ข่าว

พระสงฆ์ต่างชาติ เข้ารับพระราชทานพัดยศ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา เลื่อนและแต่งตั้งสมณศักดิ์พระเถระ ขณะที่ 4 พระสงฆ์ต่างชาติ เข้ารับพระราชทานพัดยศ

 

          เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นิมนต์เข้ารับพระราชทานสถาปนา เลื่อน และแต่งตั้งสมณศักดิ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ 28 กรกฎาคม 2562 ซึ่งมีพระเถระทั้งหมด 74 รูป ดังนี้

 

1.พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา/สาทร/กรุงเททฯ เป็น สมเด็จพระมหาธีราจารย์

2.พระสาสนโสภณ วัดโสมนัส/ป้อมปราบฯ/กรุงเทพฯ เป็น สมเด็จพระมหามุนีวงศ์

3.พระพรหมมุนี วัดราชบพิธฯ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

4.พระพรหมมังคลาจารย์ วัดไตรมิตรฯ/สัมพันธวงศ์/กรุงเทพฯ เป็น สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี

5.พระธรรมโสภณ วัดสุทธจินดา/เมืองนครราชสีมา เป็น พระสาสนโสภณ

6.พระธรรมเสนานุวัตร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ/เมืองพิษณุโลก เป็น พระพุทธิวงศมุนี

7.พระธรรมรัตนดิลก วัดสุทัศนเทพวราราม/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระวิสุทธาธิบดี

8.พระธรรมเจติยาจารย์ วัดพระศรีมหาธาตุ/บางเขน/กรุงเทพฯ เป็น พระพรหมมุนี

9.พระธรรมมงคลญาณ วัดธรรมมงคลเถาบุญนนทวิหาร/พระโขนง/กรุงเทพฯ เป็น พระพรหมมงคลญาณ

10.พระเทพประสิทธิโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส/ป้อมปราบฯ/กรุงเทพฯ เป็น พระธรรมโสภณ

 

11.พระเทพสุธี วัดศรีสุริยวงศาราม/ราชบุรี เป็น พระธรรมวุฒาจารย์

12.พระเทพเมธี วัดอรุณราชวราราม/บางกอกใหญ่/กรุงเทพฯ เป็น พระธรรมรัตนดิลก

13.พระเทพวิสุทธิญาณ วัดอนาลโยทิพยาราม/เมืองพะเยา เป็น พระธรรมวิสุทธิญาณ

14.พระเทพรัตนสุธี วัดเขียนเขต/ธัญบุรี/ปทุมธานี เป็น พระธรรมรัตนาภรณ์

15.พระเทพวีราภรณ์ วัดพระเชตุพนฯ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระธรรมรัตนากร

16.พระราชประสิทธิวิมล วัดระฆังโฆสิตาราม กท. เป็น พระเทพประสิทธิคุณ

17.พระราชญาณปรีชา วัดราชาธิวาส/บางกอกน้อย/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพวิสุทธิญาณ

18.พระราชรัตนกวี วัดมหาธาตุ/เมืองยโสธร เป็น พระเทพวงศาจารย์

19.พระราชเจติยาจารย์ วัดเจดีย์หลวง/เมืองเชียงใหม่ เป็น พระเทพวุฒาจารย์

20.พระราชปริยัติโสภณ วัดหนองกุง/น้ำพอง/ขอนแก่น เป็น พระเทพวิสุทธิคุณ

 

21.พระราชคุณาภรณ์ วัดภูมินทร์/เมืองน่าน เป็น พระเทพนันทาจารย์

22.พระราชสิทธิมุนี วัดมหาธาตุฯ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพวิสุทธิมุนี

23.พระราชรัตนสุธี วัดชนะสงคราม/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพรัตนสุธี

24.พระราชธรรมสุธี วัดเกตการาม/บางคนที/สมุทรสงคราม เป็น พระเทพสุเมธี

25.พระราชวิสุทธิเมธี วัดไชยชุมพลชนะสงคราม/เมืองกาญจนบุรี เป็น พระเทพปริยัติโสภณ

26.พระราชโสภณ วัดราษฎร์บำรุง/บางแค/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพญาณโสภณ

27.พระราชศิริธรรมเมธี วัดคูหาสวรรค์/เมืองพัทลุง เป็น พระเทพปริยัติคุณ

28.พระราชวรมุนี วัดสังเวชวิศยาราม/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพเวที

29. พระราชศาสนกิจโสภณ วัดเสมียนนารี/จตุจักร/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพวรสิทธาจารย์

30.พระราชปริยัติเมธี วัดสุวรรณภูมิ/เมืองสุพรรณบุรี เป็น พระเทพปริยัติกวี

 

31.พระราชสีมาภรณ์ วัดบึง/เมืองนครราชสีมา เป็น พระเทพสีมาภรณ์

32.พระราชวรเมธี วัดประยุรวงศาวาส/ธนบุรี/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพปวรเมธี

33.พระราชสุเมธาจารย์ วัดอมราวดี/กรุงลอนดอน/สหราชอาณาจักร เป็น พระเทพญาณวิเทศ

34. พระศรีสุธรรมโมลี วัดโมลีโลกยาราม/บางกอกใหญ่/กรุงเทพฯ เป็น พระราชปริยัติบดี

35.พระพิศาลสารคุณ วัดศรีจันทร์/เมืองขอนแก่น เป็น พระราชวุฒาจารย์

36.พระวินัยโกศล วัดศรีอุบลรัตนาราม/เมืองอุบลราชธานี เป็น พระราชธรรมสุธี

37.พระศรีวิสุทธิคุณ วัดศาลาลอย/เมืองสุรินทร์ เป็น พระราชวิมลโมลี

38.พระศรีปริยัติโมลี วัดราชนัดดาราม/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระราชศิริธรรมเมธี

39.พระโสภณคณาภรณ์ วัดบวรนิเวศ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระราชญาณปรีชา

40.พระศรีรัตนมุนี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ/เมืองพิษณุโลก เป็น พระราชรัตนสุธี

 

41.พระสุทธิสารเมธี วัดโพธิสมภรณ์/เมืองอุดรธานี เป็น พระราชสารโกศล

42.พระวิบูลธรรมภาณ วัดสัมมาธัญญาวาส/คลองสามวา/กรุงเทพฯ เป็น พระราชธรรมกวี

43.พระสิริธรรมราชมุนี วัดมะนาวหวาน/ช้างกลาง/นครศรีธรรมราช เป็น พระราชสิริธรรมมงคล

44.พระศรีธรรมประสาธน์ วัดพระมหาธาตุ/เมืองนครศรีธรรมราช เป็น พระราชวิสุทธิกวี

45.พระศรีมุนีวงศ์ วัดธาตุทอง/วัฒนา/กรุงเทพฯ เป็น พระราชบัณฑิต

46.พระพิศาลปริยัตยาภรณ์ วัดหาดใหญ่สิตาราม/หาดใหญ่/สงขลา เป็น พระราชปริยัติธาดา

47.พระศากยปุตติยวงศ์ วัดอรุณราชวราราม/บางกอกใหญ่/กรุงเทพฯ เป็น พระราชมหาเจติยาภิบาล

48.พระปัญญารัตนาภรณ์ วัดชัยมงคล/บางละมุง/ชลบุรี เป็น พระราชสารโสภณ

49.พระโพธิญาณวิเทศ วัดป่าอภัยคีรี/รัฐแคลิฟอร์เนีย/สหรัฐอเมริกา เป็น พระราชโพธิวิเทศ วิ.

50.พระวิเทศพุทธิคุณ วัดอมราวดี/กรุงลอนดอน/สหราชอาณาจักร เป็น พระราชพุทธิวรคุณ วิ.

 

51.พระฌอน ซิเวอร์ตัน สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี/ปากช่อง/นครราชสีมา เป็น พระราชพัชรมานิต วิ.

52.พระครูปลัดสัมพิพัฒนเมธาจารย์(อภิญญา) วัดราชบพิธ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระมหาคณิศร สย.

53.พระครูธรรมาธิการ(สุรินทร์) ธ. วัดราชบพิธ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระจุลคณิศร สย.

54.พระมหาโดม ป.ธ.9 ธ. วัดศรีเทพประดิษฐาราม/เมืองนครพนม เป็น พระศรีวิสุทธินายก สป.

55. พระครูกิตติวีรวัฒน์ (วงศ์ศักดิ์) ธ. วัดป่าสุเมฆนันทาราม/พรเจริญ/บึงกาฬ เป็น พระวิบูลธรรมภาณ สย.

56.พระครูกันตธรรมานุวัฒน์(สุขเลิศ) ธ. วัดบ้านเหล่า/เวียงเชียงรุ้ง/เชียงราย เป็น พระสิริวัฒโนดม สย. วิ.

57.พระมหาจันทร์ ป.ธ.8 วัดขันเงิน/หลังสวน/ชุมพร เป็น พระสิริปริยัติวงศ์ สป.

58.พระครูศรีกิตติคุณ(สุทธิพล ป.ธ.7) ธ วัดจรณาราม/เขาชัยสน/พัทลุง เป็น พระศรีธรรมประสาธน์ สป.

59.พระครูศรีประจันตคณารักษ์ (สมทรง ป.ธ.3) วัดดอนบุปผาราม/ศรีประจันต์/สุพรรณบุรี เป็น พระศรีประจันตคณาภิบาล สป.

60.พระครูธรรมวินยาลังการ(ธัญญวัฒน์) ธ. วัดเสนหา/เมืองนครปฐม เป็น พระวินัยโกศล สย.

 

61.พระครูอนุกูลวิมลกิจ (ทองย้อย) วัดเขาวัง/เมืองราชบุรี เป็น พระภาวนาวิหารกิจ สย.วิ.

62.พระมหาวุฒิชัย ป.ธ.9 วัดพระสิงห์/เมืองเชียงราย เป็น พระเมธีวชิโรดม สป.

63.พระมหาไชยวัฒน์ ป.ธ.7 ธ. วัดบวรนิเวศ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระโสภณคณาภรณ์ สป.

64.พระมหาถวิล ป.ร.7 ธ. วัตบรมนิวาส/ปทุมวัน/กรุงเทพฯ เป็น พระศรีวรคุณ สป.

65.พระครูปลัดสัมพิพัฒนปัญญาจารย์ (ชนพัฒน์ ป.ธ.6) วัดปากน้ำ/ภาษีเจริญ/กรุงเทพฯ เป็น พระอมรเมธี สป.

66.พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ (ชัยยันต์ ป.ธ.5) ธ. วัดบุรณศิริมาตยาราม/พระนคร/กรุงเหพฯ เป็น พระสุทธิสารเมธี สป.

67.พระครูพิสิฏฐ์กิจจาภิรม (วรนัยน์ ป.ธ.3) วัดใหญ่อินทาราม/เมืองชลบุรี เป็น พระชัยสิทธิสุนทร สป.

68. พระครูสิริภาวนาภิรม (ชอบ ป.ธ.5) วัดพิชโสภาราม/เขมราฐ/อุบลราชธานี เป็น พระภาวนาสุตาภิรัต สป.วิ.

69.พระครูมงคลสุตาภรณ์ (อำนวย ป.ธ.4) วัดชัยชนะสงคราม/หาดใหญ่/สงขลา เป็น พระภาวนาสตาจารย์ สป.วิ.

70.พระครูปภัสสรวรพินิจ (ไพโรจน์) วัดห้วยมงคล/หัวหิน/ประจวบคีรีขันธ์ เป็น พระพิศาลสิทธิคุณ สย.

 

71.พระครูเมตตาวิหารคุณ (หองคำ) วัดบึงบาประภาสะวัด/หนองเสือ/ปทุมธานี เป็น พระเมตตาวิหารี สย.

72.พระครูวิจิตรชยานุรักษ์ (พร้า) วัตโคกดอกไม้/สรรคบุรี/ชัยนาท เป็น พระมงคลวิจิตร สย.

73.พระครูปลัด ปารมี วัดพระธาตุผาช่อนแก้ว/เขาค้อ/เพชรบูรณ์ เป็น พระภาวนาวชิรปราการ สย.วิ.

74. พระอธิการพบโชค วัดห้วยปลากั้ง/เมืองเชียงราย เป็น พระไพศาลประชาทร สย.วิ.

 

โดยมี พระชาวต่างชาติ 4 รูป ที่ได้เลื่อนสมณศักดิ์ คือ

1.พระราชสุเมธาจารย์ วัดอมราวดี/กรุงลอนดอน/สหราชอาณาจักร เป็น พระเทพญาณวิเทศ

2.พระโพธิญาณวิเทศ วัดป่าอภัยคีรี/รัฐแคลิฟอร์เนีย/สหรัฐอเมริกา เป็น พระราชโพธิวิเทศ วิ.

3.พระวิเทศพุทธิคุณ วัดอมราวดี/กรุงลอนดอน/สหราชอาณาจักร เป็น พระราชพุทธิวรคุณ วิ.

4.พระฌอน ซิเวอร์ตัน สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี/ปากช่อง/นครราชสีมา เป็น พระราชพัชรมานิต วิ.

 

CR -  ขอบคุณภาพจาก Apple Shutintorn Daoruang

 

พระสงฆ์ต่างชาติ เข้ารับพระราชทานพัดยศ

 

 

พระสงฆ์ต่างชาติ เข้ารับพระราชทานพัดยศ

 

พระสงฆ์ต่างชาติ เข้ารับพระราชทานพัดยศ

 

พระสงฆ์ต่างชาติ เข้ารับพระราชทานพัดยศ

 

พระสงฆ์ต่างชาติ เข้ารับพระราชทานพัดยศ

 

สำหรับประวัติของพระราชพัชรมานิต วิ.

พระราชพัชรมานิต (ฌอน ชิเวอร์ตัน ชยสาโร) มีนามเดิมว่า ฌอน ชิเวอร์ตัน ฉายา ชยสาโรภิกขุ แต่สำหรับตัวท่านเองออกจะคุ้นหูกับคำว่า "พระฝรั่ง" มากกว่าพระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ แห่งสถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี จังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้มีศรัทธาในพลังแห่งพุทธศาสนา จนได้ชื่อว่าเป็นพระฝรั่งที่ถ่ายทอดความลึกซึ้งทางธรรมฉบับภาษาไทยได้สละสลวย และเป็นที่ประทับใจต่อพุทธศาสนิกชนทั่วโลก

 

แม้ว่าท่านจะได้ปฏิบัติมาบ้างเมื่ออยู่กับพระอาจารย์สุเมโธมาแล้วก็ตาม แต่หลวงพ่อชาก็ยังไม่บวชให้ ท่านรับการฝึกฝนเคี่ยวเข็ญด้วยอุบายต่าง ๆ จากหลวงพ่อชา ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อหลวงพ่อชาถามว่า อยากบวชไหม หากบอกว่า อยาก ท่านก็จะตอบว่า ยังไม่ให้บวช จนกว่าจะตอบว่า " แล้วแต่หลวงพ่อ " ท่านจึงได้บวช เมื่อ พ.ศ. 2523 โดยอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดหนองป่าพง โดยมีพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) เป็นพระอุปัชฌาย์

 

ก่อนเดินทางมาประเทศไทย ท่านได้ตั้งใจว่าจะอยู่ที่วัดหนองป่าพง ให้ครบ 5 ปี โดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อศึกษาปฏิบัติธรรม เมื่อมาพบหลวงพ่อชา ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาและความเป็นครูที่มีทั้งเมตตา และปัญญาในการสอนอย่างลึกซึ้ง จึงสามารถทนต่อความยากลำบากในการปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตแบบพระวัดป่า ที่เข้มงวดในวินัย และการฝึกปฏิบัติตามรอยพระพุทธเจ้า และการอยู่ร่วมกับคณะสงฆ์ชาวไทยจนเกิดความก้าวหน้าและเบิกบานในธรรม แนวการสอนของหลวงพ่อชาเน้นการปฏิบัติการรักษาศีล และข้อวัตรปฏิบัติ ความอดทน ความเพียร การใคร่ครวญหลักธรรม และน้อมมาสู่ใจให้เฝ้าสังเกตจนรู้ทันอารมณ์ของตนเอง และสามารถใช้สติปัญญาในการสร้างประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นพร้อมกันไป ทำให้ท่านผูกพันกับหลวงพ่อชามาก

 

เหตุที่เลือกยึดหลักเถรวาท เพราะท่านมีความตั้งใจ ต้องการจะทุ่มเทกาย ถวายชีวิตให้กับพระพุทธศาสนา เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานและที่ชอบฝ่ายเถรวาท เพราะถูกจริต ตรงไปตรงมา ไม่มีพิธีรีตองมากมายเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เข้ามาเกี่ยวกับกาย กับใจ กับทุกข์ การที่จะอยู่กับป่ากับ ธรรมชาติ อย่างที่สาวกพระพุทธเจ้าเคยปฏิบัติในสมัยพุทธกาล

 

แม้ว่าท่านจะเป็นชาวต่างชาติแต่เรื่องภาษาไม่ใช่อุปสรรค เพราะท่านเชื่อว่าภาษาพื้นฐาน คือบาลีสันสกฤต ซึ่งทั้งคนไทยและต่างชาติก็ต้องเริ่มมาเรียนรู้เหมือนกัน ภาษามีความยากพอกัน แต่คนไทยอาจจะง่ายกว่าที่ศัพท์ไทยมีบาลีสันสกฤต ท่านจึงต้องพยายามและขยันมากหน่อย แต่ก็ไม่นาน โดยท่านใช้วิธีการท่องตัวอักษรจนกระทั่งอ่านได้ จากนั้นก็อยู่คนเดียว ค่อยๆ อ่าน ดูศัพท์ในดิกชันนารี อีกทั้งอยู่กับครูบาอาจารย์ ไม่ได้เรียนทฤษฎีอะไรมากมาย ก็ปฏิบัติไปด้วย มีการพิสูจน์ไปด้วย ได้ปรึกษาหารือกับครูบาอาจารย์ ได้อ่านได้ฟัง พูดคุยกับพระด้วยกัน ทั้งหมดเป็นชีวิตของท่าน ท่านเองก็ต้องคลุกคลีกับสิ่งนี้อยู่แล้วจึงไม่ยากเท่าไร

 

ปัจจุบันพระอาจารย์ชยสาโรพำนักอยู่ ณ สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย
 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ