ข่าว

(คลิป) "นักวิชาการ" ปลุกประวัติศาสตร์ ศึกษาสมาชิกคณะราษฎร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เสวนา "ควง อภัยวงศ์ คณะราษฎร์ นายกรัฐมนตรี 4 สมัย" "นักวิชาการ" ปลุกประวัติศาสตร์ ศึกษาสมาชิกคณะราษฎร ย้อนรอย "ควง อภัยวงศ์" จับมือปรีดี นิรโทษกรรมผู้ต้องหากบฏ


เสวนา "ควง อภัยวงศ์ คณะราษฎร์ นายกรัฐมนตรี 4 สมัย" "นักวิชาการ" ปลุกประวัติศาสตร์ ศึกษาสมาชิกคณะราษฎร ย้อนรอย "ควง อภัยวงศ์" เคยจับมือปรีดี นิรโทษกรรมผู้ต้องหากบฏ สร้างปรองดอง ก่อนเริ่มการเมืองใหม่พรรค-สภา หลังปี 2475

 

(คลิป) "นักวิชาการ" ปลุกประวัติศาสตร์ ศึกษาสมาชิกคณะราษฎร

 

          วันที่ 18 ส.ค.62 - ที่ห้องประชุม 307 คณะพาณิชยศาสตร์และบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เวลา 13.30 น. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับ คณะพาณิชยศาสตร์ฯ จัดเสวนาสาธารณะ หัวข้อ "ควง อภัยวงศ์ คณะราษฎร์ นายกรัฐมนตรี"

 

(คลิป) "นักวิชาการ" ปลุกประวัติศาสตร์ ศึกษาสมาชิกคณะราษฎร

 

          โดยมี นายศรัญญู เทพสงเคราะห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ , นายกษิดิศ อนันทนาธร นักศึกษาปริญญาโทนิติศาสตร์ และนายนริศ จรัสจรรยาวงศ์ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ เล่าถึงภาพรวมประวัติ นายควง อภัยวงศ์ อดีตนายกฯ และช่วงชีวิตการรับราชการ จนเข้าสู่การทำงานด้านการเมือง ซึ่งชีวิตราชการเริ่มจากการทำงานกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองช่วงปี พ.ศ.2475 นายควง ก็เป็น 1 ในคณะราษฎรสายพลเรือนที่ได้รับหน้าที่ให้ดูแลเรื่องการตัดสัญญาณสื่อสาร ตัดสายโทรศัพท์-สายโทรเลข และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจนมีการเลือกตั้งนายควง ถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง

 

(คลิป) "นักวิชาการ" ปลุกประวัติศาสตร์ ศึกษาสมาชิกคณะราษฎร

 

          โดยช่วงแรกการเป็นนายกฯ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองนายกฯ ยังมาจาก ส.ส.ประเภทที่ 2 คือ ส.ส.แต่งตั้ง ขณะที่นายควง ได้เป็นเข้ามานายกรัฐมตรี 4 สมัย สมัยแรกระหว่างวันที่ 1 ส.ค.2487 - 31 ส.ค.2488 (ได้รับเลือกจากสภาและการสนับสนุนจากนายปรีดี พนมยงค์ หลัง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลาออก) , สมัยที่ 2 ระหว่างวันที่ 31 ม.ค.2489 - 24 มี.ค.2489 (ส.ส.มาจากการเลือกตั้ง ช่วงเริ่มต้นระบบพรรคการเมือง) , สมัยที่ 3 ระหว่างวันที่ 10 พ.ย.2490 - 21 ก.พ.2491 (จอมพล ป.สนับสนุน) , สมัยที่ 4 ระหว่างวันที่ 21 ก.พ.2491 - 8 เม.ย.2491 (ถูกจี้ให้ลาออก) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าเป็นนายกฯ ไม่ครบวาระแต่ได้เข้ามาบริหารช่วงมีสถานการณ์คับขันเปลี่ยนแปลงโดยได้รับแรงสนับสนุนผลักดันขึ้นมา ขณะที่นายควง เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์วันที่ 6 เม.ย.2489 โดยมี 3 กลุ่มที่มีบทบาท คือกลุ่ม ส.ส.ตรงข้ามฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ , ขุนนางเก่า กลุ่มอนุรักษ์นิยม และคณะราษฎรบางส่วน โดยช่วงก่อตั้งก็เกิดหลังจากความพ่ายแพ้รัฐบาลควงในสภา 

 

          ทั้งนี้ช่วงที่นายควง เป็นนายกฯ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  มีปัญหาเรื่องของข้าวของยังราคาแพง เงินเฟ้อ ก็มีการวาดภาพการ์ตูนล้อออกมาด้วย ขณะที่นายควงเองก็ได้รับฉายา "ตลกหลวง" เป็นายกรัฐมนตรีผู้มีอารมณ์ขันด้วย

 

(คลิป) "นักวิชาการ" ปลุกประวัติศาสตร์ ศึกษาสมาชิกคณะราษฎร

 

          ส่วนงานด้านการเมืองนั้นช่วงที่นายควงเป็นนายกฯ ยังร่วมมือกับนายปรีดี ในฐานะผู้สำเร็จราชการฯ ปรองดองกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่เคยเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติ 2475 โดยเริ่มจากการอภัยโทษและนิรโทษกรรม จนผู้ที่อยู่ต่างประเทศกลับมาประเทศเริ่มต้นทางการเมือง ซึ่งช่วงเดือน ก.ย.2487 ได้อภัยโทษนักโทษการเมืองจากเหตุการณ์กบฏจลาจล แล้วเดือน พ.ค.2488 ได้นิรโทษกรรมผู้ต้องหากยฏ กับเริ่มแก้ไขรัฐธรรมนูญถาวร 2475 โดยมีหลักการสำคัญ คือ ยกเลิกเรื่องพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าอยู่เหนือการเมือง , ยกเลิก ส.ส.ประเภท 2 (ส.ส.แต่งตั้ง) , และกำหนดให้มี 2 สภา คือสภาผู้แทนราษฎร และสภาอาวุโส

 

(คลิป) "นักวิชาการ" ปลุกประวัติศาสตร์ ศึกษาสมาชิกคณะราษฎร

 

          นายธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์สถาบันรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ผู้ดำเนินรายการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การเสวนาสาธารณะครั้งนี้ว่า เป็นหนึ่งในซีรีย์ของการจัดเสวนาเกี่ยวกับคณะราษฎร โดยคณะราษฎรในอดีตก็มีบุคคลจำนวนมากที่เกี่ยวข้อง แต่ที่ผ่านมาในการศึกษาเราอาจพูดถึง คนในคณะราษฎรเพียงไม่กี่คน ดังนั้นในการจัดเสวนาจึงเป็นการพยายามพูดถึงบุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้องที่เป็นสมาชิกคณะราษฎร อย่างเช่น นายควง อภัยวงศ์ หลายคนก็ไม่เคยรู้จักและไม่รับรู้ว่าเป็นสมาชิกคณะราษฎรด้วย โดยการจัดเสวนาก็จะเป็นการสร้างการรับรู้ของคนในการศึกษาอดีตให้มากยิ่งขึ้น

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ