ข่าว

อัดงบฯ มั่นคง - แนะลดผูกพัน 10%

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เพื่อไทยห่วงใช้งบฯ ซื้ออาวุธไม่โปร่งใส จี้ นายกฯ ตอบ ปมซื้อบอลลูนสังเกตการณ์ภาคใต้ - จีที200

 

              รัฐสภา 18 ตุลาคม 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงบรรยากาศการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท ว่า

 

 

 

              กลุ่ม ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) อภิปรายย้ำถึงการจัดสรรงบประมาณเพื่อความมั่นคงในส่วนของกองทัพไม่มีความเหมาะสม และมีความสงสัยต่อการใช้งบประมาณที่ไม่โปร่งใส พร้อมเรียกร้องให้ปรับลดงบประมาณกองทัพและนำไปใช้เพื่อประชาชนด้านการสาธารณสุข และการศึกษา

              นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส. นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย อภิปรายทักท้วงต่อการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้ออาวุธ วงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท ระบุว่า จะจัดซื้อใน 19 โครงการแต่ไม่แสดงรายละเอียดของงบประมาณ ขณะที่การตั้งงบประมาณเพื่อผูกพันสูงกว่า 8.7 หมื่นล้านบาท เป็นการสร้างหนี้ให้คนไทยล่วงหน้าถึง 7 ปี นอกจากนั้น ประเด็นความไม่โปร่งใสของการจัดซื้ออาวุธ ทั้งนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประเมินความโปร่งใสภาครัฐ พบว่า กระทรวงกลาโหมได้คะแนนความโปร่งใสและคะแนนคุณธรรมต่ำที่สุด ทั้งนี้ ตนขอยกตัวอย่างโครงการจัดซื้อที่ส่อควาไม่โปร่งใส อาทิ การจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ AH 6I จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปี 2557 ซาอุดิอาระเบียจัดซื้อเครื่องบินดังกล่าวในราคาลำละ 300 ล้านบาท แต่ประเทศไทยซื้อในปี 2562 ราคาลำละ 528 ล้านบาท แพงกว่ากันถึง 228 ล้านบาท ขณะที่กองทัพเรือจัดซื้อเรือลำเลียงพลมือ 2 จากสหรัฐฯ ในราคาลำละ 6,200 ล้านบาท ทั้งที่ราคาตลาดอยู่ที่ 4,000 ล้านบาท ทั้งที่ประเทศไทยมีเรือหลวงอ่างทอง ซึ่งเป็นเรือลำเลียงพลอยู่แล้ว และยังใช้งานได้ดีอยู่ แสดงให้เห็นว่าใช้เงินโดยไม่มีความจำเป็น ควรเอาเงินไปแก้ปัญหาด้านราคาพืชผลการเกษตร การศึกษา สาธารณสุขจะเหมาะสมกว่า

 

 

 

              นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส. เชียงราย พรรคเพื่อไทย อภิปรายด้วยว่าสำหรับการจัดสรรงบประมาณส่วนของกองทัพ พบว่า มีมากถึงร้อยละ 70 เพื่อเป็นค่าตอบแทนของนายพลที่มีตำแหน่งระดับสูง และมีเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เป็นส่วนที่ใช้สำหรับภารกิจ อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งของนายพลที่มีจำนวนมาก เพราะมีการเพิ่มตำแหน่งพิเศษคาดว่าจะมีค่าตอบแทนเดือนละ 7,000 ล้านบาท หรือปีละ 8 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกฯ และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกฯ มีแนวคิดดาวน์ไซซ์ซิ่งกองทัพ แต่ปัจจุบันพบว่ามีการสวนทาง ซึ่งตนเชื่อว่านโยบายด้านความมั่นคงนั้นมาผิดทาง ดูได้จากปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อปี 2547 ซึ่งมีเหตุการณ์ปล้นปืน จนถึงปัจจุบันพบการใช้งบประมาณมากกว่าปีละ 3 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นงบประมาณต่อหัวประชากรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คนละ 2 แสนบาท

              "นายกฯ และ รมช.กลาโหม ต้องตอบผมให้หายข้อใจ คือ ปัญหางบประมาณรั่วไหล ทั้งเรือเหาะตรวจการ มูลค่า 350 ล้านบาท ที่ถูกมองว่าเป็นราชินีโรงจอด และจอดมากว่า 8 ปี ขึ้นบินเพียง 20 เที่ยวแล้วตก รวมถึงโครงการจีที 200 หรือไม้ชี้ผี นายกฯ ต้องชี้แจงผมให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะเจอการอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้แน่นอน อย่างไรก็ตาม มีประเด็นว่าด้วยการใช้งบประมาณของประเทศ ที่มีประเทศสารขันธ์พบกองพลผี กองร้อยผี ที่เบิกจ่ายเงินงบประมาณ" นายวิสาร อภิปราย

 

 

 

              นายวิสาร อภิปรายด้วยว่า ตนเรียนด้วยความเคารพ ว่าบุคคลที่จะเป็น นายกฯ คนต่อไป คือ ผบ.ทบ. แต่วันที่ ผบ.ทบ. พูดเรื่องการแบ่งฝ่าย ใครเห็นไม่ตรงถือว่าไม่รักชาติ เป็นสิ่งที่แย่ และ นายกฯ​ ยังให้ท้ายว่าดี แต่ตนมองว่าไม่ดี ดังนั้นหากใช้การแก้ปัญหาผิดทางและปล่อยให้ใช้งบประมาณสุร่ยสุร่าย ไม่ได้ เพราะประเทศไม่สามัคคี นอกจากนั้นประเด็นการตัดสินอัตวิบากกรรมผู้พิพากษา ตนเห็นใจและสะเทือนใจกระบวนการยุติธรรมเมืองไทยมีอยู่ ผู้พิพากษาดูแลกระบวนกกรยุติธรรมหน่วยงานขัดแย้ง ทะเลาะ นโยบายรักชาติให้ปกครองประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวไม่มี ทำให้แต่ละองค์กรเข้าใจผิด ต้องทำตามเผด็จการไม่ได้แล้ว โลกไม่ได้อยู่แบบเอารถถึงไปยิง เรือดำน้ำไปรบ เพราะไม่จำเป็น ดังนั้นไม่ต้องซื้ออาวุธ แต่ควรเอาเงินดูแบเด็ก ให้ประชาชน โรงพยาบาล ดีกว่า

              พล.ท.พงศกร รอดชมพู ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ อภิปรายถึงงบประมาณของกองทัพด้วยว่าหลังการรัฐประหาร พบการตั้งงบประมาณลักษณะเป็นงบผูกพัน ที่มีตัวเลขล่าสุด ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท แต่ไม่สามารถใช้ได้ทัน คล้ายกับคนที่ถูกลอตเตอรีรางวัลที่ 1 ติดต่อกันหลายงวด ทำให้เงินล้น และไม่รู้จะนำไปใช้อะไร ซึ่งตนมองว่าหากตัดงบประมาณผูกพันของกระทรวงกลาโหมเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถจัดสรรให้กับกระทรวงที่ดูแลประชาชนได้ เช่น กระทรวงสาธารณสุข , กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น

 

 

 

              “ผมมองว่าการก่องบผูกพันตั้งแต่รัฐประหาร เพิ่มปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ เพราะรู้ว่าเมื่อมีรัฐสภาที่สามารถปรับลดงบประมาณได้ จึงพยายามทำงบประมาณผูกพันข้ามปี เหมือนเป็นราชาเงินผ่อน ล่าสุดตั้งงบผูกพันรวมแล้ว 1.8 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม สำหรับงบประมาณที่ใช้ดำเนินการส่วนใหญ่ ใช้เพื่อ ก่อสร้างอาคาร ค่าเช่ารถยนต์ ผมมองว่าหากบำรุงรักษาตึกเก่าแทนสร้างตึกใหม่ จะมีงบประมาณเพื่อดำเนินการอื่นๆ ขณะที่งบประมาณ อีกกว่า 8.9 พันล้านบาท เพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์ โดยไม่รู้ว่าจะรบอย่างไร ดังนั้น ผมขอให้ออกแบบยุทธศาสตร์ของกองทัพให้มีภารกิจที่ชัดเจน ส่วน กอ.รมน. นั้นแม้มีภารกิจที่ชัดเจน แต่ได้รับงบประมาณน้อย อย่างไรก็ดี ผมมีข้อเสนอเพื่อให้ใช้งบอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ให้เพิ่มงบประมาณด้านการศึกษาวิจัยให้เป็น 5 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมที่จัดสรร 0.5 เปอร์เซ็นต์ และรับฟังความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นขอให้ระวังคำพูดที่ระบุถึงสงครามพันธุ์ทาง ที่ต้องมีกำลังหลักและกองการร้ายอยู่ด้วยกัน” พล.ท.พงศกร อภิปราย

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ