คอลัมนิสต์

ตอบคำถาม"รับจ้างกรีดยาง"มีสิทธิได้รับเงิน"เยียวยาเกษตรกร"15,000 บาท หรือไม่?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตอบประเด็นคำถาม "คนรับจ้างกรีดยาง" ได้สิทธิรับเงิน "เยียวยาเกษตรกร" 15,000 บาท เช่นเดียวกับเจ้าของสวนยาง หรือผู้ปลูกยาง หรือไม่?

 

“มาตรการเยียวยาเกษตร” เป็นหนึ่งในมาตรการที่ช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ซึ่งจะให้เงินช่วยเหลือรวม 15,000 บาท ซึ่งจะแยกจ่ายเป็น 3 เดือน เดือนละ 5,000 บาท ตั้งแต่พฤษภาคม-กรกฎาคม 2563

 

โดยในเงื่อนไขหรือคุณสมบัติของผู้ได้รับเงินเยียวยาเกษตรกร ระบุว่า เกษตรกรที่จะได้สิทธิรับ “เงินเยียวยาเกษตรกร” ต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมงกรมปศุสัตว์ กรมหม่อนไหม การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และการยาสูบแห่งประเทศไทย โดยมีเป้าหมายในมาตรการครั้งนี้ครอบคลุมเกษตรกร 10 ล้านราย

แต่ทั้งนี้ยังมีประเด็นคำถามเกิดขึ้นมากมาย อย่างในส่วนของการยางแห่งประเทศไทย เป็นที่รู้ดีอยู่แล้วว่า เกษตรกรผู้ปลูกยางที่ถือบัตรสีเขียว และเกษตรกรผู้ปลูกยางที่ถือบัตรสีชมพู มีสิทธิในมาตรการเยียวยาอยู่แล้ว หากมีการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นล่าสุดปี 2562 และ 2563 รวมถึงไม่ซ้ำซ้อนกับมาตรการเราไม่ทิ้งกัน

แต่ประเด็นคำถามอยู่ที่ “คนรับจ้างกรีดยาง ให้กับเจ้าของสวนยาง จะได้รับเยียวยาเกษตรกรหรือไม่?”
ประเด็นนี้ นายขจรจักษณ์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านบริหาร รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า เกษตรกรชาวสวนยางใช้ฐานข้อมูลที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรและแจ้งข้อมูลพื้นที่กับ กยท. ประกอบด้วย เจ้าของสวน ผู้เช่า ผู้ทำสวน และคนกรีดยาง
นั่นหมายความ “คนรับจ้างกรีดยาง” มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาเกษตรกร โดยข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุ กยท.จะส่งข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับทาง กยท. ให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เป็นผู้รวบรวมข้อมูล เพื่อส่งให้กระทรวงการคลัง ซึ่งมีหน้าที่ในการคัดกรองตรวจสอบสิทธิเป็นไปตามเงื่อนไขของทางกระทรวงการคลัง

ทั้งนี้ในการตรวจสอบสิทธิ จะต้องแสดงว่าเป็นผู้มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร และมีรายได้หลักจากการทำเกษตร แต่ต้องไม่ได้รับเงินเดือนประจำจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน รวมถึงไม่เป็นข้าราชการบำนาญ ไม่มีสวัสดิการประกันสังคม และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเราไม่ทิ้งกัน 5,000 บาท

โดยเกษตรกรชาวสวนยาง รวมถึงคนรับจ้างกรีดยาง เจ้าของสวนยาง สามารถเข้าไปตรวจสอบสิทธิได้ที่เว็บไซต์ https://www.rubber.co.th/gir/index/ และกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมเลือกประเภทบุคคลธรรมดา และเลือกโครงการตรวจสอบทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง และกดตรวจสอบข้อมูลได้ทันที

สำหรับเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว แต่ประสบปัญหายังไม่ได้รับเงินเยียวยาจากสาเหตุต่างๆ กระทรวงเกษตรฯ ได้เปิดให้บริการ “ระบบรับเรื่องอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร” ขึ้น โดยเกษตรกรที่มีปัญหาสามารถโทรศัพท์สอบถามการยางแห่งประเทศไทย เบอร์โทร 0-2433-2222 ต่อ 241, 243 หรือเดินทางไปขออุทธรณ์ด้วยตัวเองที่การยางแห่งประเทศไทย (จังหวัด/สาขา)

ชโดยจะมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในพื้นที่จะคอยตอบข้อซักถามต่างๆ และช่วยแก้ไขปัญหา หากมีปัญหาที่หน่วยงานในระดับพื้นที่ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จะส่งเรื่องให้หน่วยงานต้นสังกัดดำเนินการแก้ไขภายใน 5 วัน และหากหน่วยงานต้นสังกัดยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อีก จะส่งเรื่องให้กับคณะกรรมการอุทธรณ์ดำเนินการต่อไป ซึ่งเกษตรกรที่ยื่นอุทธรณ์สามารถตรวจสอบสถานะการอุทธรณ์ฯ ได้ด้วยตัวเอง โดยเข้าไปที่เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ www.moac.go.th คลิกที่นี่

CR..กรุงเทพธุรกิจ

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ