าว

แพทย์เผยขั้นตอนการรักษา "หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด" พร้อมตอบข้อสงสัยมีผลกระทบต่อลูกหรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แพทย์โรงพยาบาลรามาฯ เผยขั้นตอนการรักษาหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 ชี้หากอาการหนักมีโอกาสคลอดก่อนกำหนด

รศ.นพ.พัญญู พันธ์บูรณะ และทีมภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การบริบาลการติดเชื้อ COVID-19 ในสตรีตั้งครรภ์ นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้อาการและการแสดงมีอะไรบ้างนั้น

 

แพทย์เผยขั้นตอนการรักษา "หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด" พร้อมตอบข้อสงสัยมีผลกระทบต่อลูกหรือไม่

 

 

อาการแสดงและการติดต่อ

- การติดต่อผ่านทางสัมผัสละอองฝอย ไอ จาม
- อาการส่วนใหญ่ ไข้ (83%) ไอ (31%) หายใจติดขัด (11%)
- ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ น้ำมูกไหล
- หนาวสั่น ปวดศีรษะ การรับรสและกลิ่นลดลง

 

ในเรื่องของโรคต่อการตั้งครรภ์มีผลกระทบอะไรบ้างนั้น รศ.นพ.พัญญู กล่าวว่า เป็นที่น่าสนใจว่ายังไม่พบหลักฐานว่าจะมีการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก เพราะฉะนั้นผลของโรคต่อการตั้งครรภ์ยังสรุปไม่ได้หรือยังไม่ชัดเจนเนื่องจากข้อมูลนั้นยังมีจำกัดอยู่ แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานออกมาประปรายเรื่องของการคลอดก่อนกำหนด เด็กนั้นมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ รวมทั้งภาวะครรภ์เป็นพิษ

ส่วนแนวทางการปฏิบัติที่ทางราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แนะนำไว้ในคลินิกฝากครรภ์ คือ ผล SARS-CoV ออกมาเป็นบวก ก็จะมีการแจ้งและปรึกษาทีมติดเชื้อหรือทีมโควิดของโรงพยาบาลหรือสถานบริการนั้นๆ และมีการประเมินความรุนแรงของโรคและภาวะเสี่ยง ตลอดจนมีการวัด oxygen saturation มีการตรวจเลือด CBC , การทำงานของตับของไต เช็คเอกซเรย์โดยมีการ shield บริเวณท้องคนไข้เพื่อที่ทารกจะได้ไม่ถูกรังสีมากเกินไป

รศ.นพ.พัญญู กล่าวต่อว่า ในกรณีที่มีอาการน้อยไม่มากนัก รับไว้ในโรงพยาบาลประมาณ 2-7 วันเพื่อเฝ้าอาการ และดูแลให้ยาตามแนวทางของกรมควบคุมโรคต่อไป ถ้าอาการดีขึ้น เอกซเรย์ดีขึ้น ก็สามารถไปอยู่ใน ward ปกติ อยู่ที่ประมาณ 14 วันแล้วหลังจากนั้นก็ให้กักตัวอยู่ที่บ้านประมาณ 30 วัน

 

แพทย์เผยขั้นตอนการรักษา "หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด" พร้อมตอบข้อสงสัยมีผลกระทบต่อลูกหรือไม่

 

 

อย่างไรก็ตามในกรณีที่มีอาการปานกลาง หรืออาการหนัก ต้องรับไว้ในโรงพยาบาล มีการตรวจติดตามสัญญาณชีพ ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารก หรือเรียกว่า CTG ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป และก็มีการให้ยาตามแนวทางของกรมควบคุมโรค แต่ถ้าอาการแย่ลงอาจจะต้องย้ายเข้า ICU มีการให้เครื่องช่วยหายใจในแง่ของ respiratory support และมีการให้ยาอย่างเหมาะสมเพื่อดูแลต่อไป

ส่วนในกรณีที่อาการหนัก เป็นมาก ออกซิเจนต่ำ หรือแม่ช็อก อาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดฉุกเฉิน เพื่อเอาเด็กออกมาก่อน หรือในกรณีต้องปฏิบัติการกู้ชีพ ในการผ่าตัด ถ้าจะต้องผ่าตัดก็แนะนำให้ทำในห้องที่มีความดันลบ การระงับความเจ็บปวดขึ้นอยู่กับวิสัญญีแพทย์ว่าจะเป็นการบล็อคหลังหรือใส่ tube ก็แล้วแต่ สำหรับทีมงานที่จะทำการผ่าตัดแนะนำให้ใส่ full PPE มีการเตรียมทีมกุมารแพทย์ใส่ PPE ในการรับเด็ก สำหรับทารกหลังคลอดมีการเช็ดตัว ทำความสะอาดและส่งให้กุมารแพทย์ประเมิน

 

แพทย์เผยขั้นตอนการรักษา "หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด" พร้อมตอบข้อสงสัยมีผลกระทบต่อลูกหรือไม่

 

ขอขอบคุณ : ผศ.นพ.อดิเทพ เชาว์วิศิษฐ , รศ.นพ.พัญญู พันธ์บูรณะ และทีมภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

#ลาซาด้า Free Shipping Day ส่งฟรีทั่วไทย ทุกวันที่ 15 ของเดือน

 

แพทย์เผยขั้นตอนการรักษา "หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด" พร้อมตอบข้อสงสัยมีผลกระทบต่อลูกหรือไม่

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ