ข่าว

โอกาสทอง 5 คนไทยนำร่อง งานบริบาล ผู้สูงอายุในญี่ปุ่น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โอกาสทอง 5 คนไทยนำร่อง งานบริบาลผู้สูงอายุในญี่ปุ่น ส่งเงินกลับก้อนแรก 3 หมื่นบาท สนุกไปกับงาน ขยัน อดทน เปิดกว้างคนอายุมากหากทักษะพอ

 

19 ตุลาคม 2562ระเทศญี่ปุ่น ถือว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีจำนวนมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก หรือ 40 ล้านคนจากประชากร 127 ล้านคน สวนทางกลับประชากรวัยเด็กและวัยทำงานที่มีจำนวนลดน้อยลง 

 

 

ส่งผลให้ภาครัฐและเอกชน หันมาให้ความสำคััญกับปัญหานี้อย่างจริงจัง แต่กระนั้น อาชีพการดูแลผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น กลับขาดแคลนแรงงานค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นอาชีพที่คนในชาติไม่สนใจนัก เพราะว่ามองว่าเป็นงานค่อนข้างหนักและรายได้ไม่จูงใจมากนัก

 

จากปัจจัยดังกล่าวทางโรงเรียนรามบริรักษ์เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้ทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ร่วมกับสถานพยาบาลอิตาบาชิ ประเทศญี่ปุ่น เปิดสอนหลักสูตรการบริบาลผู้สูงอายุประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งไปทำงานในสถานพยาบาลในประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกต้อง โดยนักเรียนที่จบจากโรงเรียนจะเข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานดูแล และพนักงานช่วยเหลือ มีอัตราค่าจ้างและสวัสดิการเท่ากับพนักงานชาวญี่ปุ่น โดยบริษัทเคโซไค จำกัด เป็นผู้ดูแลประสานสถานที่ทำงาน และมีบริษัท เจเวิร์ค จำกัดดูแลประสานงานระหว่างประเทศ

 

 

โอกาสทอง 5 คนไทยนำร่อง งานบริบาล ผู้สูงอายุในญี่ปุ่น

 

 

ล่าสุด ทางโรงเรียนรามบริรักษ์เชียงใหม่ ได้ส่งนักเรียนชุดแรกจำนวน 5 คน หลังจบหลักสูตรไปทำงาน ยังสถานบริบาลผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น ที่ Special elderly nursing home AIWAEN จำนวน 2 คนและ KIBOUNOMORI 3 คน ที่เมืองโคกะ  จังหวัดอิราบากิ ในระยะเวลาสัญญา 3 ปี โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเดินทางไปทำงานทางสถานบริบาลพยาบาลเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ยกเว้นค่าเรียนที่นักเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง 

 

ส่งเงินกลับก้อนแรก 3 หมื่นบาท

 

นางสาวจันทร์จิรา พนมไพร อายุ 20 ปี สาวน้อยจาก จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นนักเรียน 1 ใน 5 คน ชุดแรกที่ลัดฟ้ามาทำงานบริบาลผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นที่ Special elderly nursing home AIWAEN เล่าว่า หลังจบการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้เข้ามาเรียนที่โรงเรียนรามบริรักษ์เชียงใหม่ พร้อมกับเรียนภาษาญี่ปุ่นไปด้วย โดยมองว่าโอกาสการทำงานในต่างประเทศที่ถูกกฎหมายนั้นยาก เพราะว่ามีเงื่อนไขค่อนข้างมาก ฉะนั้นการเข้ามาเรียนบริบาลแล้วได้ทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น ถือว่าเป็นโอกาสดีประกอบกับประเทศญี่ปุ่นขาดแคลนแรงงานด้านนี้อย่างมาก เพราะคนญี่ปุ่นมองว่าเป็นงานที่หนักและเหนื่อย รวมทั้งไม่เป็นเวลา

 

 

โอกาสทอง 5 คนไทยนำร่อง งานบริบาล ผู้สูงอายุในญี่ปุ่น

 

 

ลักษณะงานที่ต้องทำนั้น ในช่วงเดือนแรก ต้องผ่านการอบรมจากทางประเทศญี่ปุ่นให้ดูวิธีการทำงานอย่างเดียว จากนั้นจึงจะได้ทำงานอย่างจริง ด้วยงานบริบาลของญี่ปุ่น จะแตกต่างกับประเทศไทยอย่างมาก โดยเฉพาะวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย และองค์ความรู้ที่พัฒนาไปไกลกว่าประเทศไทยมาก ฉะนั้นเราจะต้องเพิ่มทักษะตลอดเวลา

 

นางสาวจันทร์จิรา กล่าวว่า ตนมีเป้าหมายจะทำงานให้ครบตามสัญญา 3 ปี จากนั้นค่อยมานั่งทบทวนว่าจะอยู่ทำงานที่ญี่ปุ่นต่อ หรือกลับประเทศไทยไปทำงานผู้ฝึกอบรมงานด้านบริบาล หรืองานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาญี่ปุ่น แต่ในระหว่างทางสถานบริบาล มีสวัสดิการจัดให้มีการเรียนภาษาญี่ปุ่นฟรี สัปดาห์ละ 3 วัน ๆละ 2 ชม.ถือว่าจำเป็นมากเพราะต้องใช้การสื่อสารกับผู้สูงอายุ โดยเดือนแรกสามารถส่งเงินกลับบ้านได้ถึง 3 หมื่นบาท

 

 

“เล่น-สนุก”ไปกับงาน

 

นางสาวพรพนิตตา ต่อพิทักษ์พงษ์ อายุ 32 ปี จากจ.ลำพูน กล่าวว่า หลังจากจบปริญญาตรี วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา(วิทยาเขตภาคพายัพ) ได้ทำงานเป็นฟรีแลนด์ เป็นโปรแกรมเมอร์ เมื่อเห็นโอกาสจึงได้มาเรียนที่โรงเรียนรามบริรักษ์เชียงใหม่ และตัดสินใจเดินทางมาทำงานด้านบริบาลที่ “AIWAEN” 

 

 

โอกาสทอง 5 คนไทยนำร่อง งานบริบาล ผู้สูงอายุในญี่ปุ่น

 

 

ทั้งนี้ แม้ว่าระบบการทำงานค่อนข้างจะเป็นระเบีียบ และกฎเกณฑ์มาก แต่การได้ทำงานเป็นระบบ และเกิดปัญหาน้อย ทำให้ชอบระบบการทำงานแบบนี้ อีกทั้ง ถือว่าเป็นประสบการณ์ในต่างแดนอันล้ำค่า รวมทั้งได้เรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมของญี่ปุ่นด้วย

 

“ทางสถานบริบาลจะอำนวยความสะดวก จัดหาที่พักที่อยู่ไม่ไกล และมีรถจักรยานให้สามารถปั่นมาทำงานได้ โดยระยะเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น แต่ละวันจะทำงานเป็นกะ ๆละ 9 ชม. หรือทำงาน 8 ชม. พัก 1 ชม. ซึ่งผู้สูงอายุที่เข้ามาอยู่ในสถานบริบาลส่วนใหญ่จะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และเป็นอัลไซเมอร์ ครั้งแรกยอมรับว่าเหนื่อยและหนัก แต่คิดว่ามาทำงานเหมือนมาเล่นและสนุกไปกับงาน พร้อมกับปรับตัวและพัฒนาทักษะ"นางสาวพรนิตตา กล่าว

 

เก็บเกี่ยว“งานบริบาล”กลับไทย

 

ด้านนายพสุธร บุญเฉลียว หนุ่มใหญ่ชาวเชียงใหม่ ซึ่งทำงานในสถานบริบาลผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น “KIBOUNOMORI” กล่าวว่า การกระโจนเข้ามาทำงานบริบาลนั้นเนื่องจากพี่สาวรู้จักบุคคลากรในโรงเรียนรามบริรักษ์เชียงใหม่ แนะนำให้มาเรียน ประกอบกับชอบญี่ปุ่นเป็นการส่วนตัว เมื่อทราบว่าเมื่่อจบหลักสูตร จะได้เดินทางไปทำงานที่ญี่ปุ่นและไม่มีครอบครัว จึงตัดสินใจทันที เพราะว่าจะได้สัมผัสกับประเทศที่ตนชื่นชอบมายาวนาน

 

 

โอกาสทอง 5 คนไทยนำร่อง งานบริบาล ผู้สูงอายุในญี่ปุ่น

 

 

โดยตนจะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านงานบริบาลในประเทศญี่ปุ่น ที่ถือว่าเป็นต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เพียบพร้อมด้วยองค์ความรู้ อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เพื่อกลับมาพัฒนางานบริบาลในประเทศไทย ส่วนรายได้แม้ว่าจะไม่ได้มากมายเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ แต่ก็ถือว่ามากกว่าการทำงานในประเทศไทยหลายเท่า

 

เน้นขยัน-อดทน งานฉลุย

 

น.ส.จริยา นำชัยทศพล อายุ 22 ปี จาก อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า หลังจากใช้ชีวิตในญุี่ปุ่นมาสักระยะหนึ่ง เริ่มปรับตัวได้ดี ทั้งการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน โดยเฉพาะการทำงาน มองว่าไม่มีอะไรยากเกินความสามารถของเรา แม้ว่าจะเป็นงานที่หนักและเหนื่อย แต่เราจะต้องใช้ความขยัน อดทน เชื่อว่าจะผ่านพ้นไปได้ จากนี้ไปตนจะต้องตั้งใจเรียนภาษาญี่ปุ่น เพื่อให้ผ่านเงื่อนไข พูดฟังอ่านเขียน ในระดับ N4

 

 

โอกาสทอง 5 คนไทยนำร่อง งานบริบาล ผู้สูงอายุในญี่ปุ่น

 

 

เปิดกว้างคนอายุมากหากทักษะพอ

 

นางสาวณิชารัตน์ เรืองรัตน์ แม่ลูกสอง วัย 52 ปี จากจ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งทำงานที่เดียวกับนายพสุธร และน.ส.จริยา กล่าวว่า ก่อนหน้าทำงานอยู่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส สาขาท่าแพ จ.เชียงใหม่ ก่อนจะเดินทางไปทำงาน Babysister หรือพี่เลี้ยงเด็ก ที่สหรัฐอเมริกา ถึง 4 ปี ก่อนกลับมาอยู่ที่ จ.เชียงใหม่  ด้วยเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว มีลูก 2 คนเรียนกำลังศึกษาอยู่ระดับมหาวิทยาลัย และอายุที่มากขึ้น โอกาสที่จะสถานประกอบการรับเข้าทำงานนั้นค่อนข้างยาก แต่การทำงานในประเทศญี่ปุ่นนั้นเปิดกว้างหากเรามีความสามารถ มีทักษะมากพอก็ทำงานได้

 

“ลักษณะงานจะดูแลผู้สูงอายุตั้งแต่หัวจรดเท้า และสิ่งที่เราจะได้รับคืออย่างแรกเราจะได้ภาษาญี่ปุ่นซึ่งจะต้องใช้ในการสื่อสารตลอดเวลา อย่างที่สอง ได้เรียนรู้วิธีการดูแลผู้สูงอายุอย่างมืออาชีพ และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ในการทำงาน”นางสาวณิชารัตน์ กล่าว

 

 

โอกาสทอง 5 คนไทยนำร่อง งานบริบาล ผู้สูงอายุในญี่ปุ่น

 

 

ตราบใดที่คนญี่ปุ่น มองว่าอาชีพ“บริบาล”ซึ่งดูแลผู้สูงอายุเป็นอาชีพไม่ตรงกับจริต ทำให้การขาดแคลนด้านนี้ยังคงมีอัตราสูง โดยปัจจุบันมีการนำเข้าแรงงานด้านนี้นอกเหนือจากประเทศไทย คือ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลลิปปินส์ ฉะนั้นการนำร่องส่ง 5 คนไทย และจะมีการส่งเพิ่มอีก 5 คนภายในปีนีิ้ ถือว่าเป็นโอกาสทองสำหรับคนไทย ผู้มีจิตใจรักการบริบาลผู้สูงอายุ

 

สุพีร์ สังหรานนท์  รายงาน

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ