ข่าว

พุฒิพงษ์ ยันประมูล 5 จี ไม่มีประเด็นเอื้อนายทุน 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"พุฒิพงษ์" แจงใช้ ม.44 ผ่าวิกฤตทางตันทีวีดิจิตอล ยันประมูล 5 จี ไม่มีประเด็นเอื้อนายทุน ขณะที่ "ศักดิ์สยาม" แจงรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปิดประมูลนานาชาติ รัฐประหยัดงบฯกว่า 6 หมื่นล้าน ยันไม่มีค่าโง่แน่นอน

 

 

                 รัฐสภา-25 ก.พ.2563-นายพุฒิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวชี้แจงการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ต โดยใช้ม.44 เอื้อประโยชน์ให้นายทุน ว่า การบริหารจัดการคลื่นความถี่มี กสทช.เป็นผู้รับผิดชอบ ข้อกล่าาหาว่าการประมูลคลื่น700 เมกะเฮิร์ต 5จี  ทำรัฐเสียประโยชน์เป็นแสนล้าน ขอให้ย้อนไปดูทีวีดิจิตอลที่มีการประมูลในปี 2556 มีการแข่งขันสู้ราคาเอาเป็นเอาตาย ต่อมาในปี 2561 ทีวีดิจิตอลหลายค่ายมีปัญหา จากราคาประมูลที่สูงเกินจริง กลายเป็นวิกฤตของประเทศ 
 

 

 

 

พุฒิพงษ์ ยันประมูล 5 จี ไม่มีประเด็นเอื้อนายทุน   

 

 

              ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับรัฐบาลหรือม.44 และมีการรวมตัวของสมาคมสื่อดิจิตอลขอให้รัฐบาลช่วยเหลือ ออก ม.44 เพื่อช่วยสถานการณ์ที่เป็นทางตันของประเทศ หากไม่มีการแก้ปัญหาใครจะมาประมูล 5 จี ม.44 จึงใช้เพื่อแก้วิกฤตไม่ได้ทำเพื่อนายทุน ทุกคนได้ประโยชน์ มิเช่นนั้นเราก็ใช้ 5 จี ไม่ได้ เราเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่มีการประมูล 5 จี อย่างเป็นทางการ ไม่ใช่เรื่องที่นายกฯสร้างปัญหาไว้ โดยคลื่น 700 เมกะเฮิร์ตแรก ได้คืนจากทีวีดิจิตอล ส่วนคลื่น 700 เมกะเฮิร์ตที่เหลือ เป็นคลื่นที่กสทช.แบ่งไว้บริการจัดการด้านโทรคมนาคม ไม่มีอะไรไม่ชอบธรรมหรือเอื้อนายทุนใดๆทั้งสิ้น

 

 

 

 

พุฒิพงษ์ ยันประมูล 5 จี ไม่มีประเด็นเอื้อนายทุน 

 

 

           ต่อมานายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมชี้แจงโครวการถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ (อีอีซี ) เพื่อสนับสนุนรถไฟและการให้บริการผู้โดยสาร เป็นการประมูลแบบเปิดกว้างนาาชาติ มีเอกชนซื้อซองประมูล 31 รายชื่อ ต่อมาเอกชน 8 รายไปรวมตัวกันเป็น 2 กลุ่มร่วมค้า คือกลุ่ม BSR กับ CPH 

 

 

          ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มผ่านการประเมินด้านคุณสบัติและเทคนิค ส่วนซองที่ 3เรื่องผลตอบแทน กลุ่ม CPHได้รับการคัดเลือกเพราะเสนอผลตอนแทนให้รัฐสูงกว่า รัฐประหยัดเงินลงทุนไปเกือบ 60,000 ล้านบาท สำหรับการผูกรวมการบริหารพื้นที่อีอีซีเข้ากับการบริหารรถไฟความเร็วสูง เพราะถ้าแยกเราจะทำได้แค่พัฒนาพื้นที่ ไม่มีใครสร้างรถไฟ

 

             นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า สำหรับข้อสงสัยที่ว่า เมื่อมีการยื่นซองเสนอราคาแล้ว เหตุใดจึงเซ็นต์สัญญาล่าช้า และมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนส่งมอบที่ดิน อยากชี้แจงว่าระยะทางรถไฟความเร็วสูง 220 กม. บนพื้นที่กว่า 4,000 ไร่ ต้องรื้อย้ายสาธารณูปโภค อาทิ เสาไฟฟ้าแรงสูง ท่อประปา ท่อน้ำมัน อุโมงค์ระบายน้ำ ท่อก๊าซ มากกว่า 300 จุด และยังมีผู้บุกรุก 900 หลังคาเรือน จึงมีการตั้งคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบที่ดินควบคุมการดำเนินการทุกเดือน  โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีค่าโง่ เพราะสัญญาบอกชัดว่าไม่มีการชดเชยด้วยตัวเงินจากปัญหาการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า หากเราปล่อยให้เอกชนลงทุนเป็นแสนล้านบาท โดยรัฐไม่ช่วยเหลืออำนวยความสะดวก จะเป็นการบั่นทอนควมเชื่อมั่นในการลงทุน

 

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการชี้แจงของรัฐมนตรี ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้านลุกขึ้นประท้วงเป็นระยะๆ ว่า ประธานสภาฯอนุญาตให้รัฐมนตรีชี้แจงนานเกินไป แต่ประธานสภาฯยืนยันว่ารัฐมนตรีมีสิทธิ์ชี้แจงในประเด็นที่ถูกพาดพิง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ