ข่าว

นักวิจัยชี้ค้างคาวคือพาหะไวรัสโคโรน่า เตือนอย่าจับซากค้างคาว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักวิจัยชี้ค้างคาวคือพาหะไวรัสโคโรน่า หลังพบเชื้อในผู้ป่วยในอู่ฮั่นเหมือนกับเชื้อที่พบในค้างคาวที่กำลังศึกษาวิจัยถึง 96% จาก 30,000 พันธุกรรม

รายการ "โหนกระแส" เกาะติดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการสาธารณสุขแห่งชาติจีน แถลงว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็น 106 คน และติดเชื้อใหม่อีกเกือบ 1,300 คน รวมแล้ว 4,171 คน 

 

ทางรายการได้เชิญ ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี หรือ 'ดร.ชุ' นักเทคนิคการแพทย์ของไทย รองหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้ค้นพบ "เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่" ก่อนที่จะมีการประกาศจากทางการจีนมาพูดคุยในรายการ 

 

โดย ดร.สุภาภรณ์ ได้เปิดเผยว่า เราได้ทำงานร่วมกันตั้งแต่รู้ข่าวว่ามีโรคลึกลับเกิดขึ้นที่จีน ว่าเป็นปอดอักเสบ แต่เรียกว่าโรคอะไรไม่รู้ เป็นข่าวที่จีนก่อนตั้งแต่ปลายปี เริ่มมีข่าวมาเรื่อยๆ ซึ่งทางจีนประกาศแค่ว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุ ก่อนจะตรวจเจอที่ไทยเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563 ก่อนที่ทางการจีนจะประกาศอย่างเป็นทางการว่าพบเชื้อไวรัสโคโรน่า เมื่อ 11 มกราคม 2563 ซึ่งเราก็ได้เอาเชื้อที่เราทำการตรวจมาแล้วนั้นไปเปรียบเทียบและพบว่า 100% เหมือนเชื้อในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน เดิมทีนั้นเชื้อตระกูลโคโรน่ามีอยู่ด้วยกัน 6 ตระกูล แต่เชื้อนี้ที่กำลังระบาดถือเป็นตระกูลที่ 7 

 

เมื่อถามว่าเชื้อไวรัสโคโรน่ามาจากค้างคาวจริงหรือ

 

'ดร.ชุ' ระบุว่า จริงๆ โรคอุบัติใหม่มากกว่า 75% เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนทั้ง อีโบล่า เมอร์ส ซาร์ส เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีสัตว์เป็นแหล่งนำโรคทั้งสิ้น รวมทั้งพิษสุนัขบ้าก็เป็นโรคจากสัตว์สู่คน และมีค้างคาวเป็นต้นตอของเชื้อโรคเหล่านี้ จึงเป็นที่มาที่ไปว่าทำไมทีมของเราต้องศึกษาเรื่องเชื้อไวรัสใหม่ๆ ในค้างคาว ซึ่งจากข้อมูลงานวิจัยล่าสุดจากสถาบันไวรัสวิทยาของอู่ฮั่น ที่พิมพ์เผยแพร่ในเว็บไซต์ พบว่าเชื้อที่พบในผู้ป่วยในอู่ฮั่นเหมือนกับเชื้อที่พบในค้างคาวที่เขากำลังศึกษาวิจัย 96% จาก 30,000 พันธุกรรม

 

ส่วนการติดต่อเราไม่รู้ว่ามาได้ไง อาจเป็นความเชื่อที่ผิดเรื่องเปิบพิศดาร ถ้าต้มสุกด้วยความร้อนซึ่งปกติไวรัสตายง่ายอยู่แล้ว แต่ถ้ากินดิบนั่นถือว่ามีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อนี้ และอีกสิ่งหนึ่งที่มีความเสี่ยงคือ คนชำแหละค้างคาว จับค้างคาวมาแล้วอาจโดนค้างคาวกัด ถลกหนัง เช่น พ่อครัว เพราะเชื่อว่าเขาไม่ได้ใส่ถุงมืออยู่แล้ว

 

ส่วนประเด็นที่ว่าค้างคาวในไทยมีโอกาสก่อโรคไวรัสโคโรน่าได้ไหมนั้น เราได้สำรวจโรคในค้างคาวมาเกือบ 20 ปี แต่เชื้อตัวนี้ไม่พบในค้างคาวไทยที่เราสำรวจอยู่ ซึ่งเราต้องสำรวจเพิ่มเติมโดยพุ่งป้าไปที่ค้างคาวมงกุฏ เพราะค้างคาวที่เมืองจีนรายงานมาจากค้างคาวมงกุฏ แต่ในประเทศไทยเราสำรวจค้างคาวไปหลายชนิดอย่างค้างคาวมงกุฏ เราเพิ่งจับไป 20 ตัว เจอเชื้อเหมือนกันแต่เป็นเชื้อกลุ่มอื่น

 

 

สำหรับค้างคาวเป็นสัตว์ที่มีภูมิต้านทานที่ดี สามารถเป็นกล่องเก็บเชื้อโรค โดยที่ค้างคาวไม่ป่วย เขามีภูมิให้ไวรัสอยู่กับเขาได้โดยที่เขาไม่ป่วย เป็นความฉลาดของค้างคาว ที่เขาจะอยู่กับตัวเก็บเชื้อ ไม่ทำให้ค้างคาวป่วย ไวรัสจะตายไปพร้อมค้างคาว ไม่มีสิทธิ์แพร่ให้เรา มีนักวิจัยกำลังศึกษาอยู่ว่าค้างคาวมีอะไรพิเศษ มีภูมิคุ้มกันอะไร อาจเอามาแปลงว่าเราควรมียาที่คล้ายๆ ค้างคาวมีหรือเปล่า มีกลุ่มนักวิจัยที่เขากำลังสนใจ

 

กรณีถูกค้างคาวฉี่ หรือ อึใส่ นั้นไม่ต้องกลัว ไม่ต้องกังวล เท่าที่เราสำรวจในประเทศไทย ยังไม่เจอเชื้อตัวนี้ แต่กรณีถูกค้างคาวกัดให้มาหาหมอ เพราะอาจเป็นพิษสุนัขบ้าได้ แต่ถ้าถูกฉี่ใส่ให้รดน้ำฟอกด้วยสบู่ 15 นาที เพื่อชำระสิ่งปฏิกูลและสิ่งปนเปื้อนออกให้หมด มีคำแนะนำสำหรับประชาชน จะอยู่กับค้างคาวให้ปลอดภัยได้อย่างไร มีการวิจัยที่เราแปลเป็นภาษาไทยว่าไม่ควรหยิบจับซากค้างคาว

 

สำหรับในอนาคต แน่นอนว่าจะมียาสำหรับไวรัสตัวนี้ แต่ ณ ตอนนี้ถึงแม้ไม่มียา เราสามารถรักษามันเองได้ด้วยตัวเราเอง เมื่อไวรัสเข้าไปเป็นสิ่งแปลกปลอม ร่างกายเราถ้าแข็งแรงพอจะสร้างภูมิคุ้มกันกำจัดเชื้อไวรัสและหายไปเอง เหมือน 5-6 คนที่หายเรียบร้อย ไม่มียาที่ทางการไทยช่วยรักษา ไม่ได้มียาพิเศษเขาหายเอง แต่ที่สำคัญคือไม่ออกไปแพร่เชื้อให้ผู้อื่น

 

 

 

 

 

ขอบคุณรายการ : โหนกระแส

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ