ข่าว

เครือข่ายสหภาพแรงงานสนามบิน ร้องรัฐดูแลตามหลักสากล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เครือข่ายสหภาพแรงงานสนามบิน เสนอ 4 ข้อ ร้องรัฐดูแลตามหลักสากล กำหนดกรอบระยะเวลาชัดเจนเรียกพนง.กลับเข้าทำงาน หลังสถานการณ์โควิดดีขึ้น ไม่ข่มขู่ กดดัน ลูกจ้างเขียนใบลาออก พร้อมจัดหาอุปกรณ์ป้องกันให้ พนง.ลดความเสี่ยงจากไวรัส

 

 

          พันธมิตรสหภาพแรงงานคนทำงานสนามบิน พร้อมด้วย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และ คณะกรรมการสมาฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้ออกแถลงการณ์ เพื่อเรียกร้องให้ รัฐบาลและนายจ้างทุกองค์กร ตลอดห่วงโซ่คุณค่าในอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย ปฏิบัติต่อลูกจ้างและพนักงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานในระดับสากล และหลักมนุษยชน

 

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง

ป่วยโควิด เสียชีวิตรายที่ 7 ป่วยสะสม 1,388 คน กระจาย 59 จว.

โคคา-โคล่า ประกาศหยุดโฆษณาชั่วคราว เพื่อนำงบประมาณร่วมแก้ปัญหาโควิด19

มิตซูบิชิ หยุดผลิตทุกโรงงานจ่ายค่าจ้าง 85%

 

 

          โดยแถลงการระบุว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ หรือโควิด-19 (Covid-19) ที่เริ่มมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 และระบาดมากขึ้น จนเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) เพราะนอกจากแพร่ระบาดไปนอกเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีนแล้ว ก็ยังระบาดไปทั่วจีน และทั่วโลกมากกว่า 199 ประเทศและดินแดนต่างๆ จนมีจำนวนสะสมของผู้ป่วยมากกว่า 677,705 คน และผู้เสียชีวิตมากกว่า เสียชีวิตแล้ว 31,737 คน (ข้อมูลวันที่ 29 มีนาคม 2563) สาหรับในประเทศไทย การแพร่ระบาดได้ทวีความรุนแรง จนกระทั่ง รัฐบาลได้ออกประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 เพื่อควบคุมมิให้ไวรัสแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง

 

          ความหวาดหวั่นและความรู้สึกไม่ปลอดภัยจากโรคระบาด ทาให้มีผู้โดยสารด้วยสายการบินน้อยลง การห้ามผู้โดยสารต่างประเทศเข้าประเทศ โดยอาศัยอานาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นโยบาย Work from Home เพื่อให้ประชาชนอยู่กับบ้าน โดยไม่เดินทางที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของไวรัสมากขึ้น ล้วนส่งผลกระทบต่อธุรกิจสายการบินของประเทศไทยอย่างหนัก บริษัทสายการบินราคาประหยัดหลายบริษัทออกประกาศลด/หยุดบินชั่วคราว และล่าสุด บมจ.การบินไทย ได้ประกาศหยุดบินชั่วคราว ทั้งเส้นทางในภูมิภาค ยุโรปและออสเตรเลียจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2563 เหตุการณ์เหล่านี้ กระทบต่อการจ้างแรงงานหลายหมื่นคน ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมการบิน ลูกจ้างสัญญาจ้างหลายแห่งถูกเลิกจ้าง พนักงานประจำถูกกดดันให้ลดเงินเดือนค่าจ้าง


           การประกาศหยุดบินชั่วคราวของ บมจ.การบินไทย ส่งผลกระทบอย่างยิ่งการจ้างแรงงานที่เป็นพนักงานประจำของ บมจ.การบินไทยจานวน 20,000 คน และแรงงาน Out source ของบริษัทวิงสแปน 4,900 คน ที่ส่งแรงงานไปปฏิบัติให้กับ บมจ.การบินไทย พันธมิตรสหภาพแรงงานคนทำงานสนามบิน สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และคณะกรรมการสมาฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการจ้างงานแรงงานเหล่านี้ แม้ว่า วิกฤตครั้งนี้ จะเกิดขึ้นทั่วโลก หลายประเทศได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งประเทศไทย แต่ไม่อยากให้มีการซ้ำเติมชีวิตของแรงงานเหล่านี้ ด้วยการออกมาตรการความอยู่รอดของนายจ้าง เช่น การเลิกจ้าง เป็นต้น ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีต ธุรกิจสายการบินได้สร้างผลกำไรให้เกิดขึ้นมากมาย และแรงงานเหล่านี้ก็มีส่วนในความสำเร็จเหล่านั้นของนายจ้าง เมื่อเกิดวิกฤตในครั้งนี้ จึงขอเรียกร้องให้นายจ้างและรัฐบาลช่วยดูแลแรงงานเหล่านี้ให้ผ่านพ้นวิกฤตไปด้วยกัน


          ดังนั้น พันธมิตรสหภาพแรงงานคนทางานสนามบิน สรส. และ ครสท. จึงขอเรียกร้องให้ รัฐบาลและนายจ้างทุกองค์กร ตลอดห่วงโซ่คุณค่าในอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย รวมทั้ง บมจ.การบินไทย และบริษัทวิงสแปน  ปฏิบัติต่อลูกจ้างและพนักงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานในระดับสากล และหลักมนุษยชน โดยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้     

 

          1. ขอให้นายจ้างในกิจการการบินจัดให้มีเวทีปรึกษาหารือร่วมกับสหภาพแรงงาน เพื่อร่วมกำหนดนโยบายความอยู่รอดของบริษัท หากนโยบายดังกล่าวกระทบต่อสภาพการจ้างของลูกจ้าง/พนักงานของบริษัท ขอให้พิจารณากำหนดนโยบาย บนหลักการกฎหมายแรงงาน มาตรฐานแรงงานในระดับสากลและหลักมนุษยชน เพื่อให้ลูกจ้าง/พนักงานได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
 

          2. ขอให้นายจ้างในกิจการการบินที่มีการประกาศหยุดงานชั่วคราว กำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการที่ชัดเจน เพื่อเรียกลูกจ้าง/พนักงานกลับเข้าทำงานตามเดิม ภายหลังสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ดีขึ้น เพื่อป้องกันการบังคับใช้มาตรการที่นำไปสู่การเลิกจ้าง หรือลอยแพคนงาน อย่างไม่เป็นธรรม จากวิกฤตโรคระบาดในครั้งนี้

 

          3. ขอให้นายจ้าง โดยเฉพาะ บริษัท Outsource หรือบริษัทที่รับเหมาช่วงเหมาค่าแรงทุกบริษัทในกิจการการบิน ดูแลลูกจ้างของบริษัท ซึ่งมีลักษณะงานไม่มั่นคง (Precarious work) ด้วยการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเคร่งครัด โดยจะต้องไม่ข่มขู่ กดดัน หรือบังคับให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกจากงาน เพื่อเจตนาหลีกเลี่ยงการเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้าง โดยอาศัยสถานการณ์โรคระบาดนี้ ในการละเมิดสิทธิแรงงานและปฏิบัติต่อคนงานแบบไร้มนุษยธรรม

 

          4. ขอให้นายจ้างในธุรกิจกิจการการบินจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ หน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ป้องกันที่เพียงพอให้กับลูกจ้าง/พนักงานที่ยังคงปฏิบัติงานที่สนามบินในการบริการแก่ผู้โดยสาร มีความปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่อาจจะได้รับไวรัสจากการปฏิบัติงาน

 

          พันธมิตรสหภาพแรงงานคนทำงานสนามบิน สรส. และ คสรท. เข้าใจถึงสถานการณ์ความยากลำบาก ที่ส่งผลกระทบกับ เศรษฐกิจ สุขภาพ ความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน คนไทย และประชาชนทั่วโลกในครั้งนี้ และขอเป็นกาลังใจให้ภาคธรุกิจการบินและคนทางานสนามบินทุกคน ก้าวผ่านอุปสรรคและวิกฤติในครั้งนี้ไปด้วยกัน ด้วยความเชื่อพลังความสามัคคีและพลังศรัทธาของพวกเราทุกคน

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ