ข่าว

ครั้งแรกของสิมิลันกับพบ หอยเม่นหมวกกันน็อค สัตว์ทะเลหายาก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ครั้งแรกของสิมิลันกับพบ หอยเม่นหมวกกันน็อค สัตว์ทะเลหายาก

นับเป็นเรื่องราวดีดีอีกหนึ่งเรื่องราว เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2562 เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สล.2 (เกาะสิมิลัน) นำโดยนางสาวเพ็ญศรี พิพัฒน์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ได้ออกลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (smart patrol)และในการลาดตระเวนครั้งดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้ทำการสำรวจพบหอยเม่นหมวกกันน็อค ประมาณ 50 ตัว บริเวณเกาะบางู ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหายากในประเทศไทยและเป็นการค้นพบสัตว์ชนิดนี้เป็นครั้งแรกของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง

 

หอยเม่นหมวกกันน็อค มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Colobocentrotus atratus หอยเม่นหมวกกันน็อค(Helmet Urchins) หรือบางทีรู้จักกันในชื่อ หอยเม่นกระเบื้องมุงหลังคา (shingle urchin) รูปลักษณะที่แตกต่างจาก หอยเม่นทั่วไปก็คือ พวกเนื้อตัวที่เกลี้ยงเกลาดุจมุงด้วยกระเบื้อง ไร้ซึ่งหนามแหลมแม้แต่อันเดียว สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าหอยเม่นหมวกกันน็อคได้มีการปรับตัวให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่อาศัยเนื่องจากถิ่นที่อยู่ของพวกมันมีคลื่นลมรุนแรง ทำให้มีนักล่าน้อยนักที่จะเข้าถึงตัวพวกมันได้ ประกอบกับการที่อยู่ในพื้นที่มีคลื่นลมรุนแรง หนามแหลมนั้นเป็นอุปสรรค เนื่องจากมันจะต้านคลื่นอาจทำให้พวกมันถูกซัดหลุดจากโขดหินที่อยู่อาศัย และเมื่อไม่มีผู้ล่าหนามแหลมที่ใช้ป้องกันตัวจึงหมดความจำเป็นไป

ในภาพอาจจะมี อาหาร และสถานที่กลางแจ้ง

นายสุธีรชัย สมทา นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ประจำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ได้ให้ข้อมูลว่าจากการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยพบว่าได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการทบสอบแรงยึดเกาะของเม่นหมวกกันน็อค Santos & Flammang (2007) โดยพบว่า เม่นหมวกกันน็อคสามารถต้านทานแรงปะทะคลื่นได้ตั้งแต่ความเร็ว 17.5 เมตรต่อวินาที ไปจนถึง 27.5 เมตรต่อวินาที !! ซึ่งหากเปรียบเทียบให้เห็นภาพคือที่ความเร็ว 27.5 เมตรต่อวินาที เป็นแรงที่สามารถถอนต้นไม้ได้ทั้งต้น

ในภาพอาจจะมี ข้อความ

ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง, น้ำ, ธรรมชาติ และอาหาร

หอยเม่นหมวกกันน็อค พบได้ทั่วไปตามโขดหินตามชายหาดที่มีคลื่นซัดถึง ในแถบ Indo-West Pacific และ ฮาวาย (Hawaii) แต่ในประเทศไทยนั้นมีรายงานการพบหอยเม่นชนิดนี้น้อยมาก โดยรายงานการพบครั้งแรกในปีพ.ศ. 2530 โดย ดร.สมชัย บุศราวิช จากโครงการ First PMBC/DANIDA Training course and workshop
on taxonomy, biology and ecology of echinoderms 

และมีการรายงานการพบครั้งล่าสุดในปี 2547 โดย ดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ในรายงาน

ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง, น้ำ, ธรรมชาติ และอาหาร
Putchakarn.S and Sonchaeng.P (2004). Echinoderm Fauna of Thailand:
History and Inventory Reviews. ScienceAsia 30 (2004): 417-428 ทั้งนี้หากใครมีข้อมูลการพบเห็นหรือข้อมูลความรู้เพิ่มเติมสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ใต้คอมเมนท์เลยครับ

ขอบคุณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน - Mu Ko Similan National park

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ