ข่าว

สภาโหวตคว่ำญัตติต้านรัฐประหาร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ชวน"งดออกเสียงญัตติตั้งกมธ.ฯศึกษาแนวทางต้านรัฐประหารด้าน"ปิยบุตร"ครวญเป็นอภิปรายครั้งสุดท้าย แต่โน้มน้าวสภาฯไม่สำเร็จ สุดท้ายเสียงข้างมาก 242 เสียงคว่ำญัตติ

 

รัฐสภา - 20 กุมภาพันธ์ 2563  ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีวาระพิจารณาญัตติต่อเนื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดการรัฐประหารขึ้นอีกในอนาคต 

อ่านข่าว "ปิยะบุตร"ส่งสัญญาณจับตาอภิปรายญัตติต้านรัฐประหาร

 

 

โดยนายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ และคณะเสนอต่อที่ประชุม ทั้งนี้การพิจารณาญัตติดังกล่าวถือเป็นญัตติที่ใช้เวลาพิจารณาแบบเว้นช่วง เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ที่เริ่มต้นการอภิปรายญัตติ , ช่วงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ที่พิจารณาต่อเนื่องเป็นครั้งที่สองเพื่อให้ส.ส.ที่ได้แสดงเจตจำนงการอภิปราให้ครบถ้วย และช่วงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ให้ผู้เสนอญัตติแถลงสรุป และลงมติ ซึ่งผลลงมติเสียงข้ามาก 242 เสียง ไม่เห็นด้วยให้ตั้งกมธ.ฯ ขณะที่เสียงสนับสนุน 215 เสียงและงดออกเสียง 2 เสียง 


โดยก่อนการลงมตินายปิยบุตร ผู้เสนอญัตติ แถลงปิดญัตติ ตอนหนึ่งว่าขอให้ส.ส.มองข้ามมติของคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)  เพราะการตั้งกมธ.ฯ ดังกล่าวไม่กระทบรัฐบาล ไม่ล้มรัฐบาล ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพราะรัฐบาลสามารถเดินหน้าบริหารราชการแผ่นดินได้ต่อไป แต่รัฐบาลจะล้มหรือไม่ให้ลุ้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจสัปดาห์หน้า  

 

อย่างไรก็ตามหากจะกระทบคือความรู้สึกของนายกฯ และรัฐมนตรี นายพลที่ได้อำนาจมาโดยการยึดอำนาจ  ทั้งนี้การอภิปรายของตนอาจเป็นครั้งสุดท้ายในสภาฯ เพราะชนะตากรรมของตนอยู่ในกำมือของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนหวังว่าการอภิปรายโน้มน้าวจะให้ส.ส.ลงมติเห็นชอบ เพื่อให้เกิดแนวทางป้องกันไม่ให้รัฐประหารเกิดขึ้นอีก และสร้างความหวังให้ประชาชน ทั้งนี้ญัตติดังกล่าวตนมองว่าเป็นวาระแห่งชาติที่สภาฯต้องพิจารณาร่วมกัน ไม่ใช่วาระของตน ของฝ่ายค้าน หรือฝ่ายรัฐบาล  


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับเนื้อหาของการอภิปรายใน 3 ช่วงเวลาที่เกิดขึ้น ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน โดยเฉพาะพรรคอนาคตใหม่ สนับสนุนญัตติดังกล่าว เพื่อให้สภาฯ หากลไกป้องกันการรัฐประหารในอนาคต  พร้อมย้ำถึงการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเป็นเหตุการณ์ฉุดรั้งการพัฒนาของประเทศ

 

อย่างไรก็ตามในการอภิปรายดังกล่าวเมื่อช่วงค่ำวันที่ 19 กุมภาพันธ์นั้น มีส.ส.พรรคอนาคตใหม่ รวมถึง นายสุทัศน์ เงินหมื่น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายเรียกร้องให้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ร่วมลงมติสนับสนุนญัตติดังกล่าว เพื่อแสดงความจริงใจในจุดยืนที่เคยระบุอย่างต่อเนื่องว่าไม่สนับสนุนการรัฐประหาร รวมถึงย้อนอดีตที่นายชวน เคยร่วมกับการเกิดงิ้วธรรมศาสตร์เพื่อต่อต้านผู้นำที่มาจาการยึดอำนาจ แต่การลงมติดังกล่าวนายชวน ได้ทำหน้าที่ในที่ประชุม และผลการลงมติ คือ งดออกเสียง 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ