ข่าว

ปิดตำนานอันซีน'อควาเรียม''นิวเวิลด์'บางลำพู

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ปิดตำนานอันซีน'อควาเรียม'บางลำพู ฉากสุดท้ายฝูงปลาห้าง'นิวเวิลด์' : สำนักข่าวเนชั่น โดยธนัชพงศ์ คงสาย

�������������� กระฉ่อนโลกออนไลน์ทั้งไทยและเทศมานานหลายปี จนถูกขนานนามเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยว "อันซีนไทยแลนด์" ใจกลางเมืองกรุง ภายหลังมีชาวบ้านในพื้นที่นำปลาสารพัดสายพันธุ์เข้ามาปล่อยไว้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ "ระบบนิเวศ" ขนาดเล็ก แต่ที่สุดแล้วกลับกลายเป็น "บ่อเลี้ยงปลา" ขนาดใหญ่ในพื้นที่ 500 ตารางเมตร บริเวณใต้ซากอาคารร้างห้างสรรพสินค้า "นิวเวิลด์" ย่านบางลำพู
�� �
�������������� ถึงแม้บรรยากาศโดยรอบ "บ่อปลานิวเวิลด์" จะไม่สวยงามเช่นเดียวกับสถานที่แสดงพันธุ์ปลาแห่งอื่น แต่สิ่งมีชีวิตหลายพันตัวที่แหวกว่ายภายในอาคารร้างแห่งนี้ก็ติดอันดับเรื่อง "แปลก" ที่ชาวไทยและชาวต่างชาติต้องแวะเวียนมาพิสูจน์ความจริง เพราะภายนอกห้างนิวเวิลด์แทบดูไม่ออกว่าภายในอาคารทรุดโทรมจะมีฝูงปลาสวยงามอยู่อาศัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลานิลแดง ปลานิลดำ ปลาคาร์พ ปลาดุก ปลาทับทิม ต่างพากันยึดแอ่งน้ำขยายเผ่าพันธุ์เติบโตเต็มพื้นที่ชั้นล่างของอาคาร จนมีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นสถานที่ "อะเมซิ่ง" แห่งใหม่ย่านบางลำพู พร้อมตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่าเป็น "วังมัจฉา" ของเขตพระนคร
�� �
�������������� เมื่อเปิดประวัติความเป็นมา"อควาเรียม" แห่งนี้ เริ่มต้นจากการเปิดตัวห้างสรรพสินค้านิวเวิลด์ ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่ได้รับความนิยมเมื่อ 30 ปีก่อน ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนสี่แยกบางลำพู แต่ห้างนิวเวิลด์ต้องปิดตัวลงในปี 2540 เนื่องจากพบว่ามีการต่อเติมอาคารผิดไปจากแบบที่ได้ขออนุญาตไว้ จากเดิมที่ขอก่อสร้างเป็นอาคาร 4 ชั้น แต่มีการลักลอบก่อสร้างเป็น 11 ชั้น ทำให้ กทม.ต้องเข้ามารื้อถอนอาคารชั้นที่ 5-11 แต่ระหว่างนั้นตัวอาคารชั้นบนได้ทรุดตัวพังลงมาเมื่อปี 2547 เกิดช่องโหว่บนหลังคา เมื่อฝนตกก็มีน้ำขังพื้นที่ชั้นล่างของห้าง กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงขนาดใหญ่ ชาวบ้านจึงได้นำปลาหางนกยูง และเปลี่ยนเป็น "พันธุ์ปลา" ชนิดอื่นมาปล่อยไว้ เพื่อช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลาย แต่ปลาหลายตัวได้เพิ่มสมาชิกในเวลารวดเร็ว ขณะเดียวกันมีผู้นำปลามาปล่อยเพิ่มเติม ทำให้ห้างนิวเวิลด์เปลี่ยนสภาพกลายเป็น "ห้างปลา" ในเวลาต่อมา
�� �
�������������� ทว่า เมื่อสำนักงานเขตพระนคร ได้ประกาศสั่งปิดตึกร้างห้างสรรพสินค้านิวเวิลด์ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2557 แต่ยังมีบุคคลภายนอกลักลอบเข้ามาให้อาหารปลา สำนักงานเขตจึงต้องหาวิธีการเคลื่อนย้ายปลาออกจากพื้นที่ใต้อาคารทั้งหมด โดยประสานไปยัง "กรมประมง" ให้มาช่วยเคลื่อนย้ายนำปลาไปอยู่ในความดูแล ซึ่งก่อนหน้านี้ กทม.ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบคุณภาพน้ำเพื่อวัดค่าออกซิเจนก็พบว่ามีปริมาณออกซิเจนเพียง 1.26 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 3 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อปลาเหล่านี้ในอนาคต
�� �
�������������� "สมชัย ไตรพิทยากุล" ผู้อำนวยการเขตพระนคร กล่าวว่า เมื่อศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำฯ กรมประมง เคลื่อนย้ายปลาไปอนุบาลที่ จ.พระนครศรีอยุธยา จ.สมุทรปราการ และจ.ปทุมธานี แล้ว สำนักงานเขตพระนครจะเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ทั้งหมด ก่อนโรยปูนขาว และฉีดหมอกควันเพื่อป้องกันยุง แต่หากมีฝนตกลงมาอีกเพราะหลังคายังเปิดอยู่ ทางสำนักงานเขตพระนครก็ต้องเข้ามาสูบน้ำออกให้เท่านั้น ส่วนการแก้ไขระยะยาวอยู่ที่เจ้าของอาคารว่าจะเข้าปรับปรุงอาคารหรือไม่
�� �
�������������� "วีระ วัชรกรโยธิน" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสมุทรปราการ กล่าวถึงการย้ายฝูงปลาที่ห้างสรรพสินค้านิวเวิลด์ ว่า สำนักงานเขตพระนครได้ประสานมายังกรมประมง เพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องการเคลื่อนย้ายปลา กรมประมงจึงได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสมุทรปราการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดปทุมธานี และสถาบันวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดอยุธยาเข้ามาดำเนินการ ส่วนสาเหตุที่ต้องรีบมาที่ห้างแห่งนี้ เพราะเป็นห่วงเรื่องน้ำภายในอาคารที่จะแห้งลง รวมถึงเรื่องอาหารที่จะส่งผลต่อสุขภาพของปลา จึงได้ข้อสรุปว่าในช่วงวันที่ 12-14 มกราคม ศูนย์วิจัยฯ จะต้องดำเนินการตามแผนให้แล้วเสร็จ
�� �
�������������� ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสมุทรปราการ อธิบายขั้นตอนการเคลื่อนย้ายปลา ว่า ปลาที่อยู่ในนี้มีอยู่ประมาณ 3,000 กว่าตัว เริ่มต้นจะใช้อวนจับปลามากั้นพื้นที่โดยรอบ แล้วค่อยๆลดวงให้แคบลง ก่อนนำสวิงมาตักปลาตัวใหญ่ๆ แล้วนำออกไปใส่ยังกระบะเติมน้ำในรถหกล้อที่รออยู่ด้านนอก ขณะเดียวกันจะทยอยระบายน้ำภายในอาคาร ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องพยายามตีวงเพื่อนำปลาขนาดใหญ่ออกไปก่อน แต่ก็มีปัญหาเพราะในพื้นที่เป็นอาคารที่มีเสาบัง ทำให้ในบางจุดใช้อวนเข้าได้ยาก
�� �
�������������� ขณะที่ข้อกังวลของหลายฝ่ายเกี่ยวกับอนาคตของปลาทั้งหมดนั้น ทางศูนย์วิจัยฯ ยืนยันว่า ปลาที่ได้มาทั้งหมดจะถูกนำไปพักฟื้นที่ศูนย์วิจัยฯ ที่ จ.สมุทรปราการ จ.ปทุมธานี และจ.พระนครศรีอยุธยา ในอีกประมาณ 3 สัปดาห์ข้างหน้า จากนั้นจะคัดเลือกปลาที่เหมาะสม เพื่อนำไปเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ส่วนปลาที่เหลือจะนำไปปล่อยยังอ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำธรรมชาติต่อไป
�� �
�������������� ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับชาวบ้านที่อาศัยบริเวณย่านบางลำพู ถึงการปิดฉากวังมัจฉาก็พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่า อยากให้คนกับปลาต่างคนต่างอยู่ เพราะปลาที่นี่ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ชุมชนแถวนี้ ถ้าปลายังอยู่อย่างน้อยก็ช่วยกำจัดยุงได้ ถ้าใครอยากเลี้ยงก็มีคนนำอาหารปลาไปให้ แต่ถ้าฝนตกลงมาอีกน้ำก็จะขังอีกแน่นอน
����� �
�������������� คุณลุงวัย 64 ปี ซึ่งเป็นทั้งผู้พักอาศัยและผู้ค้าในย่านบางลำพู� ในฐานะผู้ริเริ่มความคิดนำปลามาปล่อย เปิดเผยว่า "ซื้อปลามาหลายตัวก็หมดเงินไปหลายตังค์ ตอนนั้นมียุงเยอะ จึงคิดว่าน่าจะนำปลามาปล่อย ก็ไปถามเจ้าของห้างเขาก็อนุญาต จึงเริ่มปล่อยปลาหางนกยูง และปลาอื่นๆ เพื่อไปกินลูกน้ำ แต่วันนี้เมื่อปลาไม่อยู่เเล้วก็ไม่ซีเรียสอะไร ถ้าเป็นแบบนี้ก็จบ แต่พร้อมสร้างต่อ"
���� �
�������������� "เมื่อวานได้โทรศัพท์คุยกับเจ้าของที่แล้วว่า ถ้าฤดูฝนมีน้ำขังขึ้นมาอีกแต่ไม่มีใครมาทำอะไร ก็จะนำปลาคาร์พมาปล่อยอีก 3,000 ตัว ให้เป็นอะเมซิ่งพระนคร เจ้าของที่ก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่คิดว่าเรื่องนี้ต่างคนต่างอยู่จะดีที่สุด"
�� �
�������������� "สมหมาย ชื่นฟัก" หรือลุงโย่ง อายุ 63 ปี ผู้ดูแลปลาในสถานที่แห่งนี้ตั้งแต่มีผู้นำปลามาปล่อยทิ้งไว้เมื่อปี 2547 เปิดใจว่า จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่กรมประมง ถึงแนวทางการดำเนินงานหลังจากนี้ เมื่อทราบว่าเจ้าหน้าที่จะนำไปพักฟื้นก่อนปล่อยลงสู่แหล่งธรรมชาติก็รู้สึกดี เพราะคิดว่าปลาทั้งหมดน่าจะอยู่ดีกว่าอยู่ที่นี่ แต่ก็รู้สึกใจหายเหมือนกันเพราะมีความผูกพันกับปลาเหล่านี้มานานนับสิบปี �
�� �
�������������� ด้าน "สมนึก ชื่นฟัก" ภรรยาลุงโย่ง วัย 59 ปี กล่าวว่า เมื่อปลาย้ายไปก็ไม่รู้สึกอะไร ถ้าเขาเอาไปเลี้ยงให้ดีก็ดี แต่ถ้าเอาไปตายก็ไม่ชอบ เพราะอยู่ที่นี่ปลาก็ไม่ได้ไปกวนใคร ที่ผ่านมาถ้าคนไม่ไปยุ่งกับปลาก็คงไม่มีปัญหา แต่ที่มีปัญหาเพราะคนไปยุ่งกับมันเอง
�� �
�������������� ขณะที่ "จินตนา รัชตวิทย์" แม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยวด้านหลังห้างนิวเวิลด์ รู้สึกว่า ช่วงมีปลาอยู่เป็นเรื่องดีที่ไม่มียุง ถ้าปลาไม่อยู่แล้วคงเอายาฉีดยุงมาฉีดแทน แต่ยังรู้สึกดีที่มีปลาอยู่ดีกว่า เพราะที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีคนเข้าไปข้างในมากมาย เขาอยู่เเค่ริมบ่อปลา บางคนก็เอาอาหารปลามาฝากให้แม่ค้าเอาไปให้ปลาแทน หรือบางคนก็ฝากเงินเพื่อซื้ออาหารปลาให้ การมีปลาอยู่จึงไม่มีข้อเสียอะไรเลย
���� �
�������������� "รู้สึกเสียดายถ้าปลาไม่อยู่เเล้ว ฉันซื้อปลามาปล่อยเองด้วย ให้มากินลูกน้ำ ถ้าฝนตกอีกก็ไม่รู้จะเป็นอย่างไรก็อาจนำปลามาปล่อยอีกก็ได้ (หัวเราะ)" คุณป้าวัย 55 ปี กล่าว
�� �
�������������� "จรรยา อำรุงจิตชัย" เจ้าของร้านกาแฟย่านบางซ่อน เขตบางซื่อ วัย 59 ปี เล่าถึงประสบการณ์เคยท่องเที่ยวที่ห้างแห่งนี้เมื่อ 23 ปีที่แล้ว ว่า รู้สึกสนุกตื่นเต้นเพราะเป็นห้างใจกลางกรุงที่ทันสมัยและใหญ่ในสมัยนั้น ซึ่งห้างแห่งนี้มีความพิเศษตรงที่มีลิฟต์แก้วทั้งภายในและภายนอกห้าง ดูแปลกตา และทันสมัยที่สุดในสมัยนั้นรวมถึงยังขายสินค้าราคาไม่แพง แต่เมื่อห้างปิดตัวลงก็รู้สึกใจหาย รู้สึกเสียดาย และรู้สึกว่าห้างยังมีประโยชน์ เพราะมีปลามาอาศัยอยู่ทำให้ดูไม่รกร้าง ดูแปลกตา ซึ่งตนเคยไปดูปลาที่นี่มาแล้ว
���� �
�������������� "เมื่อกรมประมงกับ กทม. เข้ามาเคลื่อนย้ายปลา และปิดตำนานวังมัจฉานั้น ก็รู้สึกใจหาย เพราะก็คล้ายๆ ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเล็กๆ บริเวณนั้น แต่ก็เข้าใจว่าอาคารห้างเป็นตึกร้าง อาจเกิดอันตรายจากซากห้างที่เคยถล่มได้ เพราะดูจากภายนอกอาจไม่สวยงามเหมือนในอดีตแล้ว" คุณป้าจรรยา ระบุ
�� �
�������������� ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องราว "ห้างปลานิวเวิลด์" ภายหลังเดินทางผ่านเวลาจนเป็นหนึ่งสถานที่ที่ได้รับความนิยมจากคนทุกวัย ถึงแม้ศูนย์การค้านิวเวิลด์จะเลิกกิจการตามสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น แต่หลายปีต่อมาสถานที่แห่งนี้ยังอยู่ในความ "ประทับใจ" ของคนยุคปัจจุบัน ที่ได้โอกาสเข้ามา "ดูแล" เพื่อนร่วมโลก ถึงแม้จะเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงก็ตาม แต่ผู้คนเหล่านี้จะไม่ลืม "วันสุดท้าย" มหากาพย์ตำนาน "ห้างนิวเวิลด์" อย่างแน่นอน
�� �
�������������� ห้างสรรพสินค้าห้าง "นิวเวิลด์" เป็นของนายแก้ว ผูกทวนทอง เจ้าของกิจการบริษัท แก้วฟ้าพลาซ่า จำกัด เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2525 เป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในฝั่งพระนคร ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่ได้รับความนิยมมากจากคนหนุ่มสาวในสมัยนั้น ภายในมีร้านขายสินค้า สวนอาหาร สวนสนุก โดยเฉพาะจุดเด่นมี "ลิฟต์แก้ว" ไว้ให้บริการ ซึ่งในยุครุ่งเรืองของห้างแห่งนี้มักเป็นสถานที่จัดรายการดนตรี และฟรีคอนเสิร์ตของศิลปินดังเช่นกัน
�� �
�������������� ห้างนิวเวิลด์ได้ก่อสร้างเป็นอาคาร 11 ชั้น ทั้งที่ได้รับอนุญาตจากกทม.ให้ก่อสร้างเพียง 4 ชั้น ซึ่งถือเป็นการก่อสร้างผิดแบบ ศาลฎีกาจึงได้พิพากษาให้ห้างรื้อถอนชั้น 5-11 ซึ่ง กทม.ได้ปิดประกาศให้รื้อถอนอาคารเมื่อปี 2540 สมัยที่นายพิจิตต รัตตกุล เป็นผู้ว่าฯ กทม. โดย กทม.ได้รื้อถอนอาคารเอง และต้องเรียกเก็บเงินค่ารื้อถอนอาคารจากเจ้าของประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการบังคับคดี

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ