ข่าว

ส.ส.อนค.จับสังเกต 2 กรม 2 กระทรวงตั้งโครงการซ้ำกัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส.ส.อนค.จับสังเกต 2 กรม 2 กระทรวงตั้งโครงการสร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเลที่สงขลาซ้ำกันให้ฉายาร่างงบฯ63 ฉบับหอมหวานไม่รอบคอบ

 

 

                 รัฐสภา - 19 ตุลาคม 2562-ส.ส.อนค.จับสังเกต 2 กรม 2 กระทรวง ตั้งโครงการสร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเลที่ สงขลาซ้ำกัน ให้ฉายา ร่างงบฯ63 ฉบับหอมหวาน ไม่รอบคอบ ด้าน "อนุพงษ์" ขอรับปมท้วงติงไปตรวจสอบ

 

                  ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท ช่วงหนึ่งของการอภิปราย นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่  ท้วงติงต่อการตั้งงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาชายฝั่งของกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม และกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทยที่ทำงบผูกพันถึงปี 2565 ซึ่งเน้นการสร้างเขื่อนหรือกองหินกันคลื่น ทั้งที่ก่อนหน้านั้น เมื่อปี 2554 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทักท้วงว่าวิธีดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งได้ และเป็นการซ้ำเติมปัญหา ขณะเดียวกันการทำเขื่อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เคยทำผลสำรวจว่าด้วยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังพบบางโครงการได้เปลี่ยนชื่อเพื่อเลี่ยงบาลี เช่น การปรับภูมิทัศน์ แต่พบการสร้างเขื่อนหิน จนทำให้ชายหาดสวยงามถูกทำลาย เช่น พื้นที่อ.เกาะลันตา จ.กระบี่,หาดเจ้าไหม จ.ตรัง


 

 

 

 

ส.ส.อนค.จับสังเกต 2 กรม 2 กระทรวงตั้งโครงการซ้ำกัน

 

 

                   "งบประมาณที่ตั้งพบการใช้งบแบบก้าวกระโดด ผมขอตั้งฉายาในการจัดทำงบประมาณว่า ฉบับหอมหวานแบบคาหนังคาเขา ไม่รอบคอบ ไม่บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะงบสร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเลกันเซาะที่ 11 ปี เพิ่มขึ้น 17 เท่า หน่วยงานที่ตั้งงบประมาณยังพบความซ้ำซ้อน โดยเฉพาะปี 2563 ที่ 2 กรมจาก 2 กระทรวง เตรียมทำโครงการสร้างเขื่อนหินที่ ต.ชิงโค อ.สิงหนคร จ.สงขลา" นายประเสริฐพงษ์ อภิปราย

 

 

ส.ส.อนค.จับสังเกต 2 กรม 2 กระทรวงตั้งโครงการซ้ำกัน

 

 

                ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ชี้แจงต่องบประมาณเพื่อป้องกันน้ำกันเซาะชายฝั่ง โดยยอมรับว่ามีหลายพื้นที่ที่ประสบปัญหา ล่าสุดเกิดที่จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ของประชาชนและราชการเสียหายจำนวนมาก ซึ่งอยู่ระหว่างการสำรวจด้วยการใช้การรังวัด เพื่อหาพื้นที่ที่แน่นอน ทั้งนี้ในการเข้าไปดำเนินการแก้ไขคือเป็นพื้นที่ที่ประชาชนร้องขอ แบบไม่หวงกัน ส่วนการจะสร้างเขื่อนตามที่ส.ส.อภิปราย และถกเถียงว่าจะสร้างเขื่อนโครงสร้างแข็ง อาทิ คอนกรีต, หินทิ้ง หรือ จะใช้เขื่อนที่ทำจากไม้ไผ่

 

 

                   ทั้งนี้จากกรณีที่ตนได้พิจารณา พบว่าเขื่อนบางอย่างเหมาะสมกับบางพื้นที่ เช่น เขื่อนไม้ไผ่ปัก สามารถใช้ในพื้นที่ป่าชายเลน น้ำท่วมขังตลอดเวลา เพื่อให้เกิดตะกอนดินและมีผืนดินงอกใหม่ เช่น พื้นที่ที่ปากพนัง เป็นต้น ขณะที่เขื่อนซึ่งใช้ไม้ไผ่แม้จะมีราคาถูกแต่มีอายุการใช้งานสั้น และบางพื้นที่ไม่เหมาะสม เช่น จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งปัจจุบันพบว่าพื้นที่ดินหายไปจำนวนมาก

 

 

                 ดังนั้นอาจต้องใช้เขื่อนที่โครงสร้างแข็ง ส่วนที่ทักท้วงเรื่องงบประมาณนั้น หากงบประมาณผ่านการพิจารณา จะต้องปรึกษากับหน่วยงานที่มีความรู้ และเป็นไปตามที่ประชาชนต้องการ ขณะที่เรื่องความไม่โปร่งใส ตามที่ระบุว่า 17 ปี พบยอด 30 เท่านั้น จะขอตรวจสอบข้อเท็จจริงรวมถึงการใช้งบประมาณด้วย

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ