ข่าว

รัฐบาลแถลงปิดสถานศึกษาทั่วไทย เพื่อควบคุมโควิด-19

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รัฐบาล แถลงปิดสถานศึกษาทั่วไทย ครอบคลุม โรงเรียนรัฐ-เอกชน มหาวิทยาลัยของรัฐ-เอกชน สถาบันกวดวิชา และโรงเรียนนานาชาติ ให้ปิดเทอมเร็วจากเดิม มีผล 18 มี.ค.2563 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

 


         วันที่ 16 มีนาคม 2563 - ที่ตึกนารีสโมสร  ทำเนียบรัฐบาล ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเห็นพ้องร่วมกันดังนี้

  อ่านข่าว :  ครม.ปิดสถานบริการกทม.-ปริมณฑล 14 วันเริ่ม18มี.ค.นี้

                 :ไทยติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 33 ราย

 

 

          นายวิษณุ  เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี  แถลงในนามรัฐบาลไทยว่า ขณะนี้มีความจำเป็นต้องควบคุมสถานที่ ที่มีผู้คนไปชุมนุมคราวละมากๆ ที่มีการชุมนุมกันเป็นกิจวัตร แล้วมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เพราะไม่ได้ไปนั่งนิ่งๆ และต้องมีการกิจกรรมร่วมกัน ยากต่อการแบ่งแยกที่นั่งให้ห่างจากกัน มีทางเลี่ยงหรือเลิกให้เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในวันพรุ่งนี้ (17 มีนาคม 2563 ) เพื่อให้หยุดกิจการหรือปิดสถานที่ไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว คาดว่าจะเริ่มได้ในวันที่ 18 มี.ค. 2563  เช่น

 

รัฐบาลแถลงปิดสถานศึกษาทั่วไทย เพื่อควบคุมโควิด-19 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี


    1.มหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเตรียมพร้อมในการปิดเรียนและเลี่ยงไปเปิดสอนออนไลน์

    2.โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน โรงเรียนนานาชาติ โดยเฉพาะนานาชาติ ซึ่งจะปิดเทอมในวันที่ 1เม.ย. นี้ ต้องเร่งวันปิดให้เร็วขึ้นเป็นื 18 มี.ค.2563

   3 สถบันกวดวิชา  หรือโรงเรียนกวดวิชา ที่สามารถเลื่อนออกไปได้ รับเงินไว้แล้วต้องคืน หรือเลื่อนกำหนดการกวดวิชาออกไปก่อน ใช้มาตรการเดียวกันกับสายการบินและบริษัททัวร์

 

      " มาตรการดังกล่าว เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู  พ่อ แม่ผู้ปกครอง ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 " นายวิษณุ กล่าว

 

       ทั้งนี้สถานศึกษาที่ต้องปิดการเรียนการสอน ตามแถลงการณ์ของรัฐบาลเพื่อรับมือโควิด-19 ปัจจุบันมีสถานศึกษาแยกเป็นโรงเรียนของรัฐ - เอกชน ,มหาวิทยาลัยของรัฐ-เอกชน  โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนกวดวิชา  โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร  โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานรับเลี้ยงเด็กอ่อนฯลฯ 


     


 

               "คมชัดลึกออนไลน์" ประมวลภาพจำนวนสถานศึกษา ทุกสังกัดในประเทศไทย ที่จะได้รับผลกระทบและต้องปิดการเรียนการสอน มีจำนวนประมาณ 34,565 สถานศึกษา ซึ่งพอเป็นสังเขปดังนี้...
      

     โรงเรียนของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แยกเป็น

    1.สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) มีจำนวน 29,000 โรเรียน 

     2.สังกัดสำนักงานคณะกรรมการกอาชีวศึกษา (สอศ.) ทั้งของรัฐและเอกชนมีจำนวน กว่า 900 แห่ง แยกเป็น สถาบันอาชีวะที่เป็นของรัฐมีจำนวน 426 สถาบัน ที่เหลือเป็นของเอกชน มีจำนวนปรับลดขึ้นลงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

     สังกัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แยกเป็นดังนี้

    3.สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มีจำนวน  9 แห่ง

    4.สถาบันวิทยาลัยชุมชน  มีจำนวน  20 สถาบัน

   5.สถาบันการศึกษาของทหารและตำรวจ  มีจำนวน 9 แห่ง

   6.มหาวิทยาลัยราฏภัฏ (มรภ.)มีจำนวน 38 แห่ง

   7.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) มีจำนวน 9 แห่ง

   8.สถาบันการศึกษานอกสังกัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีจำนวน 5 สถาบัน

  9.สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ (ม.นอกระบบ) มีจำนวน 22 สถาบัน 

 10.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (มหาวิทยาลัยเอกชน) มีจำนวน 42 สถาบัน

11.สถาบันอดมศึกษาที่เปิดสอนเป็นครั้งแรก มีจำนวน 17 สถาบัน

12.วิทยาลัยที่เปิดสอนเป็นครั้งแรก มีจำนวน 19 สถาบัน

13.สถาบันอุดมศึกษาอิสระ มีจำนวน 2 แห่ง

14.สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ มีจำนวน 2 สถาบัน

15.โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 147 โรงเรียน

16.โรงเรียนเอกชน มีจำนวน12,137 โรงเรียน มีนักเรียน 3,797,442 คน มีครู จำนวน 178,172 คน

17.โรงเรียนนานาชาติ  มีจำนวน 175 โรงเรียน ทั้งนี้ในช่วงปี 2560 พบว่าธุรกิจตลาดรวมมูลค่า 60,500 ล้านบาท/ปี เติบโตต่อเนื่องสูงถึง 12 %

 18.โรงเรียนกวดวิชา  เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีจำนวน 1,116  แห่ง  และโรงเรียนกวดวิชาทั่วประเทศอีก จำนวน 1,796 แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 2,912 แห่ง ซึ่งเมื่อปี 2561 มีมูลค่าการตลาดกว่า 8,000-10,000 ล้านบาท 

    ยังไม่นับรวมศูนย์การเรียนรู้ชุมชน  และศูนย์รับเลี้ยงเด็ก (อายุ 3ขวบขึ้นไป) ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 

   0 กมลทิพย์ ใบเงิน 0 รายงาน

 

   

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ