Lifestyle

ประกาศแล้ว พ.ร.บ.เงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มีผลบังคับใช้ 9 ธันวาคม 2561

พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป โดยพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับใหม่) นี้ได้มีการปรับปรุงค่ารักษาและขยายความคุ้มครองให้ลูกจ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ลูกจ้างได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น และนายจ้างได้รับความเป็นธรรม 

 

พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ได้มีสาระสำคัญ คือ ได้มีการขยายความคุ้มครองแก่ลูกจ้างของส่วนราชการ ขยายความคุ้มครอง   ให้ครอบคลุมไปถึงลูกจ้างซึ่งทำงานในองค์กรของนายจ้างที่มิได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการออกกฎหมายบังคับใช้เกี่ยวกับขอบเขตการคุ้มครองลูกจ้างซึ่งได้รับการจ้างงานในประเทศ  (Local staff) ของสถานเอกอัครราชทูตและองค์การระหว่างประเทศ  เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ภัยพิบัติ” เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับความหมายหรือลักษณะของภัยพิบัติลดการจ่ายเงินเพิ่มตามกฎหมายในท้องที่ประสบภัยพิบัติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ทั้งนี้ ได้มีการเพิ่มอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน  และค่าทำศพกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย โดยออกเป็นกฎกระทรวงเพื่อให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ ดังนี้ เพิ่มอัตราค่าทดแทนกรณีต่างๆ     จากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน  เพิ่มระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้าง ทุพพลภาพเป็นไม่น้อยกว่า 15 ปี (เดิมไม่เกิน 15 ปี)  เพิ่มระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้าง ถึงแก่ความตายหรือสูญหายมีกำหนด 10 ปี (เดิมกำหนด 8 ปี) อีกทั้งกำหนดการจ่ายค่าทดแทนสำหรับกรณีลูกจ้าง ไม่สามารถทำงานได้ให้ได้รับตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ (เดิมจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้าง ไม่สามารถทำงานติดต่อกันเกิน 3 วัน) เพิ่มการจ่ายค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพของลูกจ้าง ตามอัตราที่กำหนด ในกฎกระทรวง ค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพเป็นจำนวนเงิน 40,000 บาท จากเดิมร้อยเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุด (ปัจจุบัน 33,600 บาท ) เพิ่มค่ารักษาในการบำบัดรักษาและการผ่าตัด กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการที่ได้ว่าจ้างด้วยวิธัเหมาค่าแรงอยู่ในฐานะนายจ้างที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน กำหนดให้บุตรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ให้มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนต่อไปจนกว่าจะจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีและบุตรมีอายุตั้งแต่ 8 ปีขั้นไปที่อยู่ระหว่างการศึกษาในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรีให้มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนจนกว่าจะจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี


 

ในส่วนของนายจ้างเองก็จะได้รับประโยชน์จากการปรับลดอัตราเงินเพิ่มเหลือร้อยละ 2  ต่อเดือน(เดิมร้อยละ3) และเงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่าย ในกรณีประสบภัยพิบัติรัฐมนตรีมีอำนาจลดการจ่ายเงินเพิ่ม อำนวยความสะดวกในการยื่น/แจ้ง เพิ่มช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

ส่งผลให้สถานภาพด้านการเงินของนายจ้างมีความมั่นคง เสริมสร้างสังคมประเทศชาติให้มีเสถียรภาพเป็นปึกแผ่น มีความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป

ประกาศแล้ว พ.ร.บ.เงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ