ข่าว

ส่องสาระฯ ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สมาคมนักข่าวฯจัดเสวนา "ส่องสาระประเด็นร้อน ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่34" อุศนาย้ำไทยผลักดันแก้ปัญหาขยะทะเลรูปธรรม ลบชื่อพ้นลิสต์กลุ่มประเทศปล่อยขยะทะเลมากในโลก

 

               วันที่ 16 มิ.ย.62 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 10.00 น. สมามคมฯจัดราชดำเนินเสวนา หัวข้อ "ส่องสาระประเด็นร้อน ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34" โดยมี น.ส.อุศนา พีรานนท์ รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และนายกวี จงกิจถาวร สื่ออิสระและผู้เชี่ยวชาญอาเซียน เป็นวิทยากร ร่วมบรรยาย

 

 

 

               โดย น.ส.อุศนา พีรานนท์ รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวเปิดถึงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 (ASEN Summit) ระหว่างวันที่ 22-23 มิ.ย.62 ที่ปีนี้ประเทศไทย เป็นประธานอาเซียนว่า หัวใจหลักในการเป็นปนะธานอาเซียนก็เป็นไปตามแนวคิดหลักคือ ความร่วมมือ ความยั่งยืน จนนำมาสู่เป้าหมายการประชุมอาเซียนที่ว่า "ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน" เพื่อเป็นการวางรากฐานในอีกครึ่งศตวรรษ 50 ปีข้างหน้าให้กับประชาชนกลุ่มอาเซียนได้อยู่อย่างสงบสุข มีความมั่นคงทั้งด้านการเมือง , เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมและมนุษย์ อย่างยั่งยืน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยการประชุมสุดยอดอาเซียนในอีก 7 วันข้างหน้าที่ไทยเป็นประธานอาเซียนนั้น ในการประชุมจะมีจะหารือร่วมกับ 10 รัฐมนตรีประเทศที่จะมุ่งประเด็นจัดการข้อตกลงต่างๆ ที่จะให้เกิดความเชื่ิอมโยงกันทั้งการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และกฎหมาย กฎระเบียบที่จะสร้างความสะดวกและความปลอดภัยให้กับกลุ่มประเทศอาเซียน และกลุ่มประเทศคู่เจรจาที่มีปฏิสัมพันธ์กันก็ยังได้รับประโยชน์ด้วย ซึ่งสิ่งที่เราจะเห็นในการประชุมก็จะมีทั้งผู้นำและรัฐมนตรี 10 ประเทศ , สมัชชารัฐสภาอาเซียน ที่ถือป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง ที่เป็นหุ้นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ความร่วมมืออาเซียนเป็นไปตามข้อตกลงกติกาเพราะสุดท้ายเมื่ออาเซียนมีข้อตกลงอย่างไรแล้วก็ต้องไปให้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ดังนั้นจึงเชิญประธานรัฐสภาแต่ละประเทศมาพบและหารือกับผู้นำอาเซียน , ผู้นำเยาวชนอาเซียน 20 คนที่มาจากการคัดเลืิอกเยาวชนชาย-หญิงแต่ละประเทศ , สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจอาเซียน (ASEN-BAC) ที่มีตัวแทนนักธุรกิจ กลุ่มสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแต่ละประเทศร่วมอยู่ โดยความร่วมมือร่วมใจเน้นการดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ซึ่งปีนี้ประเทศไทยยังคงสนับสนุนสานต่อเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ และเมืองอัจฉริยะ

               ส่วนคำว่า "ยั่งยืน" นั้นจะเน้นในทุกมิติของ 3 เสาประชาคมอาเซียน ทั้งความมั่นคง , เศรษฐกิจ , สังคมวัฒนธรรม แง่ความมั่นคงก็สรุปผลช่วง 6 เดือนแรกในฐานะที่ไทยเริ่มเป็นประธานอาเซียน ที่ไทยได้จัดประชุมเรื่องความมั่นคงไซเบอร์ไปแล้ว , เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็จัดประชุมไปแล้วเรื่องต่อต้านการค้าสัตว์ป่าและเรื่องนี้จะได้นำผลลัพธ์มาเสนอให้ผู้นำ 10 ประเทศรับทราบด้วยในการประชุมสุดยอดอาเซียนด้วย , เรื่องที่กระทรวงมหาดไทยแบะกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมจัดการประชุมการบริหารจัดการชายแดน ก็จะเสนอให้ที่ประชุมรับทราบด้วยก่อนจะมีการเสนอออกมาเป็นเอกสารสำคัญ ซึ่งเรื่องนี้ประเทศไทยให้ความสำคัญมาก ตามลักษณะแผนที่เราเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเมื่ิอเราสนับสนุนในการเชื่ิอมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างกลุ่มอาเซียนทั้งทางบก ทางอากาศ เราก็มาเป็น HUB ศูนย์กลาง พร้อมกับการเปิดประตูให้คน เคลื่อนย้ายกันได้อย่างสะดวกเสรี ดังนั้นจะดูว่าทำอย่างให้การเคลื่อนย้ายนั้นอำนวยความสะดวกต่อการลงทุน การค้า การเดินทางของนักท่องเที่ยวอย่างเสรีมากขึ้น จะก่อให้เกิดผลเสียกับเรา และไม่เปิดช่องให้เกิดเป็นอาชญากรรมข้ามชาติใช้ประโยชน์จากเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งจะต้องมีการควบคุมให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยควบคู่กับการอำนวยความสะดวก

               ด้านเศรษฐกิจ ก็พูดถึง "ดิจิตอลอาเซียน" ด้วย ที่จะวางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอล การเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ต สร้างความร่วมมือด้านประเด็นกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆให้เชื่อมโยงกันได้ เช่น การค้าข้ามแดนโดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ตบางประเทศหากไม่พอใจสินค้าส่งคืนและได้รับเงินคืนได้ แต่บางประเทศไม่เป็นเช่นนั้นขายแล้วขายเลยซึ่งการสร้างความั่นคงทางเศรษฐกิจดิจิตอลจะอำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้ประกอบการค้า , นักธุรกิจ และผู้บริโภค จากการดูแลจัดด้านกฎหมายรองรับที่ชัดเจนเหมาะสม เชื่อมโยงกันได้ รวมทั้งการจัดการกฎหมาย กฎระเบียบเรื่องความมั่นคงทางไซเบอร์ที่จะไม่ให้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นภัยคุกคามบุคคลอื่น เพราะในโลกไซเบอร์ไม่มีตัวตนชัดเจนทุกคนเป็นนักเลงคีย์บอร์ดได้ โพสต์ตำหนิใคร ปล่อยข่าวที่ไม่ถูกต้องซึ่งบางประเทศการตรวจสอบยังเป็นไปได้ยากดังนั้นต้องมีการคุ้มครองผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ด้วยการการ สร้างจิตสำนึกและความตระหนักรู้กับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ไม่ให้เกิดเป็นช่องทางสำหรับกลุ่มก่อการร้ายในการระดมคน คัดเลือกคน เข้ามาสู่องค์กรแล้วเผยแพร่แนวคิดที่เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ เราก็ร่วมมือกันทำให้การสร้างดิจิตอลอาเซียนนำมาสร้างประโยชน์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่จะช่วยให้กลุ่มผู้ค้ารายย่อยค้าขายได้มากขึ้น ขยายตลาดเข้าสู่ตลาดโลกได้ และให้ทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกันอยู่อย่างยั่งยืนสงบสุข

 

 

ส่องสาระฯ ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34

 

 

               ส่วนแนวคิด "การเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ" ในเส้นทางคมนาคมต่างๆ นั้น ก็เห็นจากดูแนวคิดด้านคมนามคมเส้นทางสายไหมของประเทศจีน และโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพของประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งรูปแบบการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคของประเทศสหรัฐฯ โดยอาเซียนเองก็มีแผนงานหลักในการเชื่อมโยงในภูมิภาค ค.ศ.2025 หรือ MPACT 2025 ที่จะเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมไร้รอยต่อกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งการประชุมอาเซียนปีนี้ก็พยายามจะทำให้ทุกส่วนเกื้อหนุนซึ่งกันแบะกัน สร้างประโยชน์ให้ทุกประเทศในภาพรวมไม่ว่าจะอยู่ในประเทศอินเดีย , จีน , ไทย , ฟิลิปปินส์ , มาเลเซีย เช่นตอนนี้ก็มีเส้นทางรถไฟเชื่อมจากประเทศสิงคโปร์ ไปยังคุณหมิง ประเทศจีน ส่วนจีนก็เชื่อมโยงต่อไปจนถึงยุโรปตะวันออก ตอนนี้เข้าใจว่าไปถึงประเทศโปแลนด์แล้ว โดยการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมไร้รอยต่อจะสร้างคุณค่าอย่างมากในช่องทางขนส่งสินค้าที่จะทำได้ทั่วถึง กว้างขวางขึ้น เร็วขึ้น ประหยัดขึ้นและมีความคุ้มค่า โดยการขนส่งด้วยรางและรถไฟจะสร้างความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดคุ้มค่า เพราะช่องทางอื่นอย่างการบินแม้จะเร็วแต่ก็จะมีค่าใช้จ่คายแพง ดังนั้นการสร้างความเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมแบบไร้รอยต่อจะเป็นการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังจะมีการพูดถึงความเป็นแกนกลางของอาเซียน คือการที่ประเทศต่างๆ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับเรา อาเซียนควรจะสามารถมีสิทธิมีเสียงพูดหรือสื่ออะไรออกมาได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ภูมิภาคต้องการ เป็นการชี้นำและสนับสนุนสิ่งที่เป็นประโยชน์กับภูมิภาค เช่นการเข้ามาร่วมประชุมเวทีอาเซียน +3 หรือการประชุมสุดยอดอาเซียนตะวันออก ที่จะเป็นเชิงสัญลักษณ์ของการที่อาเซียนจะเป็นแกนกลาง

               รองอธิบดีกรมการค้าอาเซียน ยังกล่าวอีกว่า ขณะที่ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ ผลลัพธ์ที่จะมีก็คือ จะมีการเสนอเอกสาร 17 ฉบับให้ผู้นำประเทศกลุ่มอาเซียนร่วมกันรับรอง หรือให้ความเห็นชอบ หรือเพื่อทราบทั้งกรอบความร่วมมือ เรื่องแผนงานเชื่อมโยง ซึ่งจำนวนนั้นจะมี 4 ฉบับที่จะให้ความรับรองในระดับสูงสุด คือ 
1.วิสัยทัศน์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน จะเป็นการแปลวิสัยทัศน์ของไทยที่เป็นประธานอาเซียน ในแง่ความมั่นคงที่ยั่งยืน เราจะทำอะไรบ้างด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ รวมทั้งเรื่องมนุษย์

               2. "เครือข่ายสมาคมอาเซียน" เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่ิองอาเซียน ที่ไทยดำเนินการมา2 ปีแล้ว คือการมี "สมาคมอาเซียนแห่งประเทศไทย" ที่ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐ เป็นเหมือนแขน-ขา ช่วยในการเดินสายตามสถานการศึกษาพูดคุย-รับฟังอย่างเปิดอกในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภารกิจ คุณประโยชน์ภายใต้กรอบความร่วมมือกลุ่มอาเซียน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆ ในอาเซียนสร้างดังนั้นจึงริเริ่มจะให้มีการสร้าง "เครือข่ายสมาคมอาเซียน"

 

 

ส่องสาระฯ ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34

 

 

               3. ปฏิญาณและแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาขยะทะเล ที่เราให้ความสำคัญมากเช่นกันโดยรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประชุมหารืออย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการสนับสนุนและผลักดันแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาขยะทางทะเล โดยกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศไทย มีชื่อติดลำดับ 6 ประเทศปล่อยขยะลงทะเลจำนวนมากในโลก ดังนั้นส่วนนี้ก็ตั้งใจจะร่วมมือกันเพื่อปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรมที่จะลบชื่อออกจากลิสต์นั้นให้ได้ นอกจากนี้พยายามสร้างพันธมิตรสร้างการประชุมสีเขียวให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการงดใช้วัสดุพลาสติก หรือถ้ายังงดใช้ไม่ได้ก็นำมา Reuse หรือใช้ถุงผ้า สมุดจดกระดาษรีไซเคิล การใช้ขวดแก้วแทนขวดพลาสติก พยายามสอดแทรกทุกการประชุมตลอดทั้งปี โดยสิ้นปีจะประเมินผลการอนุรักษ์เพื่อขยายผลต่อไป

               และ 4. แนวคิดอาเซียน เกี่ยวกับเรื่ิองอินโด-แปซิฟิก "รองอธิบดีกรมอาเซียน" กล่าวอีกว่า การประชุมในครั้งนี้ก็จะมีการเปิดตัว "ศูนย์ DELSA" ซึ่งเป็นคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยของอาเซียนในประเทศไทย ที่จะตั้งอยู่ใน จ.ชัยนาทโดยคลังนี้มีความสำคัญในเก็บและลำเลียงอุปกรณ์บรรเทาทุกข์การช่วยเหลือจาก "อาฮาเซ็นเตอร์" หรือศูนย์อาเซียนว่าด้วยความร่วมมือให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกรณีที่เกิดภัยภิบัติที่อยู่ใน ณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย มาให้กับประเทศเพื่อบ้านหากเกิดภัยพิบัติได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งกลุ่มอาเซียนมีอาฮาเซ็นเตอร์ เป็นศูนย์กลางระดมความช่วยเหลือเมื่อเกิดพายุอุทกภัย หรือแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เมื่ิอเกิดเหตุภัยพิบัติศูนย์ และที่จะเปิดอีกศูนย์คือ "ศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน" โดยศูนย์นี้อยู่ที่กรมแพทย์ทหารบก ถ.วิภาวดีรังสิต ที่ไทยเริ่มตั้งศูนย์นี้มาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งในวันที่ิ 23 มิ.ย.นี้จะประกาศว่าศูนย์นี้ ตั้งขึ้นและดำเนินการภายใต้กรอบที่ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน เป็นการรับรองสถานะของศูนย์อย่างเป็นทางการ ก็ถือว่าเป็นกลไกภายใต้กฎหมายอาเซียน โดยถือเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ได้วางรากฐานมา 2 -3 ปีแล้วมาสำเร็จเป็นรูปธรรมในปีที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

               ทั้งนี้ตอนท้าย รองอธิบดีกรมอาเซียน ยังกล่าวถึงการร่วมประชุม CSO (องค์กรภาคประชาสังคมจากประเทศสมาชิกอาเซียน) กับผู้นำอาเซียน ยังตอบคำถามกลุ่มภาคประชาสังคมในไทยด้วยว่า กรณีขององค์กรภาคประชาสังคม ก็อยากจะเรียนให้ชัดเจนว่าในแง่ของประเทศไทยเราได้ผลักดันเรื่องนี้อย่างเต็มที่ โดยเมื่อ 10 ปีที่แล้วประเทศไทยเราเป็นผู้ริเริ่มให้มีการหารือระหว่างผู้นำกับองค์กรภาคประชาสังคม CSO โดยปีนี้ไม่ใช่ว่าจัดให้พบผู้นำและเจ้าหน้าที่อาวุโสไม่ได้ แต่เป็นไปด้วยเงื่อนไขที่ว่าก่อนที่จะมาหารือร่วมกับผู้นำ แต่ละภาคส่วนนั้นจะต้องไปจัดประชุมกันเองก่อนแล้วจัดทำข้อเสนอแนะ มานำเสนอกับผู้นำอาเซียน ซึ่งจริงๆแล้วภาคประชาสังคมก็มีการพบหารือกันมาตลอดแต่ยังไม่ได้จัดประชุมก่อนเพื่อรวบรวมข้อเสนอ แต่ทั้งหมดนี้ในการจัดประชุมอาเซียนครั้งนี้เราก็ยังไม่ได้ปิดประตูกับภาคประชาสังคมที่จะให้พบและประชุมกับผู้นำอาเซียน ด้าน "นายกวี จงกิจถาวร" สื่ออิสระ กล่าวถึงการติดตามผลการประชุมอาเซียนซัมมิท ว่า สิ่งที่น่าติดตามเรื่องสถานการณ์การช่วยเหลือสร้างความปลอดภัยของเมืองรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาร์ และการพัฒนายั่งยืนซึ่งประเทศเวียดนามปีหน้าจะเป็นประธานอาเซียน รวมทั้งเรื่อง CSO (องค์กรภาคประชาสังคมจากประเทศสมาชิกอาเซียน) ที่ประเทศไทยให้บทบาทภาคประชาสังคมมาก แต่ขณะนี้ภาคประชาสังคมยังไม่สามารถรวมตัวกันได้มากจึงยังไม่สามารถพิจารณาอะไรได้มากและยังไม่สามารถสร้างวาระนัดแนะเจอกับผู้นำประเทศต่างๆ อาเซียนได้ ซึ่งก็จะน่าเสียดาย เพราะในแต่ละปีมักจะมีข่าวกับ CSO เสมอ เช่นประเทศลาวเคยเปลี่ยนที่ไปจัดที่ประเทศติมอร์ตะวันออก หรือประเทศสิงค์โปรเคยไม่จัดให้ และที่น่าสนใจอีกข้อคือ เรื่องของอาเซียนเลน (ASEEN Lane) โดยกรณีประเทศไทยอาเซียนเลนพิเรนทร์ที่สุดเพราะเจ้าหน้าที่ที่อยู่อาเซียนยังไม่เข้าใจมีอาเซียนเลน เพื่ออะไร เขายังคิดว่ามีอาเซียนเพื่อส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว แต่จริงๆ แล้วการมีอาเซียนเลนเป็นส่วนหนึ่งไปตามกฎบัตรอาเซียน (สนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ว่าจะต้องส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประชาชนกับประชาชน อย่างที่สนามบินอีกหน่อยต้องมีแค่ ASEEN Lane กับ Non-ASEEN Lane เหมือนกลุ่มประเทศยุโรป ที่สนามบินมี EU Lane กับ Non-EU Lane แต่ของไทยตอนนี้กลับมีอีกหลายส่วน

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ