ข่าว

โฆษกสธ.ย้ำตรวจรักษาโควิด-19 ฟรีทุกรพ.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โฆษกสธ.ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการรักษาโควิด-19ฟรี

 

 

                   

                                     วันที่ 15 มี.ค.2563 นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาพิเศษและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลังร่วมประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์ 'โควิด-19' ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข  ชี้แจงเรื่องการตรวจหาโควิด-19 ฟรี ว่า หากรู้สึกไม่สบาย เช่น มีไข้ น้ำมูก เป็นหวัด มีอาการ หรือมีประวัติเสี่ยง ขอให้เดินทางไปโรงพยาบาลที่มีสิทธิ โดยไม่ลืมสวมหน้ากากอนามัย  และล้างมือ ซึ่งจะเดินทางไปเอง หรือเรียกเจ้าหน้าที่มารับก็ได้  เมื่อไปถึงจะได้รับการตรวจและรักษาฟรี เพราะคนไทยทุกคนมีสิทธิ์  ไม่ว่าจะสิทธิข้าราชการ สิทธิหลักประกันสุขภาพ และสิทธิประกันสังคม แต่จะต้องมีประวัติและการสัมผัสที่สุ่มเสี่ยง  ส่วนผู้ที่ยังไม่มีอาการขอความร่วมมือ ว่ายังไม่จำเป็นต้องไปตรวจหาเชื้อ เพราะไม่มีประโยชน์ อย่างไรก็ไม่พบเชื้อ และเสียค่าใช้จ่ายด้วย   แต่หากรู้ตัวเองว่ามีประวัติสุ่มเสี่ยง ขอให้ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  มีเจ้าหนาที่เข้าไปดูแลอย่างดี ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างเต็มที่ ตามติดกลุ่มเสี่ยงที่ไม่มีอาการ 40-270 ราย  

 

 

 

 

         

                    ส่วนโรงพยาบาลเอกชนขณะนี้ก็ให้ความร่วมมือ ดี ถ้ามีผู้ป่วยต้องสงสัย สามารถส่งต่อมาตรวจกับกระทรวงสาธารณสุขได้ เนื่องจากมีห้องแล็บพร้อมดูแล ทั้งนี้หากป่วนไม่มาก โรงพยาบาลเอกชนก็รักษาได้ แต่ทางกระทรวงฯ ก็ได้เตรียมความพร้อมของทีมเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และระบบรองรับไว้แล้ว 

โฆษกสธ.ย้ำตรวจรักษาโควิด-19 ฟรีทุกรพ.


โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ยังบอกด้วยว่า ขณะนี้สายด่วน 1422 มีประชาชนติดต่อเข้ามาจำนวนมาก  จึงเพิ่มช่องทาง 1669 และ 1111 ให้ประชาชนติดต่อเพิ่มเติม  พร้อมขอประชาชนอย่ากังวลหลังสังคมมองว่าสถานการณ์เข้าใกล้การแพร่ระบาดระยะที่3 แล้ว โดยขอให้เปลี่ยนความกลัวเป็นความรู้ที่เป็นความรู้ที่ถูกต้อง ป้องกันตัวเอง ไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น ยืนยันว่าโรคนี้มียารักษาและกำลังจะมีวัคซีน  ส่วนใหญ่คนที่เป็นอาการไม่รุนแรง ซึ่งประเทศไทยเคยผ่านสถานการณ์เช่นนี้เมื่อ 10 ปีมาแล้วในช่วงไข้หวัดใหญ่ จึงขอให้เช็คข้อมูลที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันยังไม่จำเป็นต้องกักตุนอาหาร

สำหรับการผลิควัคซีน จะเป็นลักษณะการเก็บเชื้อไปพัฒนา ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ