ข่าว

เมืองไทยมีดีกว่าที่คิด"กรมทรัพยากรธรณี" นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ และอุทยานธรณีขอนแก่น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เมืองไทยมีดีกว่าที่คิด "กรมทรัพยากรธรณี" นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ และอุทยานธรณีขอนแก่น ภายใต้ "อุทยานธรณีก้าวไกล นำพาไทยก้าวหน้า ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน"

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมนำคณะสื่อมวลชนสัญจร ลงพื้นที่ ณ จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดขอนแก่น โดยมีนายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รองอธิบดีกรม ในฐานะโฆษกกรมทรัพยากรธรณี  เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อศึกษาอุทยานแหล่งธรณีวิทยา และซากดึกดำบรรพ์เส้นทาง “อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ และอุทยานธรณีขอนแก่น” แคนยอนน้ำหนาว อุทยานแห่งชาติภูเวียง พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย ที่ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรก กลุ่มทอผ้าฝ้ายแห่งหุบเขาไดโนเสาร์ภูเวียง และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนอินทผาลัม บ้านสวนสัมฤทธิ์

เมืองไทยมีดีกว่าที่คิด"กรมทรัพยากรธรณี" นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์  และอุทยานธรณีขอนแก่น

นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รองอธิบดีกรม ในฐานะโฆษกกรมทรัพยากรธรณี  เปิดเผยว่า กรมทรัพยากรธรณีมีภารกิจเกี่ยวกับการสงวน การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการบริหารจัดการด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย สนับสนุนและผลักดันอุทยานธรณีท้องถิ่น สู่อุทยานธรณีระดับประเทศ ในการจัดกิจกรรมนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ศึกษาแหล่งอนุรักษ์ทางธรณีวิทยาและซากดึกดำบรรพ์ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ และสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในเรื่องแหล่งธรณีวิทยา และอุทยานธรณีของไทย เพื่อพัฒนาแหล่งอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา ให้เป็นประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อคนไทยมากยิ่งขึ้น

เมืองไทยมีดีกว่าที่คิด"กรมทรัพยากรธรณี" นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์  และอุทยานธรณีขอนแก่น

สำหรับ แคนยอนน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์   มหัศจรรย์แห่งเปลือกโลก มีลักษณะเป็นหน้าผาตั้งชันของชั้นหินมีรูปร่างเป็นหน้าผาโค้งรูปครึ่งวงกลม โครงสร้างชั้นหินวางเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบคล้ายขนมชั้น ในฤดูฝน จะมีน้ำตกไหลลงจากหน้าผาเป็นช่วงๆ ดูสวยงามเป็นอย่างยิ่ง จากการศึกษาคุณลักษณะและคุณสมบัติของหินพบว่า เป็นการแข็งตัวของตะกอนที่ตกสะสม ในทะเลสาบเมื่อประมาณ 200 ล้านปีก่อน หน้าผามีความสูงมากกว่า 200 เมตร เกิดจากการยกตัวของชั้นหิน การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก ทำให้ชั้นหินเกิดการโก่งงอและแตกหักเป็นแนวยาวตามทิศทางการโก่งตัว จนกระทั่งมีการพัฒนากลายเป็นหน้าผาในที่สุด หน้าผาดังกล่าว เกิดจากชั้นหินที่มีความทนทานต่อการผุพังที่แตกต่างกัน โดยชั้นหินทรายและทรายแป้งมีความทนทานต่อการผุพังและกัดกร่อนได้ดีกว่าชั้นหินดินดาน ที่แทรกสลับอยู่ ชั้นหินดินดานจะผุพังและถูกกัดกร่อนได้ง่ายกว่า จึงมีลักษณะโค้งเว้าเข้าไปในหน้าผา ชั้นหินทราย หินทรายแป้งที่อยู่ด้านบน จึงเกิดการแตกหักและพังถล่มลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก เนื่องจากน้ำหนักของชั้นหินทรายและหินทรายแป้งไม่มีชั้นหินด้านล่างรองรับไว้ ทำให้หน้าผาดังกล่าว ขยายกว้างออกไปเรื่อยๆ แคนยอนน้ำหนาวแห่งนี้มีลักษณะการเกิดโดยธรรมชาติ และมีความสวยงามคล้าย “แกรนด์แคนยอน” แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลกของสหรัฐอเมริกาที่ย่อส่วนลงมา 

เมืองไทยมีดีกว่าที่คิด"กรมทรัพยากรธรณี" นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์  และอุทยานธรณีขอนแก่น

เมืองไทยมีดีกว่าที่คิด"กรมทรัพยากรธรณี" นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์  และอุทยานธรณีขอนแก่น

ต่อมาเดินทางไปยัง ผารอยตีนอาร์โคซอร์ ต้นตระกูลของไดโนเสาร์ รอยตีนอาร์โคซอร์ สัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ มีจำนวนหลายร้อยรอย มีอายุประมาณ 229 - 204 ล้านปี อยู่ที่อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

เมืองไทยมีดีกว่าที่คิด"กรมทรัพยากรธรณี" นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์  และอุทยานธรณีขอนแก่น

เมืองไทยมีดีกว่าที่คิด"กรมทรัพยากรธรณี" นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์  และอุทยานธรณีขอนแก่น

เมืองไทยมีดีกว่าที่คิด"กรมทรัพยากรธรณี" นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์  และอุทยานธรณีขอนแก่น

เมืองไทยมีดีกว่าที่คิด"กรมทรัพยากรธรณี" นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์  และอุทยานธรณีขอนแก่น

เมืองไทยมีดีกว่าที่คิด"กรมทรัพยากรธรณี" นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์  และอุทยานธรณีขอนแก่น

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ