ข่าว

จะทำอย่างไร เมื่อจากคนธรรมดา กลายมาเป็นผู้กักตัวเอง 14 วัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผย 10 ข้อปฏิบัติระหว่างการกักกัน หรือคุมไว้สังเกตในที่พักอาศัย

 

                 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโรคโควิด-19 ในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบก้าวกระโดด ซึ่งวันนี้ (21 มี.ค.2563) กระทรวงสาธารณสุขได้มีการแถลงตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อประจำวันมีผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 89 ราย ทำให้ผู้ติดเชื้อรวมอยู่ที่ 411 ราย แต่บางช่วงขอการแถลงข่าว ยังมีความน่ากังวลใจอยู่หลายส่วน โดยเฉพาะความร่วมมือของประชาชนที่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เรื่องการสวมหน้ากาก การล้างมือบ่อยๆ และงดเว้นไปในจุดที่มีชุมชนแออัด ซึ่งทำให้เป็นจุดเสี่ยงที่ทำให้มีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น

อ่านข่าว ด่วน สธ.พบผู้ติดโควิด 89 ราย รวมพุ่ง 411 ราย วิกฤต 7 ราย

 

 

 

                 นอกจากนั้นแล้ว ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นจากคนใกล้ชิดสัมผัส อยู่ใกล้ หรือคนในครอบครัวที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันกับผู้ที่ติดเชื้อ โควิด-19 อันนี้ก็พบตัวเลขการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น

                 ทีมข่าวคมชัดลึกออนไลน์ ได้นำเอาบทความเรื่อง “การปฏิบัติตัวระหว่างการกักกัน หรือคุมไว้สังเกตในที่พักอาศัย” จากการสัมผัส หรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ โควิด-19 หรือผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ

                 ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุข ยังไม่แนะนำให้ไปตรวจสอบโรค เพราะถ้ายังไม่มีอาการ ทางสถานพยาบาลจะต้องมีการเรียกค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหากเรามีอาการตัวร้อน ไข้ขึ้น ไอ จาม เจ็บหน้าอก อันนี้ต้องไปรับการตรวจคัดกรองโรค โดยแจ้งว่าตนเองได้สัมผัสใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง

                 ส่วนกรณีที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ นั้น ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่คำแนะนำสำหรับประชาชนในเรื่องนี้ว่า

                 1. อยู่ในที่พักอาศัย 14 วัน นับจากวันที่เดินทางกลับจากประเทศเสี่ยงเข้าประเทศไทย หรือ ทันทีที่ทราบข่าวว่าตัวเองมีประวัติสัมผัส ใกล้ชิดผู้ป่วยโรค โควิด-19

                 2. ไม่รับประทานอาหารและใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น

 

 

โควิด19

อ่านข่าว : เมื่อคนใกล้ชิดป่วย"โควิด-19" ต้องปฏิบัติอย่างไร

 

 

 

                 3. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน ผ้าห่ม แก้วน้ำ

                 4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ นาน 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์ 70% ลูบมือจนแห้ง

                 5. เมือต้องอยู่กับผู้อื่น ต้องสวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างจากคนอื่น ประมาณ 1-2 เมตร หรือหนึ่งช่วงแขน

                 6. หลีกเลี่ยงการพูดคุย ใกล้ชิดกับคนอื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง

                 7. การทิ้งหน้ากากอนามัย ให้ทิ้งใส่ถุงพลาสติก ปิดถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงถึงขยะที่ปิดมิดชิด จากนั้นทำความสะอาดมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์ 70% ทันที

                 8. เมื่อไอ จาม ให้ใช้ทิชชูปิดปาก ปิดจมูกถึงคางทุกครั้ง ทิ้งทิชชูใส่ถุงพลาสติก ปิดถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงถังขยะที่ปิดมิดชิดจากนั้นทำความสะอาดมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์ 70% ทันที หากไม่มีทิชชูใช้ต้นแขนด้านใน

                 9. ทำความสะอาดบริเวณที่พัก ด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 99 ส่วน) หรือเช็ดพื้นผิวสัมผัสด้วยแอลกอฮอล์ 70%

                 10. ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู หรืออื่นๆ ด้วยผงซักฟอกและน้ำธรรมดา หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อน อุณหภูมิ 70-90 องศา

                 ซึ่งนี่ก็เป็นแนวทางการปฏิบัติตัวเป็นเบื้องต้นของประชาชนที่ต้องดูแลตัวเอง ป้องกันตัวเอง เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น หากเมื่อต้องเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็ต้องกักกันตัวเองให้อยู่ในที่พักอาศัย และปฏิบัติตัวตามคู่มือของกรมควบคุมโรคนี้ จะได้ป้องกันทั้งตัวเรา และบุคคลรอบข้างได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย

อ่านข่าว  :  รัฐช่วยผ่อนชำระหนี้จากผลกระทบโควิด-19

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ