ข่าว

สุดารัตน์ ประชุมสัญจร ส.ส.อีสานครั้งที่1เร่งแก้แล้ง 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สุดารัตน์ ประชุมสัญจร ส.ส.อีสานครั้งที่1 เร่งแก้ปัญหาภัยแล้ง ประกาศพื้นที่ทุ่งกุลาให้เป็นทุ่งกุลาเขตพัฒนาพิเศษหรือTSA ย้ำแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลก

ร้อยเอ็ด - โดย วินัย วงศ์วีระขันธ์ 

 

วันที่ 5 ส.ค.2562 - ที่ สำนักงาน นายศักดา คงเพชร สส.ร้อยเอ็ด (พรรคเพื่อไทย ) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย พร้อมแกนนำพรรค ได้จัดประชุม ส.ส.สัญจร ภาคอีสาน ครั้งที่ 1 โดยมี ส.ส.พรรคเพื่อไทย จังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ และขอนแก่น เข้าร่วมนำเสนอความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องให้และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง และแนวทางแก้ไข

สุดารัตน์ ประชุมสัญจร ส.ส.อีสานครั้งที่1เร่งแก้แล้ง 

จากนั้น คุณหญิงสุดารัตน์ ได้นำคณะ ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์ภัยแล้ง ที่ลำเสียวใหญ่ บ้านเมืองบัว ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่ง อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อรับทราบปัญหาความเดือดร้อนของชาวนา

 

สุดารัตน์ ประชุมสัญจร ส.ส.อีสานครั้งที่1เร่งแก้แล้ง 

 

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ประธาน คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าวันนี้คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ได้ลงพื้นที่ทุ่งกุลาร้องให้ ประชาชนคิด เพื่อไทยทำด้วย Project เพื่อไทยสร้าง เป้าหมาย เปลี่ยนทุ่งกุลาร้องให้ เป็นทุ่งกุลามั่งมี โดยการประกาศพื้นที่ทุ่งกุลาให้ เป็นทุ่งกุลาเขตพัฒนาพิเศษ ทุ่งกุลา Special area หรือ ( TSA) เพื่อพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงแห่งนี้ เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลก ให้เป็นพื้นที่ที่พลิกฟื้นชีวิตเกษตรกรสร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจที่ดีให้ประเทศ

 

สุดารัตน์ ประชุมสัญจร ส.ส.อีสานครั้งที่1เร่งแก้แล้ง 

สุดารัตน์ ประชุมสัญจร ส.ส.อีสานครั้งที่1เร่งแก้แล้ง 

โดยการดำเนินการ เติมน้ำให้พอเพียงต่อการผลิตอย่างยั่งยืน รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ มีเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่ชลประทานของพื้นที่ภาคอีสาน จาก 12% เป็น 75 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่การเกษตร 57.75 ล้านไร่

 

ประกอบด้วย โครงการโขง เลย ชี มูล ซึ่งจะทำให้เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 30 ล้านไร่ โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 แหล่งน้ำ โดยจัดงบประมาณผ่านตรงไปยังประชาชน ให้จัดทำแหล่งน้ำประจำหมู่บ้านของตนเอง เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตร โครงการกักเก็บน้ำใต้ดินหรือธนาคารน้ำใต้ดิน ทำฝายกักเก็บน้ำในแม่น้ำชี แม่น้ำมูล ลำน้ำยัง ลำน้ำเสียว และลำน้ำอื่นๆ เป็นช่วงๆ ตลอดลำน้ำ รวมทั้งทำแก้มลิงเพิ่มเติม และเขื่อนขนาดเล็ก โดยใช้ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้า

 

การเพิ่มมูลค่า ของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา โดยการยกระดับคุณภาพ การผลิตข้าวหอมมะลิออแกนิค ให้รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนอย่างเต็มที่ ยกระดับราคาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาให้สูงขึ้นอย่างยั่งยืน ทำ Thailand แบรนด์ ของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาโดยรัฐ เพื่อรับรองคุณภาพแหล่งผลิต GI รวมทั้งการทำแพ็คกิ้งการทำการตลาด ตลอดจนการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ ยกระดับศักยภาพของเกษตรกรทุ่งกุลาให้มีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เป็นประโยชน์ในการเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย ตั้งแต่กระบวนการปลูก การแปรรูป ไปจนถึงการตลาดเชื่อมทุ่งกุลา กับตลาดโลก ซึ่งมีเป้าหมายยกระดับรายได้ของเกษตรกรภาคอีสาน รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของเกษตรกรภาคอีสาน พลิกแผ่นดินที่แห้งแล้งของภาคอีสานให้เป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับประเทศและประชาชนต่อไป

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ