ข่าว

เช็กวันเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนมกราคม 2563

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เช็กวันเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนมกราคม 2563

เฟซบุ๊ก บัตรประชารัฐและเงินอุดหนุนบุตร ได้ออกมาโพสต์ข้อความว่า 

เริ่มแจกวันที่ 1 มกราคม 2563 ได้เท่าไร : วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษา จากร้านธงฟ้าประชารัฐ 200-300 บาทต่อเดือน (เดือนนี้ยังได้อยู่ และไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้)

ใครได้ : ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกคน หมายเหตุ : ผู้มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี ได้ 300 บาท, ผู้มีรายได้เกิน 30,000 บาทต่อปีขึ้นไป ได้ 200 บาท

เริ่มแจกวันที่ 1 มกราคม 2563 ได้เท่าไร : ค่าเดินทาง โดยรถโดยสารสาธารณะ แบ่งเป็น รถเมล์ รถไฟฟ้า (รฟม.และ BTS) 500 บาท, รถ บขส. 500 บาท และรถไฟ 500 บาทต่อคนต่อเดือน

ใครได้ : ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกคน หมายเหตุ : ถ้าเกิน 500 บาท ต้องออกเงินเพิ่มเติมเอง

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และ ผู้คนกำลังนั่ง

 

เริ่มแจก : วันที่ 15 มกราคม 2563  เงินคืนภาษี VAT 5% สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เติมเงินเข้าบัตร แล้วใช้เงินจากบัตรรูดซื้อสินค้าและบริการผ่านร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือร้านค้าเอกชนอื่น ๆ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านเครื่อง EDC ที่มีการเชื่อมต่อระบบ POS ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563 รัฐจะคืนภาษี VAT 5% ให้ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเงินส่วนนี้สามารถนำบัตรคนจนไปกดเป็นเงินสดออกมาใช้ หรือรูดซื้อของตามร้านธงฟ้าฯ และร้านค้าอื่น ๆ ที่ร่วมโครงการได้ 

ใครได้ : เป็นผู้ที่เติมเงินเข้าบัตรคนจน แล้วใช้บัตรจ่ายเงินซื้อของในเดือนธันวาคม 2562 จึงจะได้รับเงินภาษี VAT 5% คืนเข้าบัตร ตามยอดใช้จ่าย

เริ่มแจกวันที่ 18 มกราคม 2563 ได้เท่าไร : ค่าน้ำ 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน ใครได้ : ครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด และได้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์เรียบร้อย (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562-กันยายน 2563 ระยะเวลา 11 เดือน)

เริ่มแจกวันที่ 18 มกราคม 2563 ได้เท่าไร : ค่าไฟ 230 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน

ใครได้ : ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด และได้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์เรียบร้อย (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562-กันยายน 2563 ระยะเวลา 11 เดือน)
หมายเหตุ

(1.) สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ์ ยังสามารถลงทะเบียนใช้สิทธิ์เพิ่มเติมได้แล้ว ผ่านช่องทางเว็บไซต์ MEA http://meagate1.mea.or.th/welfareregis และ MEA Smart Life Application
(2.) ต้องชำระยอดค่าไฟฟ้ากับการไฟฟ้านครหลวงก่อน จากนั้นกรมบัญชีกลางจึงจะโอนเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐคืนในภายหลังตามจำนวนยอดชำระจริง

ได้ 2 เบิ้ล! เงินคืนสูงสุด 500 บาท + ใจดีออมเงินให้
ได้เท่าไร : ได้เงินคืนสูงสุด 500 บาท

ใครได้ : ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกคนที่ใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 – 30 กันยายน 2563) โดยการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

(1.) จำนวน 5% คืนเงินให้ผู้ถือบัตร ด้วยการโอนเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Money) เงินส่วนนี้สามารถนำบัตรคนจนไปกดเป็นเงินสดออกมาใช้ หรือรูดซื้อของตามร้านธงฟ้าฯ และร้านค้าอื่นๆ ที่ร่วมโครงการได้

(2.) จำนวน 2% จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 1% เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม อีกส่วนคือ 1% เก็บเข้าบัญชีกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ของผู้ถือบัตร หรือหากไม่มีบัญชีกับ กอช. อาจจะเปิดบัญชีเพื่อสะสมไว้ให้

หมายเหตุ : เมื่อรวมกันทั้งสองส่วนแล้วต้องไม่เกิน 500 บาทต่อคนต่อเดือน และจะโอนให้ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บัตรคนจน

สรุปให้เห็นภาพง่ายๆ ดังต่อไปนี้

- ใช้จ่ายผ่านบัตรคนจน 100 บาท ได้คืน VAT 5% เงินจะเข้าบัตรคนจนเดือนถัดไป 5 บาท
- ใช้จ่ายผ่านบัตรคนจน 500 บาท ได้คืน VAT 5% เข้าบัตรคนจนเดือนถัดไป 25 บาท
- ใช้จ่ายผ่านบัตรคนจน 1,000 บาท ได้คืน VAT 5% เข้าบัตรคนจนเดือนถัดไป 50 บาท
- ใช้จ่ายผ่านบัตรคนจน 10,000 บาท ได้คืน VAT 5% เข้าบัตรคนจนเดือนถัดไป 500 บาท
หมายเหตุ : หากคุณซื้อสินค้าที่ไม่ได้เสีย VAT เช่น ผักสด, เนื้อสด, กับข้าว และอื่นๆ คุณจะไม่ได้รับเงินคืนจากนโยบายนี้

 

จนไม่จริง เตรียมโดนคัดออก
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐดำเนินมาตั้งแต่ปี 2560 วันนี้มีผู้ถือบัตรกว่า 14 ล้านคน จึงเชื่อว่าผู้ได้รับบัตรสวัสดิการส่วนหนึ่งน่าจะมีศักยภาพในการดำรงชีวิตสูงขึ้น (พ้นจากเส้นความยากจน) จึงจำเป็นต้องมีการปรับข้อมูล ปรับปรุงรายชื่อผู้ได้รับสิทธิเสียใหม่ ขณะเดียวกันจะต้องพิจารณาเป็นรายครัวเรือน เพราะบางคนที่ได้รับสิทธิอาจมีรายได้ไม่มาก แต่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีรายได้ดี ก็ไม่ควรได้รับสิทธิ และรัฐบาลกำลังจะเปิดให้มีการลงทะเบียนโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีกครั้งในต้นปีหน้า

เตรียมเปิดลงทะเบียนบัตรคนจนรอบใหม่
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ในเดือน ม.ค.2563 กระทรวงการคลัง จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรอบใหม่ ซึ่งข้อเสนอเบื้องต้นจะนำรายได้ครอบครัวมาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินร่วมกับรายได้ส่วนบุคคลที่กำหนดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ส่วนข้อมูลบัตรเครดิตและรถยนต์ ยังไม่นำมาพิจารณา อย่างไรก็ตาม หากนำรายได้ครอบครัวมาประเมิน ทำให้ผู้ได้รับบัตรสวัสดิการหายไปส่วนหนึ่ง ขณะเดียวกันพร้อมเปิดให้คนใหม่เข้ามาลงทะเบียนเพิ่มเติมด้วย

“เดิมการลงทะเบียนบัตรคนจนเข้าสู่ที่ประชุม ครม. วันที่ 24 ธ.ค.62 แต่ไม่ทัน เพราะต้องปรับแก้ในบางประเด็น เช่น เรื่องการคิดรายได้ครัวเรือนยังไม่ตรงกัน ผมไม่อยากให้เกณฑ์ดังกล่าวไปดึงคนให้เข้ามารับบัตรมากขึ้น เพราะจุดประสงค์คือ คนที่ได้บัตรต้องจนจริงๆ และอยู่ในครอบครัวไม่มีฐานะร่ำรวย หากมีรายได้ ของครอบครัวปีละ 1 ล้านบาท ก็ไม่ควรได้รับบัตรทั้งครอบครัว” นายอุตตม กล่าว

 

แถมยังลุ้น! ครม.เพิ่ม “เบี้ยคนพิการ” เป็น 1 พันบาท
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (กพช.) เพื่อกำหนดเพิ่มอัตราเบี้ยความพิการ จาก 800 บาทเป็น 1,000 บาทต่อเดือนต่อคน และนายจุรินทร์ จะได้นำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเร็วที่สุด ซึ่งกรณีนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้พิการกว่า 2,000,000 คนทั่วประเทศ คาดว่าจะใช้งบประมาณ เพิ่มขึ้นปีละ 4,800 ล้านบาท

กรมบัญชีกลางโอนตรง เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ ครบทุกจังหวัดต้นปี 63 กรมบัญชีกลางขยายการโอนเงินจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และเบี้ยคนพิการ เข้าบัญชีเงินฝากของผู้มีสิทธิโดยตรง จากเดิมจะโอนให้กับผู้มีสิทธิในเขตกรุงเทพฯ เมืองพัทยา และ จังหวัดสิงห์บุรี

ซึ่งล่าสุดวันที่ 7 มกราคม 2562 ได้มีประกาศออกมาว่า "กรมบัญชีกลางเตรียมจ่ายตรงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการเข้าบัญชีของผู้มีสิทธิโดยตรง โดยจะสามารถจ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิของ อปท. ทั่วประเทศ จำนวน 7,774 แห่ง ได้พร้อมกันทั่วประเทศ 10 มกราคม 2563" 

นางสาววิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ดำเนินโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม ตามโครงการ e-Payment ภาครัฐ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ National e-Payment Master Plan โดยทำหน้าที่จ่ายเงินตรงเข้าบัญชีผู้มีสิทธิรับเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่นแทนส่วนราชการหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสวัสดิการสังคมแต่ละประเภท ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางได้ออกหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเงินเบี้ยความพิการ ตามโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายเงินอุดหนุนแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) จัดทำฐานข้อมูล และได้รับการสนับสนุนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลบุคคลจากกรมการปกครอง โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กรมบัญชีกลางได้จัดทำปฏิทินการทำงานสำหรับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการ เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้ตรวจสอบ ดังนี้
➡️ ม.ค. 2563 จ่าย > ศุกร์ที่ 10 ม.ค.63
➡️ ก.พ. 2563 จ่าย > ศุกร์ที่ 7 ก.พ.63
➡️ มี.ค. 2563 จ่าย > อังคารที่ 10 มี.ค.63
➡️ เม.ย. 2563 จ่าย > ศุกร์ที่ 10 เม.ย.63
➡️ พ.ค. 2563 จ่าย > ศุกร์ที่ 8 พ.ค.63
➡️ มิ.ย. 2563 จ่าย > พุธที่ 10 มิ.ย.63
➡️ ก.ค. 2563 จ่าย > ศุกร์ที่ 10 ก.ค.63
➡️ ส.ค. 2563 จ่าย > จันทร์ที่ 10 ส.ค.63
➡️ ก.ย. 2563 จ่าย > พฤหัสบดีที่ 10 ก.ย.63

หมายเหตุ : กรณีมีการเปลี่ยนแปลงการโอนเงินตามปฏิทินการทำงานฯ กรมบัญชีกลางจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2562 เป็นต้นไป จะขยายสิทธิการโอนเงินไปยังผู้มีสิทธิใน จ.สมุทรสงคราม และ จ.อุทัยธานี จากนั้นจะเริ่มทยอยจ่ายต่อไปจนครบ 76 จังหวัด ภายในเดือน ม.ค. 63.

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ