ข่าว

"สมเด็จพระเทพฯ"ทรงห่วงราษฎร์ปีนี้แล้งนาน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กฤษฏา"เผยสมเด็จพระเทพ ทรงห่วงราษฎร์ ปีนี้แล้งนานมากขึ้น สั่งด่วนกรมชลฯเจ้าภาพหลักจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำแล้ง 76 จว. ตั้งวอร์รูมน้ำส่วนกลาง ส่งสถานการณ์น้ำ

   

                   4 มีนาคม 2562 นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการด่วนทุกจังหวัดรับมือสถานการณ์แล้งที่เริ่มขึ้นแล้วในระหว่างประชุมทางไกลกับ 76 จังหวัด ว่าทุกพื้นที่ให้ความสำคัญสูงสุด  

 

                 ในการจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำแล้ง โดยกรมชลประทาน เป็นเจ้าภาพหลักในการทำแผนใช้น้ำตลอดฤดูแล้งนี้อย่างเข้มข้น แม้ว่ากรมชลฯจะยืนยันหลายครั้งว่าปริมาณน้ำในเขื่อน มีใช้เพียงพอถึงเดือนก.ค.แต่จากที่ตนประสานกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือจิสด้า และสำนักงานสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(สสนก.) ทั้งสองแห่งให้ข้อมูลกับตนทำให้ต้องเร่งรับมือภัยแล้งตั้งแต่เดือนมี.ค.

 

                 โดยระบุว่าแม้ปริมาณน้ำชลประทานเพียงพอ แต่ภาวะแล้งแห้งครั้งนี้มีมีองค์ประกอบ2 ประการ คือ ภัยแล้งจะนานขึ้นและอากาศร้อนมากขึ้นกว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยจัดตั้งคณะกรรมการบริหารน้ำส่วนกลาง หรือวอร์รูม รายงานสถานการณ์น้ำ ทุกวันจันทร์ จะเริ่มสัปดาห์หน้า พื้นที่ใดพอ ไม่พอ จัดทำแยกเขต แบ่งพื้นที่วิกฤติสุด ปานกลาง ประสานงาน กับ จิสด้า สนนก.ปภ.หน่วยความมั่นคง  และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สนนช.)ด้วย

 

                  "สมเด็จพระเทพฯทรงรับสั่งกับผมว่า ปีนี้จะแล้งนานและแล้งมาก ผมจึงขอให้พื้นที่ดูข้อมูลทั้งจังหวัด ศรีสะเกษ  สกลนคร สุรินทร์ พระองค์ท่านจะทรงเสด็จไปทรงงาน เจ้าหน้าที่เกษตรเตรียมข้อมูลรับเสด็จ เป็นความโชคดีคนไทย มีสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงดูแลอาณาประชาราษฎร์"

 

                  ดังนั้นหน่วยราชการก็ต้องทำแผนประหยัดน้ำที่เป็นรูปธรรมด้วย ปรับรูปแบบการประสัมพันธ์แจ้งต่อประชาชนทั่วประเทศใหม่ทั้งหมด เตือนประชาชนเล่นน้ำสงกานต์อย่างพอดี ส่วนกรมฝนหลวงฯต้องปฏิบัติการให้เห็นเป็นมรรคเป็นผล ขึ้นทำฝนเมื่อไหร่ พื้นที่ไหนสำเร็จบ้าง เพราะแล้งปีนี้จะเจอกับอากาศร้อนมากขึ้น ทำให้น้ำระเหยขึ้นไปมาก รวมทั้งดึงความชื้นดินไปด้วย ส่งผลความร้อนและความแล้งยาวนานกว่าทุกปี

 

                 เรื่องเหล่านี้ขอเตือนคนกระทรวงเกษตรฯ ต้องรู้ให้ละเอียด ถ้าคนรู้งาน จะรู้ต้นเหตุของปัญหา ไปสู่การทำงาน มีแผนแก้ไขอย่างไร มีมาตรการทำได้แค่ไหน ขอให้จำไว้เวลาฟังจากใคร ต้องมาอธิบายกับผมได้ด้วย ประเด็นที่ อธิบดีกรมชลประทาน ยืนยันน้ำมีใช้ไปถึงเดือน ก.ค. ต้องยืนยันว่าต้องแยกเป็น4 ประเภท น้ำกิน-น้ำใช้ น้ำเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม น้ำเพื่อการเกษตร และอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นทุกจังหวัด ร่วมกันทำแผนใช้น้ำอย่างจริงจัง กับชลประทาน ทุกพื้นที่ในเขตและนอกเขตชลประทาน ชลประทานจังหวัด  เกษตรจังหวัด  พัฒนาที่ดิน โดย 3 หน่วยงานต้องรู้สถานการณ์น้ำอย่างดี น้ำในแหล่งธรรมชาติ น้ำกักเก็บ มีเท่าไหร่ บริหารจัดการได้ถึงเมื่อไหร่ หากไม่รู้ ปลัดกระทรวงเกษตรฯต้องรับผิดชอบ 


                 รมว.เกษตรฯกล่าวว่ากลไกหลักเชื่อมโยงจากส่วนกลางไปจังหวัด ผ่านคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ทุกจังหวัด(อกพ.)ที่มีผู้ว่าราชการ หรือรองผู้ว่าฯเป็นประธาน  เพื่อประสานกับหน่วยบรรเทาป้องกันสาธารณภัย(ปภ.)ประเมินปริมาณน้ำ น้ำมีเท่าไหร่ อยู่ที่ไหน จำนวนประชาชน พื้นที่เกษตร ที่ใช้น้ำมีเท่าไหร่ คาดการณ์อย่างไร หากฝนไม่มาภายในเดือนก.ค. ต้องมีแผนเผชิญเหตุไว้รองรับวิกฤติ

 

                 “ทุกจังหวัดต้องสรุปสถานการณ์น้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้รู้ว่ามีน้ำเท่าไหร่ มีใช้ถึงเมื่อไหร่ เพื่อสั่งการทันท่วงที โดยให้ทั้งจังหวัดมีความตื่นตัว สร้างการรับรู้ชาวบ้านร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัด และหากสถานการณ์น้ำถึงขั้นวิฤกติ จะแก้ไขบรรเทาภัยแล้งความเดือดร้อนประชาชนอย่างไร เช่น ทำสำรวจเครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ รถแจกจ่ายน้ำ ทำบัญชีไว้ทั้งหมดทุกจุด หน่วยไหนมีเท่าไหร่ แต่ละเทศบาล เท่าไหร่  ดูภารกิจเฉพาะหน้า เช่นไปเติมการประปา หอถังสูง เตรียมเครื่องสูบน้ำไปวางจุดเสี่ยง ในบัญชีต้องบอกรายละเอียดลงรายพื้นที่ จัดแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบประจำเครื่องมือ กระจายตามพื้นที่ทำให้เรียบร้อยก่อนเกิดภัย”นายกฤษฏา กล่าว


                  ได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามสถานการณ์น้ำแล้ง โดยมีปลัดกระทรวงฯเป็นประธาน เร่งทุกหน่วยงานชี้แจงเกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย มอบหมายเกษตรอำเภอทุกอำเภอ เป็นหลัก ขอความร่วมมือนายอำเภอ กระจายข่าวใช้เสียงตามสาย 7 หมื่นกว่าหมู่บ้าน


                  กระทรวงเกษตรฯต้องแสดงศักยภาพให้เด่นชัดและกรมชลฯขอพูดตรง ๆ ได้เงินรัฐบาลไปเป็นหมื่น ๆล้านบาทต่อปี มาบอกว่าเป็นงบของปีนั้นปีนี้ สังคมฟังไม่ขึ้น เพราะใช้งบจัดซื้อจัดจ้างมากที่สุด ต้องกระตือรือร้น กระวีกระวาดลงไปดูแลชาวบ้านเรื่องน้ำอย่างทั่วถึง ผมมาเป็นรัฐมนตรีมา 14 เดือน สามารถพูดงานของกระทรวงเกษตรฯจนถึงระดับตำบล-อำเภอ แต่ปลัดกระทรวงฯ ทำงานเกษตรมามากกว่าผม ต้องรู้ดี รู้จริงมากกว่าผม ต้องรู้ให้รอบครอบ สั่งผู้ตรวจราชการ 14 ท่านลงพื้นที่ไป ดูพฤติกรรมข้าราชการคนไหน ไม่ขยัน ละเลย ไม่อดทน ย้ายออกมาสลับคนทำงานเข้าไป

 

                  รัฐบาลนี้มีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายจนกว่ามีพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ ขอกระตุ้นเตือนข้าราชการพรรคการเมืองทุกพรรคเอาเรื่องเกษตรไปหาเสียง เหมือน รมต.เกษตรฯปลัดเกษตรฯนั่งหัวทนโท่ไม่ทำงานทำการกัน ผมเจ็บปวดและอย่ามาอธิบายให้ผมฟังว่าอยู่เกษตร จะโดนแบบนี้ เราต้องพิสูจน์ทำให้สังคมเห็นคนกระทรวงเกษตร ไม่เหมือนเดิมเปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งกรมชลประทาน เวลาทำงานให้หลับตา ระลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการช่วยเรื่องน้ำแล้ง ทรงพระราชทานทฤษฏี ทำเหมือง ทำฝายมีชีวิต ขอให้กรมชลฯกรมพัฒนาที่ดิน ไปคุยกับผู้ว่าราชการ หางบเหลือจ่าย งบพัฒนาจังหวัด มาทำฝายมีชีวิตในพื้นที่ที่ยังมีตาน้ำไหลริน กักน้ำ ทำคลองไส้ไก่ ให้ชาวบ้านไว้ได้ใช้ช่วงแล้ง


                  นายทวีศักดิ์ ธนะเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่าฤดูฝนที่ผ่านมาไม่ได้ปล่อยน้ำจากเขื่อนมากไป ยืนยันบริหารน้ำมีเจ้าภาพหลักคือ สนนช. การกักเก็บน้ำได้ประเมินล่วงหน้า 1 ปี เช่นเขื่อนแก่งกระจาน และเขื่อนที่รับน้ำพายุปาบึก ใช้ระดับกักเก็บของอ่างเครื่องที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ ทั้งนี้มีน้ำเพียงพอใช้ตลอดฤดูแล้ง ภาพรวมเขื่อนใหญ่ 35 แห่ง เขื่อนกลาง 200 แห่ง บริหารน้ำ 2.7 หมื่นล้านลบ.ม.ใช้ช่วงฤดูแล้ง 7 พันล้านลบ.ม. และสำรองไว้ก่อนเข้าฤดูฝน  มีน้ำ 2หมื่นล้านลบ.ม. พอใช้ไว้อีกสามเดือน ซึ่งปริมาณน้ำดีกว่าปี 58 -59 แต่ต้องขอเกษตรกรอย่าปลูกข้าวต่อเนื่อง ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาปลูกเกินแผนกว่า 5 แสนไร่

 

                  ขณะนี้ระบายผ่านท้ายเขื่อน เจ้าพระยา 80 ลบ.ม.ต่อวินาที เมื่อชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วให้หยุดทำนาปรังรอบสอง  และ 6 เขื่อนน้ำน้อยกว่าเกณฑ์ เช่นเขื่อนอุบลรัตน์ ลำนางรอง ลำพระเพลิง  ทับเสลา กระเสียว แม่หมอก ห้ามทำนาปรัง บริเวณลุ่มน้ำชี-มูล กว่า 1.8 แสนไร่

 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ