ข่าว

ขยี้ เพจดังกางประวัติศาสตร์ชี้รายการดังบิดเบือนประเด็นวัดกุฎีดาว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ขยี้ เพจดังกางประวัติศาสตร์ชี้รายการดังที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในสังคมตอนนี้ บิดเบือนประเด็นวัดกุฎีดาว ทำทหารพม่า รู้สึกงงในสิ่งนี้ ว่าพวกเขาไปยิงเจดีย์นั้น ตั้งแต่เมื่อไรกัน

เพจดัง โบราณนานมา กางประวัติศาสตร์ประเด็น วัดกุฎีดาว ถึงรายการที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในสังคมตอนนี้ เคยเล่าประมาณว่า “...เจดีย์ประธาน วัดกุฎีดาวที่พังทลายลงมา เพราะพม่ายิงปืนใหญ่ใส่วัด เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 และผู้สร้างวัด คือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ)...” ซึ่งเป็นการบิดเบือนข้อมูล มีการทำภาพแซวติดตลกด้วยว่า "ทหารพม่า รู้สึกงงในสิ่งนี้ ว่าพวกเขาไปยิงเจดีย์นั้น ตั้งแต่เมื่อไรกัน"

อ่านข่าว : พระมหาไพรวัลย์พูดถึงรายการช่องส่องผีสุดฮา ระบุ สงสารพระยาเกียรติจับใจ

อ่านข่าว : "อ.เรนนี่" เคลื่อนไหวแล้ว หลังถูกเพจดังโจมตีหนัก

อ่านข่าว : บ๊วย-อ.เจมส์ แจงแล้ว หลังเพจดังโจมตี "ช่องส่องผี" ลวงโลก-หลอกขายของขลัง

อ่านข่าว : รายการช่องส่องผี สวนกลับเพจดังหลังเจอดราม่า เผยรับบริจาคโปร่งใส ขอให้หยุดใส่ร้าย

ทางเพจได้เขียนข้อความร่ายยาว โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

 

เรื่อง “วัดกุฎีดาว” ที่รายการบิดเบือน
 

ตอนแรกก็ว่าจะไม่เล่นประเด็น “วัดกุฎีดาว” แล้วนะ เพราะเห็นหลายเพจและหลายคนพูดประเด็นนี้ไปแล้วเมื่อเดือนก่อน พอดีตอนนี้เห็นเพจแหม่มโพธิ์ดำ กำลังพูดถึงรายการนี้อยู่ และมีอยากรู้เรื่องต่าง ๆ ที่รายการนี้กำลังบิดเบือน วันนี้จึงขอเสนอเรื่อง “วัดกุฎีดาว” ก่อนแล้วกัน
 

ในรายการ “ช่องส่องผี” เล่าว่าประมาณว่า “...เจดีย์ประธาน วัดกุฎีดาวที่พังทลายลงมา เพราะพม่ายิงปืนใหญ่ใส่วัด เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 และผู้สร้างวัด คือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ)...”
 

ประเด็นหลัก ๆ มี 2 ประเด็น คือ
 

1. สาเหตุที่เจดีย์ประธานพังทลายลงมา เพราะอะไร ?

 

2. พระเจ้าเอกทัศ คือผู้สร้าง “วัดกุฎีดาว” จริงหรือ ?
 

1. สาเหตุที่เจดีย์ประธานพังทลายลงมา มีหลักฐานชัดเจนว่า “ปล้องไฉน” ของเจดีย์ประธานวัดกุฎีดาว เพิ่งจะหักมาไม่นานสักร้อยปีมานี่เอง โดยวัดนี้อยู่ในเขตเมืองเก่าอโยธยา และใน “รายงานการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดกุฎีดาว เมื่อปี 2543” ก็กล่าวถึงปัญหาของโครงสร้างวัดกุฎีดาว ที่เป็นสาเหตุให้ “ปล้องไฉน” ของเจดีย์ประธานวัดกุฎีดาว พังทลายลงมา ในรายงานระบุว่า
 

“...เจดีย์ประธานวัดกุฎีดาว เป็นเจดีย์ทรงระฆังตั้งอยู่บนฐานประทักษิณย่อ มุมไม้ยี่สิบ โดยองค์เจดีย์มีความสูงทั้งหมด (เท่าที่เหลือ) 14.50 เมตร ฐาน ประทักษิณทุกด้านจะมีรอยแตกเป็นแนวยาวแสดงถึงการทรุดตัวของเจดีย์ ลวด ลายขาสิงห์ที่ประดับฐานประทักษิณขององค์เจดีย์ แข้งสิงห์มีการทํารอยหยัก 2 หยัก ซึ่งมีลักษณะแปลกกว่าที่อื่
 

บนลานประทักษิณพบหลักฐานการปูพื้นด้วยแผ่นหินสีเขียวอ่อน-เทา เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมขนาคต่าง ๆ กัน มีระเบียงล้อมรอบลานประทักษิณ ปัจจุบันพัง หมดแล้วเหลือเพียงเสาหัวเม็ดทรงมัณฑ์ตรงมุม ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ และมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่บนลานประทักษิณด้านทิศเหนือ องค์เจดีย์ประธานมีบันไดทางขึ้น 2 บันใด อยู่ทางด้านทิศตะวันออกอยู่ในสภาพชํารุด
 

ถัดจากลานประทักษิณเป็นชั้นฐานย่อเก็จรองรับองค์ระฆังอยู่ในสภาพ ชํารุคปูนฉาบหลุดร่วงออกเกือบหมด ถัดจากฐานย่อเก็จขึ้นไปเป็นชั้นมาลัยเถา 2 ชั้น อยู่ในสภาพชํารุดเหลือเพียงบางส่วนมีวัชพืชขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดได้พังทลายลงมาหมดเหลือเพียงด้านทิศใต้เท่านั้นที่ยังเหลือ มากกว่าด้านอื่น ๆ
 

นอกจากนี้บนลานประทักษิณยังมีเจดีย์ทิศจํานวน 8 องค์ ล้อมรอบเจดีย์ ประธาน มีลักษณะเป็นทรงระฆังกลมบนฐานแปดเหลี่ยม ซึ่งเหลือให้เห็นเพียง ด้านทิศตะวันออก ส่วนด้านอื่นเหลือเพียงฐานแปดเหลี่ยม...”
 

*** เพียงแค่นี้ก็น่าจะสรุปได้แล้วว่า “ปล้องไฉน” ของเจดีย์ประธานวัดกุฎีดาว พังทลายลงมา เพราะปัญหาด้านโครงสร้าง ไม่ใช่เพราะพม่ายิงปืนใหญ่ใส่วัดตามที่รายการกล่าวอ้าง และ “วัดกุฎีดาว” นี้ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองอยุธยาไปทางทิศตะวันตก จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะโดนพม่ายิงปืนใหญ่ถล่มใส่ เพราะเป้าหมายหลักตอนนั้น คือ ทำลายค่ายของอยุธยาและยิงปืนใหญ่เข้าไปในกำแพงเมืองอยุธยา

 

 

2. พระเจ้าเอกทัศ คือผู้สร้าง “วัดกุฎีดาว” จริงหรือ ?
 

ใน “พงศาวดารฉบับต่าง ๆ” ก็สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) มิได้เป็นผู้สร้างหรือแม้แต่บูรณปฏิสังขรณ์ “วัดกุฎีดาว” เลยด้วยซ้ำ
 

“วัดกุฎีดาว” นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ช่วงแผ่นดิน “พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ” ผู้เป็นพระบรมเชษฐาธิราชของ “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” (เวลานั้นดํารงพระยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า))
 

มาดูหลักฐานกัน พงศาวดารสมัยอยุธยาฉบับต่าง ๆ ได้กล่าวถึงวัดกุฎีดาวว่าปฏิสังขรณ์โดยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครั้งยังดํารงพระยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ในปี พ.ศ. 2254 ใช้เวลา 3 ปีเศษจึงสําเร็จ
 

พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวง และฉบับกรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าวว่า
 

“...สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคลให้ช่างปฏิสังขรณ์ วัดกุฎีดาวอันใหญ่ ในปีเถาะตรีศก เสด็จไปทอดพระเนตรการที่วัดนั้น เดือนหนึ่งบ้าง สองเดือนบ้าง เหมือนพระเชษฐาธิราช สามปีเศษ วัดนั้นจึงสําเร็จแล้วบริบูรณ์...” และอีกตอนหนึ่ง กล่าวถึงการสมโภชวัดกุฎีดาวคราปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จว่า “...ในปีมะแมสัปตศกนั้นพระมหาอุปราชให้ฉลองวัดกุฎีดาว บําเพ็ญพระราชกุศลให้ทานสักการะบูชาแก่พระรัตนตรัยเป็นอันมาก ให้เล่นงานมหรสพสมโภชเจ็ดวัน การฉลองนั้นสําเร็จบริบูรณ์...”
 

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์วัดพระเชตุพน กล่าวว่า

 

“...สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ให้ช่าง ปฏิสังขรณ์วัดกุฎีดาวอันใหญ่, ในปีเถาะ ตรีศก. เสด็จไปทอดพระเนตรการที่วัดนั้น,เดือนหนึ่งบ้าง,สองเดือนบ้างเหมือนพระเชษฐาธิราช. สามปี เศษ วัดนั้นจึงสําเร็จแล้วบริบูรณ์...”
 

*** เพียงแค่นี้ก็สรุปได้แล้วว่า “สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ)” มิได้เป็นผู้สร้างหรือแม้แต่บูรณปฏิสังขรณ์ “วัดกุฎีดาว” เลยด้วยซ้ำ เพราะผู้ที่บูรณปฏิสังขรณ์ คือ “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” ผู้เป็นพระบรมชนกนาถของ “พระเจ้าเอกทัศ” จึงไม่มีทางที่ “พระเจ้าเอกทัศ” จะเป็นผู้สร้าง “วัดกุฎีดาว”
 

ส่วนการก่อสร้าง “วัดกุฎีดาว” นั้นไม่ชัดเจน ปรากฏในหนังสือพงศาวดารเหนือว่า “...พระยาธรรมิกราชซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้งทรงสร้างเมื่อจุลศักราช 671 ปีเถาะ เอกศก และพระอัครมเหสีของพระองค์ทรงสร้างวัดมเหยงคณ์ขึ้นคู่กัน ...” ส่วนในคำให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวว่า “...พระมหาบรมราชาทรงสร้างวัดกุฎีดาว (กุฎิทวา) และพระภูมิน ทราธิบดีทรงสร้างวัดมเหยงคณ์...”
 

แต่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา หลายฉบับกล่าวความต้องกันว่า “...สมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้างวัด มเหยงคณ์และไม่มีฉบับใดกล่าวถึงวัดกุฎีดาว จนกระทั่งสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดมเหยงคณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ...” จึงสันนิษฐานได้ว่า “วัดกุฎีดาว” อาจจะสร้างรุ่นราวคราวเดียวกับวัดมเหยงคณ์ หรือหลังจากวัดมเหยงคณ์เล็กน้อย และคงเป็นวัดขนาดใหญ่ที่สำคัญวัดหนึ่งทางบริเวณที่เรียกว่า “อโยธยา”

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ โบราณนานมา

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ