ข่าว

แพทย์เตือนพีเอ็ม2.5ส่งผลตับไตทำงานผิดปกติถึงขั้นเสียชีวิต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แพทย์เตือนฝุ่นพีเอ็ม 2.5 และฝุ่นจิ๋วส่งผลต่อตับไต เหตุเล็ดลอดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจได้ ส่งผลให้ยระบบทางเดินหายใจ รวมถึงโรคไตมีภาวะการป่วยเพิ่มมากขึ้น ถึงตาย

 


          วันที่  3 ตุลาคม 2562- รศ.พ.ญ.ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยถึงผลกระทบฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่จะกลับมามีปริมาณสูงในช่วงฤดูหนาวปีนี้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก คนให้ความสนใจระดับประเทศ ปัญหาของฝุ่นพีเอ็ม 2.5 และฝุ่นจิ๋วที่เล็กกว่าพีเอ็ม 2.5 มันน่ากลัว

 

           " เพราะเล็กเกินกว่าขนจมูกและเยื่อบุทางเดินหายใจจะดักจับได้ พอมันหลุดรอดลงไปในส่วนลึก ๆ ในปอดและเข้าไปสู่กระแสเลือดได้ จะทำให้มันสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้เลยและจะไปส่งผลให้เกิดปัญหากับอวัยวะต่าง ๆ พบว่ามีผลต่อหลอดเลือดสมองทำให้เป็นอัมพาตได้เพิ่มขึ้น ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้หัวใจขาดเลือดและทำให้หัวใจวายได้ด้วย" รศ.พ.ญ.ศิริรัตน์ กล่าว

 

แพทย์เตือนพีเอ็ม2.5ส่งผลตับไตทำงานผิดปกติถึงขั้นเสียชีวิต

                                 รศ.พ.ญ.ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย

          รศ.พ.ญ.ศิริรัตน์ กล่าวอีกว่า และที่ไตก็พบว่าคนที่ไปอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นปริมาณมาก ๆ ก็จะทำให้คนที่เป็นโรคไตอยู่แล้วเกิดภาวะไตเสื่อมได้เร็วขึ้น ต้องมานอนโรงพยาบาลมากขึ้น มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไตมากขึ้นเพราะว่าพอมันไปที่ตับที่ไตได้จะทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงไตลดลง ก็จะค่อย ๆ ทำลายเส้นเลือดเล็ก ๆ ที่ไต ก็จะมีผลกับไตได้

 

 

แพทย์เตือนพีเอ็ม2.5ส่งผลตับไตทำงานผิดปกติถึงขั้นเสียชีวิต

           “คนอีสานป่วยเป็นโรคไตสูงเป็นอันดับสองรองจากกรุงเทพฯ และมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมากที่สุดในประเทศไทย แต่สาเหตุส่วนใหญ่ยังคงมาจากเบาหวาน ความดัน แต่มีอีกกลุ่มหนึ่งเกือบ 1 ใน 3 ของคนที่เป็นโรคไต ที่ไม่รู้สาเหตุว่าเกิดจากอะไร แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศโดยตรงไหม เพราะอาจจะมีเหตุอื่น ๆ อีกที่รอการพิสูจน์ แต่เรื่องของคุณภาพอากาศที่แย่กับเรื่องโรคไตมีรายงานของต่างประเทศที่มีการติดตั้งระบบตรวจวัดปริมาณฝุ่นพีเอ็ม 2.5 และเอาไปตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นเยอะ ๆ จะพบว่าคนป่วยโรคไต จะมีสภาพที่แย่ลง ไตเสื่อมเร็ว และต้องนอนโรงพยาบาล อัตราการเสียชีวิตมากกว่าคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ปริมาณฝุ่นน้อยกว่า" รศ.พ.ญ.ศิริรัตน์ กล่าว

 

 

           รศ.พ.ญ.ศิริรัตน์  กล่าวอีกว่า ซึ่งข้อมูลที่มีจะอยู่ในระดับของเชิงระบาดวิทยาของคนกลุ่มใหญ่ ๆ ที่เราไปดูว่าเขาอาศัยอยู่ตรงไหน และอีกอย่างมีการทำในสัตว์ทดลองเช่นหนูที่เอามาทดลองหายใจในอากาศที่มีการปนเปื้อนฝุ่น พบว่าฝุ่นจิ๋วสามารถหลุดเข้าสู่กระแสเลือดไปโผล่ที่ไตที่ตับได้แต่ในคนเราไม่สามารถเอาคนมาทดลองได้ จึงไม่สามารถระบุได้ชัดเจน แต่ในเชิงระบาดวิทยาและสัตว์ทดลองมีผลการศึกษาออกมาชัดเจนแล้ว จึงได้ให้คนไข้เฝ้าระวังเรื่องผู้ป่วยโรคไตกับฝุ่นจิ๋ว

 

 

แพทย์เตือนพีเอ็ม2.5ส่งผลตับไตทำงานผิดปกติถึงขั้นเสียชีวิต

 

           รศ.พญ.ศิริรัตน์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของพีเอ็ม 2.5 ที่เข้าบ้านเราจะมีมากในฤดูหนาว ให้เฝ้าระวังโดยสาเหตุใหญ่ ๆ คือเรื่องของการเผาไหม้และเรื่องของสภาพอากาศ เราต้องดูแลและป้องกันตัวเองถ้าเราทุกคนมีส่วนร่วมในสิ่งแวดล้อมได้ เช่นการใช้รถ น้ำมันดีเซลน้อยลง รถเก่าเราก็ไปตรวจซ่อม และไม่เผาป่าไม่เอาอ้อย ไม่จุดธูปในพิธีกรรมต่าง ๆ การแจ้งเตือนสำหรับคนป่วยที่มาเจอภาวะฝุ่นพิษแบบนี้

 

แพทย์เตือนพีเอ็ม2.5ส่งผลตับไตทำงานผิดปกติถึงขั้นเสียชีวิต

 

 

แพทย์เตือนพีเอ็ม2.5ส่งผลตับไตทำงานผิดปกติถึงขั้นเสียชีวิต

           รศ.พญ.ศิริรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในส่วนของพีเอ็ม 2.5 ที่เข้าบ้านเราจะมีมากในฤดูหนาว ให้เฝ้าระวังโดยสาเหตุใหญ่ กลุ่มที่เสี่ยงที่เราต้องระวังเยอะ ๆ คือ หญิงตั้งครรภ์ คนแก่ เด็ก หรือคนทำงานกลางแจ้ง รปภ.คนทำงานก่อสร้าง และคนเป็นโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต ปอด ถุงลมโป่งพอง หอบหืด พอเราศึกษาททางระบาดวิทยาเยอะ ๆ ก็พบว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีความเสี่ยงเพิ่ม เบาหวานก็เสี่ยงเพิ่ม โรคเรื้อรังละเลยไม่ได้เลย ต้องใส่หน้ากากที่มีประสิทธิภาพที่ลดฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ได้มากกว่าหน้ากากอื่นคือหน้ากากเอ็น95 ที่สามารถป้องกันฝุ่นขนาดได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ เพียงแต่ว่าเวลาใส่ต้องใส่ให้ถูกวิธีแต่ใส่นานจะอึดอัดต้องใช้ให้เป็น และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งในช่วงที่อากาศแย่ เพื่อป้องกันอันตรายจากฝุ่นพีเอ็ม 2.5

 

   ขอนแก่น- ข่าวโดย  สุมาลี สุวรรณกร /ภาพโดย  พรพรรณ เพ็ชรแสน

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-ทำไมฝุ่นพิษ..ทำให้มองเห็น เมืองอินโดฯท้องฟ้าสีแดง
-ฝุ่นพิษข้ามพรมแดน
-วิกฤติอีกรอบฝุ่น 2.5 ปกคลุมกรุงเทพ-ปริมณฑล
-กทม.เฝ้าระวังตรวจวัดฝุ่นละออง PM2.5 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ