ข่าว

แรงงานบุกพบ"หม่อมเต่า"ทวงขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แรงงานบุกพบ"หม่อมเต่า"ทวงขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ขอทราบนโยบายด้านแรงงาน

 

1 สิงหาคม 2562 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เพื่อขอทราบนโยบายด้านแรงงาน ทั้งในด้านประกันสังคม รวมถึงการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามที่รัฐบาลได้หาเสียงไว้  

 

โดยมองว่าการปรับขึ้นค่าจ้างนั้นมีความจำเป็น ซึ่งรัฐบาลจะทยอยปรับหรือจะขึ้นเท่าไรนั้นขอให้คำนึงถึงปากท้องของแรงงานด้วย โดยยืนยันข้อเสนอให้ปรับขึ้นเท่ากันทั้งประเทศ เนื่องจากขณะนี้ราคาสินค้าได้ปรับขึ้นไปแล้ว 
         

พร้อมกันนี้ได้ยื่นข้อเสนอเร่งด่วนเพิ่มเติม โดยเฉพาะประเด็นประกันสังคม ให้รัฐต้องจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมชุดใหม่แทนชุดเก่าที่ลาออกเป็นกรณีเร่งด่วน โดยต้องเลือกผ่านตัวแทนองค์กรผู้ประกันตน 50 คนต่อ 1 เสียง และให้ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคมให้เป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตลอดจนให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม 
           

นอกจากนี้ การจายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมต้องจ่ายในสัดส่วนที่เท่ากัน ระหว่างรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง ตามหลักการของ พรบ. ประกันสังคม พศ. 2533 และนำส่งเงินสมทบที่รัฐบาลค้างจ่ายให้เต็มตามจำนวน  รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน ดังนี้  สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนกัน / เพิ่มเงินสิทธิประโยชน กรณีชราภาพ50 % ของงินเดือนสุดท้าย / ขยายกรอบระยะเวลาและเพดานการรักษาทั้งกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมจนสิ้นสุดการรักษาและให้ครอบคลุมการักษาทุกโรค ยกเว้นเป็นการศัลยกรรมตกแต่ง / 
         

เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรจาก 600 บาท เป็น 1,000 บาท และขยายอายุจาก 6 ปีเป็น 10 ปี / กรณีส่งเงินสมทบครบ 1 ปีให้ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลตลอดชีวิต / กรณีการขยายเวลาสิ้นสุดการเกษียณอายุจาก 55 เป็น 60 ปี ตามกภูหมายคุ้มครองแรงงานผู้ประกันตน / ส่วนสิทธิจาก 55 ถึง 60 ปี ให้เป็นภาคสมัครใจหรือเป็นไปตามทางเลือกที่ตกลงกัน / การได้สิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคมจะต้องไม่ตัดสิทธิตามกฎหมายอื่น  

 

ส่วนประเด็นการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ  รัฐต้องดำเนินการปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชนเป็นกรณีเร่งด่วน / รัฐต้องดำเนินการควบคุมราคาสินค้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพไม่ให้แพงเกินจริงสอดคล้องกับการปรับค่าจ้าง / รัฐต้องกำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้างและปรับค่าจ้างทุกปี ตามสภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นและครอบคลุมลูกจัาง ทุกสาขาอาชีพ

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ