ข่าว

อากาศยอดแย่ กทม.ดูแลกลุ่มเสี่ยง สู้ฝุ่น PM2.5

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กทม.ห่วงสถานการณ์ฝุ่น ดูแลกลุ่มเสี่ยง เปิดคลินิกมลพิษทางอากาศใน รพ.สังกัด กทม. - จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการในพื้นที่เสี่ยง

 

               กทม.ห่วงสถานการณ์ฝุ่น หลังเว็บไซต์ดังเผยกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีมลพิษอันดับต้นๆ ของโลก พร้อมดูแลกลุ่มเสี่ยง เปิดคลินิกมลพิษทางอากาศใน รพ.สังกัด กทม. - จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการในพื้นที่เสี่ยง

 

อ่านข่าว วิกฤติฝุ่นพิษ

 

               นายสุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวตามที่ www.airvisual.com รายงานคุณภาพอากาศทั่วโลกและจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษแบบเรียลไทม์ ซึ่งกรุงเทพฯ อยู่ในลำดับที่ 4 ของโลก

 

               โดยมีค่าฝุ่นอยู่ที่ 180 US AQI ว่า สนพ. ได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ พร้อมรายงานข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคที่อาจมีสาเหตุจากฝุ่นละออง 

 

อากาศยอดแย่ กทม.ดูแลกลุ่มเสี่ยง สู้ฝุ่น PM2.5

 

               อีกทั้งได้สั่งการให้เปิดคลินิกมลพิษทางอากาศที่โรงพยาบาลตากสิน ในวันจันทร์และวันอังคาร โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ในวันพุธ และโรงพยาบาลกลาง ในวันพฤหัสบดี ระหว่างเวลา 13.00 - 15.30 น. เพื่อให้คำปรึกษาและนำไปสู่การรักษาพยาบาล 


อ่านข่าว 17 เขตกทม. ฝุ่นเกินมาตรฐาน กระทบสุขภาพ

 

               ขณะเดียวกันได้เปิดสายด่วนสุขภาพสำนักการแพทย์ โทร.1646 บริการตอบปัญหาและให้คำปรึกษาเรื่องโรคที่มีสาเหตุจากฝุ่นละออง ตลอด 24 ชั่วโมง หรือหากต้องการปรึกษาแพทย์จะประสานต่อไปยังศูนย์บริหารราชการฉับไว ใสสะอาด (Bangkok Fast & Clear : BFC) ของแต่ละโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เพื่อนัดพบแพทย์ 

 

อากาศยอดแย่ กทม.ดูแลกลุ่มเสี่ยง สู้ฝุ่น PM2.5

 

               พร้อมจัดตั้งคลินิกมลพิษทางอากาศออนไลน์ ผ่านเพจของสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ให้ข้อมูลด้านสุขภาพแก่ประชาชน รวมถึงผลิตชุดความรู้เรื่องฝุ่น PM2.5 ในรูปแบบอินโฟกราฟิกและวิดีโอคลิป เผยแพร่ผ่าน Facebook Fanpage สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

 

อากาศยอดแย่ กทม.ดูแลกลุ่มเสี่ยง สู้ฝุ่น PM2.5

 

               ตลอดจนบูรณาการความร่วมมือกับ สํานักอนามัย กทม. และสถาบันอาชีวเวชศาสตร์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในด้านวิชาการและการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง PM2.5

 

               ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนั้น ได้ให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการปฏิบัติตน หากอยู่ในพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 สูง ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ เด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ผู้ที่มีปัญหาในโรคทางเดินหายใจ หรือมีโรคประจำตัว ผู้ที่ทำงานในที่กลางแจ้ง 

 

อากาศยอดแย่ กทม.ดูแลกลุ่มเสี่ยง สู้ฝุ่น PM2.5

 

               โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีปริมาณ PM 2.5 มากกว่า 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ควรหลีกเลี่ยงการทำงานหรือออกกำลังกายกลางแจ้ง หากจำเป็นต้องออกไปกลางแจ้ง ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย และไม่อยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที 


อ่านข่าว PM 2.5 ฝุ่นพิษ กทม. เลือดออกจมูก - ไอเป็นเลือด

 

               นายชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวว่า สนอ. ยังได้เตรียมพร้อมแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 โดยในสถานการณ์ที่มีค่าฝุ่นละอองอยู่ในระดับไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร

 

อากาศยอดแย่ กทม.ดูแลกลุ่มเสี่ยง สู้ฝุ่น PM2.5

 

               ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ได้ให้ความรู้ในการป้องกันและดูแลตนเองจากภัยหรืออันตรายที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน แก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงเฝ้าระวังติดตามเป็นพิเศษในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง เด็ก ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด และหญิงตั้งครรภ์ 

 

               ส่วนในสถานการณ์ที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานมากกว่า 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร บุคลากรของศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. และอาสาสมัครสาธารณสุข จะให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากฝุ่นละอองแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 

 

อากาศยอดแย่ กทม.ดูแลกลุ่มเสี่ยง สู้ฝุ่น PM2.5

 

               และเมื่อค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก อยู่ในระดับ 50 - 75 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จะออกหน่วยแพทย์และสาธารณสุขเคลื่อนที่ จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ รวมทั้งจะติดตามเยี่ยมผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเมื่อค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก อยู่ในระดับ 76 - 100 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ติดต่อกัน 3 วัน

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ