ข่าว

ไล่เรียงไทม์ไลน์ผู้เสียชีวิตจากโควิดอย่างละเอียด รายที่ 1 - รายที่ 12 อาการ ผลข้างเคียง โรคแทรกซ้อน จากตัวผู้ป่วย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไล่เรียงไทม์ไลน์ผู้เสียชีวิตจากโควิดอย่างละเอียด รายที่ 1 - รายที่ 12 อาการ ผลข้างเคียง โรคแทรกซ้อน จากตัวผู้ป่วย

เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2563 ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธินโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)แถลงข่าว สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19   โดยประเทศไทยมีรายงาน ผู้ป่วยใหม่จำนวน 120 ราย ยอดสะสมรวม 1,771 คน เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย รวมเสียชีวิต 12 ราย

อ่านข่าว อัปเดตสถานการณ์ 'ไวรัสโคโรน่า' (Covid-19) 1 เม.ย. 2563

 

 

 

คมชัดลึกได้รวบรวมรายละเอียดการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด ตั้งแต่คนแรก จนถึงคน 12(คนปัจจุบัน) พบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ จะมีโรคประจำตัวเดิมอยู่แล้ว ทำให้เสี่ยงในการเสียชีวิตได้ง่ายมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังพบว่า ผู้ป่วยที่เสียชีวิตบางรายกลับไม่มีโรคประจำตัวแต่อย่างใด 

ผู้เสียชีวิตรายที่ 1 

ชายไทยอายุ 35 ปีทำงานขายสินค้าและติดไวรัส covid-19 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 18.25 น.
ผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัวใดๆทั้งสิ้น และได้รับการรักษาตามมาตรฐานที่โรงพยาบาลบำราศนราดูลโดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิกฤติหลายท่าน
 
ผู้เสียชีวิตรายที่ 2
 
ชายไทยอายุ 70 ปี  อาชีพขับรถทัวร์รับ-ส่งนักท่องเที่ยวจีน โดยแพทย์ทำการรักษาจนไม่พบเชื้อแต่ปอดถูกทำลายอย่างหนัก รักษาตัวนานร่วม 2 เดือน เสียชีวิตที่สถาบันบำราศนราดูร  เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563
 
28 ม.ค.คนขับรถทัวร์จีน อายุ 70 ปี บอกครอบครัวว่า มีอาการอ่อนแรง แขนขาไม่มีแรงหายใจผิดปกติ ไม่รู้สึกตัว จึงเข้ารักษาตัวที่ รพ.เอกชนแถวสมุทรปราการ หมอระบุป่วยเป็นปอดอักเสบ
2 ก.พ.โรงพยาบาลเอกชน ส่งตัวไปที่สถาบันบำราศนราดูร ในช่วงแรกทางแพทย์ ไม่แจ้งว่าติดเชื้อไวรัสโคโรน่า
4 ก.พ. กรมควบคุมโรคเรียกครอบครัว คนขับรถ ทัวร์จีนติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ตรวจเข้มเฝ้าระวัง
5 ก.พ. นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค บอกว่า ผู้ป่วยคนขับรถทัวร์จีน โดยรวมทรง ๆ ยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ พบโรควัณโรคและปอดอักเสบ แต่อาการดีขึ้นกว่าวันก่อนไม่ได้แย่ลง
5 ก.พ. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลง อาการผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา อาชีพขับรถทัวร์รับนักท่องเที่ยวชาวจีน ทีมแพทย์ ระบุ ดีขึ้นจากช่วงแรกรับที่มีอาการวิกฤต ขณะนี้เสมหะลดลง แต่ยังคงใช้เครื่องช่วยหายใจ
23 มี.ค. เสียชีวิต 
 
ผู้เสียชีวิตรายที่ 3 
 
ผู้ป่วยชาวไทยอายุ 79 ปี เกี่ยวข้องกับสนามมวย มีโรคประจำตัวหลายโรค อาการหนักแต่แรก เสียชีวิต 23 มีนาคม 2563
 
ผู้เสียชีวิตรายที่ 4 
 
ชาวไทยวัย 45 ปี มีโรคเบาหวานและภาวะอ้วน รักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ
-6 มีนาคม 2563 ไข้ขึ้นไม่สบาย
-13 มีนาคม 2563 ไปโรงพยาบาล ไข้ขึ้นสูง อาเจียน
-15 มีนาคม 2563 ตรวจเชื้อโควิด19
-19 มีนาคม 2563 ผลตรวจติดเชื้อโควิด
-23 มีนาคม 2563 เสียชีวิต
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ผู้เสียชีวิตรายที่ 5 
 
พบผู้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 ที่ อำเภอสุไหงโก-ลก
                
                - บ้านอยู่ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
               - เดินทางไปร่วมกิจกรรมชุมนุมศาสนา ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยกลับมาประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563
               - วันที่ 11 มีนาคม 2563 เริ่มมีการป่วย
               - วันที่ 12 มีนาคม 2563 เข้าเช็กอาการ
               - วันที่ 15 มีนาคม 2563 มีไข้ขึ้นสูง รับตัวมารักษาที่ห้องความดันลบ รพ.สุไหงโก-ลก ส่งตรวจโรคโควิด-19 พบเป็นบวก ให้ยาต้านไวรัส
               - วันที่ 23 มีนาคม 2563 เริ่มมีอาการหอบเหนื่อย ปอดอักเสบติดเชื้อจากโควิด-19 (COVID-19) ไข้ขึ้นสูง ภาพรังสีปอดมีความผิดปกติมากขึ้น
               - วันที่ 26 มีนาคม 2563 มีอาการหอบเหนื่อย ใส่ท่อช่วยหายใจ
               - วันที่ 27 มีนาคม 2563 เวลา 01.50 น. ผู้ป่วยมีอาการทรุดลง และเสียชีวิตในเวลา 03.30 น.
 
ผู้เสียชีวิตรายที่ 6 
ป็นผู้หญิงชาว กทม. อายุ 55 ปี เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี ไขมันในเลือดสูง เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลวันที่ 23 มี.ค. 2563 ด้วยอาการหอบเหนื่อย ตรวจพบปอดอักเสบรุนแรง ต่อมาใช้เครื่องช่วยหายใจ กระทั่งเสียชีวิตช่วงบ่ายวันที่ 27 มี.ค. ที่ผ่านมา.
 
ผู้เสียชีวิตรายที่ 7 
เพศชายอายุ  68 ปี จังหวัดนนทบุรี  (เซียนมวย)
วันที่ 6 มีนาคม 2563 - ไปดูมวยที่สนามมวยลุมพินี
วันที่ 8 มีนาคม 2563 - ไปดูมวยที่ สนามมวย อตก.3 นนทบุรี
12 - 15 มีนาคม 2563 - ไปงานศพวัดไทรม เกิดอาหารป่วยเป็นไข้ ไปรพ.แห่งหนึ่งหมอบอกน้ำในหูไม่เท่ากัน เลยกลับรักษาตัวที่บ้าน และยังมีอาการไอ และไข้ขึ้นสูง
26 มีนาคม 2563 - อาการทรุด ส่งรพ.แห่งหนึ่ง
28 มีนาคม 2563 -  เสียชีวิต แพทย์ลงสาเหตุว่าเป็นโควิด-19 
 
ผู้เสียชีวิตรายที่ 8 
ชายไทยอายุ 54 ปี อยู่ที่ จ.ยะลา มีประวัติเดินทางกลับมาจากมาเลเซีย เสียชีวิตเมื่อวาน (29 มี.ค.)
-  12 มีนาคม 2563 เดินทางไปมาเลเซีย
- 13 มีนาคม 2563 เดินทางกลับไทย
-  15 มีนาคม 2563 เริ่มป่วย
- 16 มีนาคม 2563 เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลยะลา
- 19 มีนาคม 2563 รู้ผลตรวจติดเชื้อโควิด
- 29 มีนาคม 2563 เสียชีวิต
กรณีนี้ถือว่าเขามาพบหมอที่โรงพยาบาลเร็ว  ระยะรักษาตัว 19-29 มีนาคม
ภาวะที่ตรวจพบปอดอักเสบ เนื้อปอดถูกทำลาย ภาวะการหายใจล้มเหลว
 
ผู้เสียชีวิตรายที่ 9 
 
หญิงไทยอายุ 56 ปี มีภาวะปอดอักเสบ รักษาตัว รพ.เอกชน ใน กทม. เสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 มี.ค.
-18 มีนาคม 2563 เริ่มป่วย
-20 มีนาคม 2563 เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง (มีเอ็กซเรย์ เจอปอดอักเสบ)
- 29 มีนาคม 2563 เสียชีวิต
*ไม่มีโรคประจำตัว*
 
ผู้เสียชีวิตรายที่ 10 
 
ชายวัย 48 ปี อาชีพนักดนตรี ซึ่งนับเป็นผู้เสียชีวิตรายที่ 10 ของประเทศไทย
 
10 มีนาคม อยู่ที่ บ้านกรวด บุรีรัมย์
11 มีนาคม เดินทางไปกทม.
15-19 มีนาคม ทำงานเป็นนักดนตรีในผับ เวียนเล่นหลายร้าน ในย่านศิริราช ปิ่นเกล้า
20 มีนาคม เดินทางจาก กทม. ด้วยรถไฟ มาที่ สถานีรถไฟจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อไปอยู่ที่บ้านกรวด
หลังจากนั้น พี่สาวแนะนำให้มาอยู่ที่พยัคฆ์
21 มีนาคม
เดินทางด้วยรถบัส สายขอนแก่น สุรินทร์ จากแยกระกา จ.บุรีรัมย์ จนถึงพยัคฆภูมิพิสัย
ลงที่สถานีของผู้ประกอบการรถบัส โดยไม่ทราบสายรถที่แน่ชัด
โดยมีรถที่สงสัยเข้าข่าย2 คันได้แก่
รถป.1 281-10 ถึงพยัคฆภูมิพิสัยเวลา7.25
และ ป.2 281-2  ถึงพยัคฆภูมิพิสัยเวลา 8.25
ช่วง 8.00-9.00  ผู้ป่วยเดินทางกลับบ้านที่พักอาศัย โดยรถกะบะรับจ้าง ตอนนี้ทราบชื่อคนชับรถแล้ว
ซึ่งถือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ทางโรงพยาบาลได้ดำเนินการติดตามคัดกรองและกักตัวแล้ว
9.00 น.แวะซื้อสินค้าที่ร้านแห่งหนึ่งหน้าที่ว่าการอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
บริเวณดังกล่าว มีผู้สัมผัส 4 ราย ถือเป็นกลุ่มความเสี่ยงต่ำ
9.30 น.แวะซื้อเตียงนอนที่ร้านแห่งหนึ่ง ปากทางบ้านอีเม้ง มีผู้สัมผัส 1 ราย
22 มีนาคม  ออกมาซื้ออาหารทื่ปากทางหน้าบ้านตนเอง  มีผู้สัมผัส 1 ราย
23 มีนาคม ออกมาซื้อน้ำแข็งใสในหมู่บ้านใกล้ที่พัก  มีผู้สัมผัส 1 ราย
 24-25 มีนาคม พักในบ้านพัก ไม่ได้ไปไหน
26 มีนาคม มีอาการผิดปกติ แจ้งอสม. โทรแจ้ง1669 แจ้งว่ามีอาการปวดท้อง ทีมกู้ชีพออกรับนำส่งโรงพยาบาบาล
ถือเป็นผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง ตอนนี้ได้กักตัวและเฝ้าสังเกตอาการเจ้าหน้าที่ทั้งสองท่านนั้นแล้ว
ที่ห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยแจ้งว่า ปวดท้องรุนแรง มีรอยแผลเป็นผ่าตัดที่หน้าท้อง แพทย์ซักประวัติและสั่ง Xray
หลังจากนั้นผู้ป่วยจึงค่อยมาแจ้งทีหลังว่าตนมีอาการ ไข้ไอ หอบเหนื่อยเพิ่มเติม และทำงานอยู่ในพื้นที่เสี่ยง
และมาจากกรุงเทพมหานคร(ในภายหลัง) หลังจากนั้น ตรวจพบภาวะออกซิเจนต่ำ และแพทย์ก็ได้ดำเนินแนวทาง
คัดกรองcovid19 ควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ และส่งตัวไปที่โรงพยาบาบลมหาสารคาม เพื่อตรวจการติดเชื้อ
มีผู้สัมผัสและอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงได้แก่แพทย์ พยาบาลที่ขึ้นปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินเวรเช้าวันที่ 26 มีนาคม
และทั้งหมดได้มีคำสั่งกักตัวและเฝ้าระวังการติดเชื้อเป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยการดูแลจากอายุรแพทย์
ผลการติดเชื้อยืนยันทางห้องปฏิบัติการจากกรมวิทย์ ยืนยันว่า ผู้ป่วยมีการติดเชื้อ covid19
จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563
 
ผู้เสียชีวิตรายที่ 11 
 
- ชายไทยวัย 79 ปี อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
- มีโรคประจำตัว เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง
- 7 มีนาคม 2563 เดินทางไปร่วมงานแต่งงานในมาเลเซีย
- 20 มีนาคม 2563 เริ่มป่วย
- 23 มีนาคม 2563 เข้ารักษาอาการที่ รพ.ของรัฐ แต่อาการไม่ดีขึ้น
- 27 มีนาคม 2563 จึงกลับมา รพ.อีกครั้ง เริ่มมีอาการไข้ 39.1 องศาฯ
และอาการปอดอักเสบส่งตัวไปยัง รพ.ประจำจังหวัด
-30 มีนาคม 2563 เสียชีวิต
 
ผู้เสียชีวิตรายที่ 12
 
- อายุ 58 ปี อาชีพนักธุรกิจ กลับมาจากประเทศอังกฤษ
- 12 มีนาคม 2563 เริ่มป่วย มีไข ไอ มีเสมหะ  เมื่อวันที่ 12 มีนาคม มีไข้ ไอ มีเสมหะ
- 14 มีนาคม 2563 กลับถึงประเทศไทย 
- 15 มีนาคม 2563 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง
- 31 มีนาคม 2563 เสียชีวิต
 
 
 
 
 
 
 
 
logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ