ข่าว

นักวิชาการแนะทุกพรรคปรับตัวรับไพรมารีโหวต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักวิชาการ เปิดปัญหากฎหมายพรรคการเมือง แนะทุกพรรคปรับตัว รับมือระบบไพรมารีโหวต ที่ใช้เต็มรูปแบบเลือกตั้งครั้งหน้า เชื่อเหลือไม่กี่พรรคอยู่รอด 

 

 

31 ตุลาคม 2562 นายไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายสติธร ธนานิติโชติ ผอ.สำนักงานนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

 

ได้นำเสนอผลงานวิจัยหัวข้อ “ความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย : ศึกษากรณีพรรคการเมืองไทยภายใต้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2560” ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 


โดยนายไชยันต์ ยกตัวอย่างความเป็นพรรคการเมือง 3 รูปแบบ คือ 1.พรรคการเมืองอย่ภายใต้การนำของคนๆเดียว หรือเอกบุคคล (the one) เวลาจะเลือกจะเลือกตั้ง ผู้มัครต้องวิ่งเข้าหาคนๆเดียว เช่น พรรคของนายทักษิณ ชินวัตร  อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีหลากหลายชื่อพรรค เช่นเดียวกับพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา รวมถึงพรรคอนาคตใหม่ที่มีลักษณะเดียวกันนี้ ทั้งนี้ความเป็นสถาบันพรรคการเมือง ไม่ควรขึ้นกับคนๆเดียว ไม่เช่นนั้นหากมีเหตุทางการเมืองเกิดขึ้น พรรคนั้นจะหมดสภาพไปทันที ทำให้เกิดความไม่ยั่งยืน ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยในพรรค


2.พรรคการเมืองไม่ได้อยู่ภายใต้การนำของคนๆเดียว แม้จะมีหัวหน้าพรรคก็ตาม แต่เป็นลักษณะคณะบุคคล (the few) เเต่คณะบุคคล อาจหมายถึงคนที่ไม่ได้อยู่ในกรรมการบริหารพรรค แต่มีอำนาจเงินและมีอิทธิพลในพรรค ซึ่งพรรคที่เข้าข่ายคือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคแบบนี้มีความเป็นสถาบันพรรคการเมืองมากกว่าแบบแรก และยั่งยืนกว่า 

 

3.การไม่ให้อำนาจคนส่วนใหญ่โดยสิ้นเชิง แต่ต้องมีคณะทำงาน ซึ่งมันมีความเป็นองค์รวม และให้ฐานอยู่ที่ประชาชนคนหมู่มาก (the many) เปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในกิจกรรม ซึ่งที่ผ่านมาพรคการเมืองไทย ยังเปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคมีส่วนในการจัดตั้งและกำหนดทิศทางการเมืองของพรรคน้อยมาก ดังนั้นพรรคการเมืองต้องมีส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วน จึงทำให้เกิดความยั่งยืน

 

 

สำหรับพรรคพลังประชารัฐ ตนยังมองไม่ออกว่าเป็นพรรครูปแบบไหน เพราะมีหลายกลุ่มหลายมุ้งมาก ก็ต้องศึกษาต่อไป และยังไม่รู้ว่าใครคือผู้คุมตัวจริง  / ส่วนพรรคเพื่อไทย ควรปรับตัวหลัง นายทักษิณ ชินวัตร ลดบทบาทลง เพื่อเพิ่มการเเข่งขัน อาจต้องเจ็บตัวบ้างแต่ต้องเดินหน้าไปสู่ความเข้มแข็ง / เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค แล้วได้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  มาแทน แต่ก็ยังไม่โดดเด่นไม่เป็นที่จดจำ  ก็ต้องปรับ ตัว / ขณะที่พรรคอนาคตใหม่ มีความโดดเด่นของตัวบุคคล 3 คนหลัก ๆ คือ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ , นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนางสาวพรรณิการ์ วานิช ก็ขอแนะว่าควรทำให้บุคคลอื่นในพรรคเป็นที่รู้จักด้วยเช่นกัน


นายไชยันต์ กล่าวสรุปว่า นักการเมืองส่วนใหญ่ยังอยู่ภายใต้การครอบงำของบุคคลและคณะบุคคล แม้ว่าจะพยายามเพิ่มพื้นที่ให้กับสมาชิกมากขึ้นก็ตาม แต่การเปลี่ยนแปลงการบังคับใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองหลายมาตรา โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการดำรงสถานะและกระบวนการคัดสรรผู้สมัคร ก็ยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าความพยายามในการเปิดพื้นที่ให้คนหมู่มาก เป็นผลโดยตรงของกฎหมายพรรคการเมือง แต่กลายเป็นว่าการมีบทบาทเพิ่มขึ้นของสมาชิกพรรค เป็นผลจากการพยายามปรับตัวของพรรคการเมือง เพื่อเอาชนะในการแข่งขันภายใต้ระบบเลือกตั้งใหม่มากกว่า

 

เหมือนปรากฏการณ์แตกแบงค์พัน และการเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีจนเกิดปัญหานำไปสู่การยุบพรรคการเมือง และผลการเลือกตั้งที่สร้างความหวังให้กับพรรคเล็ก จนมีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งความท้าทายกำลังรอให้พรรคการเมืองทั้งหลาย ได้พิสูจน์ความเป็นสถาบันของพรรค คือดำเนินกระบวนการคัดเลือกผู้สมัครตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อโอกาสและความสำเร็จในการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่ทั้งนี้มองว่า ถ้ายังไม่มีการแก้ไขกฎหมายพรรคการเมือง ก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่พรรคขนาดเล็กวิ่งเข้าหาพรรคใหญ่ จนเกิดการควบรวมและทำให้การเลือกตั้งครั้งหน้าเหลือไม่กี่พรรคการเมือง


ขณะที่ นายสติธร กล่าวว่า ในการทำไพรมารี่โหวตในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่จะทำแบบเต็มรูปแบบ ขอตั้งข้อสังเกตว่าจะมีไม่กี่พรรคการเมืองที่สามารถทำได้ เนื่องจากหลายพรรคติดขัดข้อกฎหมาย และปัญหาการจัดการ รวมถึงความแตกแยกภายในพรรคจากการที่ต้องเลือกผู้ชนะลงสมัคร ดังนั้นกฎหมายพรรคการเมืองที่ออกมา ยังพิสูจน์

 

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ