ข่าว

เรียก รองเลขากกต.สอบปมพรรคกู้เงิน แต่ไร้คำตอบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กมธ.การเมือง วุฒิสภา เรียก "รองเลขากกต." สอบปมพรรคกู้เงิน แต่ไร้คำตอบ เหตุ "แสวง"​แจงอยู่ในกระบวนการตรวจสอบ

 

 

             รัฐสภา - 25 พฤศจิกายน 2562 - กมธ.การเมือง วุฒิสภา เรียก "รองเลขากกต." สอบปมพรรคกู้เงิน แต่ไร้คำตอบ เหตุ "แสวง"​แจงอยู่ในกระบวนการตรวจสอบ ด้าน "เสรี" ให้ความเห็น พรรคกกู้เงินไม่ได้ เหตุเปิดช่องทางทุนครอบงำพรรค-แลกตำแหน่งการเมือง ค้าน "อดีตกรธ." ร่วมสภาฯ ศึกษาแนวทางแก้ รธน. เหตุเปิดปมชี้ช่อง รธน.มีปัญหา


           

 

 

 

เรียก รองเลขากกต.สอบปมพรรคกู้เงิน แต่ไร้คำตอบ

 

 

              นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว.  ฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมกมธ.​ ซึ่งพิจารณากรณีการกู้ยืมเงินของพรรคการเมือง โดยนายแสวง บุญมี รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ร่วมชี้แจง ทั้งนี้นายแสวง ระบุเพียงในหลักการของกฎหมาย แต่ไม่สามารถให้รายละเอียดต่อการตรวจสอบกรณีที่พรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงินจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้เพราะอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนและตรวจสอบ

 

 

 

 

เรียก รองเลขากกต.สอบปมพรรคกู้เงิน แต่ไร้คำตอบ

   

 

           อย่างไรก็ตาม ในความเห็นส่วนตัว มองว่าบทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 กำหนดเรื่องรายได้ของพรรคการเมือง อาทิ จากการบริจาค, ระดมทุน, การจำหน่ายของที่ระลึก  แต่ไม่ระบุว่าสามารถกู้ยืมเงินได้ ดังนั้นตนมองว่าการกู้ยืมเงินนั้นพรรคการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะหากพรรคการเมืองใดทำ ถือว่าทำผิดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ให้นายทุนครอบงำพรรคการเมือง เพราะหากนายทุนปล่อยให้พรรคกู้ยืมเงินได้ อาจมีประเด็นต่อการแลกผลประโยชน์หรือตำแหน่งทางการเมืองและอาจเกิดกรณีการยกกหนี้ให้ภายหลังได้ อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวในกมธ.ฯ​ เตรียมสรุปและนำเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อเสนอของกมธ.​ไปยังหน่วยงานาที่เกี่ยวข้อง 

 

 

             นายเสรี ยังกล่าวต่อกรณีการเดินหน้าญัตติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อตั้งกมธ.วิสามัญศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ตนยืนยันและมีความเห็นร่วมกันกันกับ ส.ว. ว่าไม่ควรเข้าร่วมอีกทั้งในกมธ.พัฒนาการเมือง ยังตั้งประเด็นติดตามเรื่องดังกล่าว โดยหลังจากที่กมธ.ฯ ของสภาฯ เดินหน้าศึกษาแล้ว ตนจะทำหนังสือไปยังนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ เพื่อขอผลการศึกษาของสภาฯ เพื่อติดตาม ส่วนกรณีที่มีข่าวระบุว่าอดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะเข้าร่วมเป็นกมธ.ศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยนั้น ตนมองว่าอาจมีความย้อนแย้ง เนื่องจากเป็นผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ขึ้นมาแล้วกลับมาร่วมกมธ.ฯ ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้นยกร่างเนื้อหามาไม่ดี. 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ