Lifestyle

งานหัตถศิลป์แห่งชาติพันธุ์ "ปะกาเกอะญอ"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ในงานชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมีครั้งที่ 2

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT  ประสบความสำเร็จกับการรวบรวมผลงานศิลปหัตถกรรมแห่งชาติพันธุ์ ในงาน “ชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมี ครั้งที่ 2” พร้อมชวนพบผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์แห่งชาติพันธุ์ที่หาชมยาก กับผลงานครูช่างศิลปหัตถกรรม ครูสมศรี ปรีชาอุดมการณ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2559 จากพื้นที่ชายขอบ “ปะกาเกอะญอ”

งานหัตถศิลป์แห่งชาติพันธุ์ "ปะกาเกอะญอ"

ครูสมศรี ปรีชาอุดมการณ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2559 ผู้ส่งต่อภูมิปัญญาในงานหัตถกรรมเอกลักษณ์ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงปะกาเกอะญอ กล่าวว่า กะเหรี่ยง เผ่าปะกาเกอะญอ เป็นอีกหนึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการสืบทอดภูมิปัญญาด้านงานศิลปหัตถกรรมมาอย่างยาวนาน สะท้อนผ่านความงดงามของหัตถกรรม “การทอผ้า” ที่มีการพึ่งพาธรรมชาติรอบตัว มาสร้างสรรค์งานหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ด้วยกรรมวิธีเข็นเส้นด้ายฝ้ายด้วยมือ และการทอด้วยกี่เอว โดยผลิตภัณฑ์ของปะกาเกอะญอที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางได้แก่ ย่ามหางยาวปะกาเกอะญอ โดยในอดีตมีความเชื่อว่า หากชาวปะกาเกอะญอรักใคร ชอบใคร และได้มอบผ้า หรือ ย่ามสวยๆ ที่มาจากฝีมือการทอของตน จะเป็นของขวัญที่มีคุณค่า

งานหัตถศิลป์แห่งชาติพันธุ์ "ปะกาเกอะญอ"

งานหัตถศิลป์แห่งชาติพันธุ์ "ปะกาเกอะญอ"

งานหัตถศิลป์แห่งชาติพันธุ์ "ปะกาเกอะญอ"

ในปัจจุบันปะกาเกอะญอ ได้มีโอกาสได้นำผลิตภัณฑ์งานศิลปหัตถกรรมมาจัดแสดงให้กับผู้คนได้พบเห็นชื่นชม เนื่องจากได้รับการส่งเสริมจากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ที่มองเห็นคุณค่าของงานศิลปหัตถกรรมของชาติพันธุ์ และช่วยเชื่อมโยงตลาดให้งานหัตถศิลป์ของ ปะกาเกอะญอ ได้มีโอกาสปรับรูปแบบ สีสัน และสามารถนำเสนอในตลาดได้

งานหัตถศิลป์แห่งชาติพันธุ์ "ปะกาเกอะญอ"

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า งานหัตถกรรมเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นถือได้ว่าเป็นงานอัตลักษณ์ที่ทรงคุณค่า ทั้งยังบ่งบอกความเป็นอยู่ ศิลปหัตถกรรมในยุคสมัยนั้น ๆ ที่ถ่ายทอดออกมาผ่านผลงานศิลปหัตถกรรม SACICT ได้มีบทบาท ภารกิจ ในด้านการสืบสาน พัฒนาและต่อยอดงานศิลปหัตถกรรม ดังเช่น ผ้าทอกระเหรี่ยง ปะกาเกาะญอ ซึ่งนับว่าเป็นผ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้า การใช้สี ตลอดจนวิธีการทอ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้น จะสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ และวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของชาวกระเหรี่ยง ด้วยเหตุนี้ จึงมุ่งกระจายองค์ความรู้ด้านงานศิลปหัตถกรรมที่ ที่เป็นมรดกแห่งชาติพันธุ์ ให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชน รวมทั้งต่อยอดเชิงพาณิชย์ ดังเช่น การเชิญมาร่วมออกร้านภายในงานใต้ร่มพระบารมี ครั้งที่ 2 ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม ช่วยให้เกิดการสืบทอดงานศิลปหัตถกรรมแห่งชาติพันธุ์ให้คงอยู่ ไม่เลือนหายไปจากประเทศไทย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ