Lifestyle

โครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์เพื่อความเข้าใจเรื่องชาติพันธุ์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

....

โครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์เพื่อความเข้าใจเรื่องชาติพันธุ์ Motion Graphics Contest on Ethnicity Season1 #RESPECT

1. การประกวดสร้างสรรค์ Motion Graphic เพื่อความใจเรื่องชาติพันธุ์ในปีแรกนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ความเคารพ” อันเป็นหลักคิดพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่ต้องให้ความเคารพในความแตกต่างและเห็นถึงคุณค่าศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยกำหนดประเด็นความเคารพใน 3 หัวข้อ ได้แก่ อาหาร ภาษา และพิธีกรรม

1)อาหารการกิน

2) ภาษาและวรรณกรรม

3) พิธีกรรม

 

2. แนะนำแหล่งข้อมูลค้นคว้าเพิ่มเติมจาก ศมส.

1) ฐานข้อมูลงานวิจัยชาติพันธุ์ http://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/

2) ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยhttp://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/

3) ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทยhttp://www.sac.or.th/databases/rituals/main.php

4) ฐานข้อมูลภาพยนตร์ชาติพันธุ์ http://www.sac.or.th/databases/visualanthropology/

5) หนังสือของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

กาญจนา แก้วเทพ. 2560. เครื่องมือทำงานวัฒนธรรมชุมชนและสื่อพิธีกรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน)

เดชา ตั้งสีฟ้า. แสง น้ำ และรวงข้าว.กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา (โครงการจัดพิมพ์คบไฟ).2561.

นฤมล อรุโณทัย และคณะ. 2557. ทักษะวัฒนธรรมชาวเล: ร้อยเรื่องราวชาวเล มอแกน มอแกลน และ อูรักลาโว้ยผู้กล้าแห่งอันดามัน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง. 2552. ทักษะวัฒนธรรม: คู่มือวิธีการขัดกันฉันมิตรชายแดนใต้. กรุงเทพฯ: ศูนย์  มานุษยวิทยาสิรินธร.

รัฐจากมุมมองของชีวิตประจำวัน 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 2551.

ศิราพร ณ ถลาง (บรรณาธิการ). 2558. ประเพณีสร้างสรรค์ในสังคมไทยร่วมสมัย.กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เอกสารประกอบการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 9 ปาก-ท้องของกินจริยธรรมและการเมืองเรื่อง อาหารการกิน 25-27 มีนาคม 2553 / ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

 

3. กำหนดเวลาการรับสมัครและกิจกรรม

                1) รับสมัครเข้าร่วมโครงการ                        วันนี้ – 15 กรกฎาคม 2561

                2) ประกาศผลการรับสมัคร                            30 กรกฎาคม 2561

                3) อบรมเชิงปฏิบัติการ                                   4-5 สิงหาคม 2561

                4) ส่งผลงานสมบูรณ์                                      31 สิงหาคม 2561

5) นำเสนอผลงานสมบูรณ์และประกาศผล              14 กันยายน 2561

        3.1 การคัดเลือกรอบแรก  คณะกรรมการจะพิจารณาจากใบสมัคร เอกสารแนวคิด(Concept Proposal)  คลิปอธิบายแนวคิดการผลิตผลงาน และดราฟต์ผลงาน (เช่นstoryboard, script) (ถ้ามี)โดยจะประกาศผลทีมที่ผ่านเข้ารอบจำนวน 10 ทีม ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ทางเว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร www.sac.or.th

มีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้

  • ความคิดสร้างสรรค์                    40    คะแนน
  • เนื้อหาตรงตามประเด็นที่กำหนด  35    คะแนน
  • แนวคิดในการออกแบบ               25    คะแนน

       

 

3.2การอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop)ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 10 ทีม จะต้องเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ(workshop) เกี่ยวกับแนวคิดมานุษยวิทยาและชาติพันธุ์ แรงบันดาลใจและเทคนิคในการสร้างสรรค์สื่อ เป็นเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 4-5 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

ทั้งนี้โครงการจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าอาหารกลางวัน ในวันอบรมในอัตราตามระเบียบศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร) ในการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ทุกทีมที่ผ่านเข้ารอบ 

ทีมที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 10 ทีม จะได้รับทุนสนับสนุนการสร้างสรรค์สื่อจำนวน 20,000 บาท

กรณีทีมที่ไม่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการหรืออบรมไม่ครบหลักสูตรถือว่าสละสิทธิ์จากการแข่งขัน และไม่ได้รับทุนสนับสนุน

3.3 การประกวดรอบชิงชนะเลิศ

  • ทีมที่เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย จะต้องส่งผลงานสมบูรณ์ภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ในรูปแบบไฟล์ต้นฉบับ
  • ฉายและนำเสนอผลงานสุดท้าย ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กรุงเทพฯ โดยจะประกาศผลและมอบรางวัลในวันเดียวกัน 

เกณฑ์การพิจารณาคะแนนรอบชิงชนะเลิศ

  • ความคิดสร้างสรรค์    35    คะแนน
  • เนื้อหาตรงตามประเด็น    35    คะแนน
  • คุณภาพการผลิต (ความสมบูรณ์ของภาพและเสียง) 30  คะแนน

4. ขั้นตอนสมัครและวิธีส่งผลงาน ขั้นตอนการสมัคร

  • รับสมัครผู้เข้าประกวดประเภททีม 2-5 คน
  • ผู้เข้าประกวดต้องเป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 17-25 ปี     
  • ผู้เข้าประกวดสามารถกรอกใบสมัครออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร www.sac.or.th ตั้งแต่วันนี้ – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561ไม่รับใบสมัครทางไปรษณีย์
  • ส่งเอกสารและหลักฐานการสมัคร ดังนี้
  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของสมาชิกในทีมที่เข้าประกวด
  2. เอกสารนำเสนอแนวคิด (concept proposal) เกี่ยวกับการผลิตผลงาน
  3. คลิปอธิบายแนวคิดการผลิตผลงาน
  4. ดราฟต์ผลงาน(เช่น storyboard, script)(ถ้ามี)
  5. ส่งใบสมัครและหลักฐานการสมัครที่อีเมล [email protected]
  6. โทรสอบถาม 0-2880-9429 ต่อ 3835

5. เงินรางวัล

  • รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง  เงินรางวัล 50,000บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) พร้อมโล่รางวัลและประกาศนียบัตร
  • รางวัลชนะเลิศอันดับสอง  เงินรางวัล 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) พร้อมโล่รางวัลและประกาศนียบัตร
  • รางวัลชนะเลิศอันดับสาม  เงินรางวัล 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) พร้อมโล่รางวัลและประกาศนียบัตร
  • รางวัล popular vote เงินรางวัล 20,000บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) พร้อมโล่รางวัลและประกาศนียบัตร
  • ทีมเข้ารอบสุดท้ายทั้ง 10 ทีม ได้รับประกาศนียบัตร

 

6. วิทยากรและกรรมการตัดสิน

  • วิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop)

         วันที่ 4 สิงหาคม 2561

วรรษพล แสงสีทอง ศิลปินนักออกแบบที่มีความสนใจเรื่องอาหารและการปรุงอาหาร เจ้าของเพจ SchwedaKong และผู้เขียนหนังสือ ‘ตะลุยครัวทัวร์ซูเปอร์ฯ’

อาจารย์ ดร.อิสระ ชูศรี นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียมหาวิทยาลัยมหิดล มีความสนใจทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ ภาษาอัตลักษณ์และการศึกษาและผู้เขียนหนังสือ ‘คนสัตว์สิ่งของ’ วรรณกรรมที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2539

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดำรงพล อินทร์จันทร์ จากภาควิชามานุษยวิทยาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรมีความสนใจในประเด็นวิชาการเรื่องชาติพันธุ์ศึกษา ไทศึกษา การผลิตสื่อเพื่อการศึกษาวิจัยชาติพันธุ์ ภาพยนตร์ทางชาติพันธุ์

วันที่ 5 สิงหาคม 2561

Infographic Thailand คณะผู้จัดทำเว็บไซต์และแฟนเพจให้ความรู้เรื่อง Infographicด้วยความมุ่งมั่นที่จะ "เปลี่ยนการสื่อสารให้ง่ายยิ่งกว่าด้วยInfographic” เพื่อเปลี่ยนชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นผ่านรูปแบบInfographic ซึ่งช่วยทำให้ข้อมูลที่ยากและซับซ้อนสามารถเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วมากที่สุด 

  • กรรมการตัดสิน

ประชา สุวีรานนท์กราฟิกดีไซเนอร์เจ้าของรางวัลศิลปาธร : สาขาเรขศิลป์ปี พ.ศ. 2553 นอกจากนี้ ยังเป็นนักเขียนและนักวิชาการผู้มีความสนใจเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม

นพ ธรรมวานิช นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ไทย (THAI ANIMATION AND COMPUTER GRAPHICS ASSOCIATION: TACGA)  สมาคมซึ่งเกิดจากการรวมตัวของผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในประเทศเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทยให้ก้าวไกลสู่ตลาดโลก

Infographic Thailand วิทยากรจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ

อาจารย์ ดร.อิสระ ชูศรี     วิทยากรจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ    

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดำรงพล อินทร์จันทร์ วิทยากรจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ