ข่าว

"เพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเดล รุ่นที่ 5"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"เพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเดล รุ่นที่ 5"

สมาคมเพื่อนชุมชน จับมือ ม. ธรรมศาสตร์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ (วว.)สานต่อ "เพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเดล รุ่นที่ 5" ปั้นวิสาหกิจชุมชนด้วยนวัตกรรม

         ผู้สื่อข่าวรายว่า เมื่อวันที่ 25 ก.พ.63 ณ โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ จ.ระยอง สมาคมเพื่อนชุมชน มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และภาคีเครือข่าย ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) "โครงการสมาคมเพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเตล" รุ่นที่ 5/2563"พัฒนาวิสาหกิจชุมชนต้นแบบพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มยึดความสามารถการแข่งขันเชิงการค้าสู่มาตรฐานสากล ปีนี้มีวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมพัฒนา 9 กลุ่ม อาทิ อาหารทะเลสด ผลไม้กวน น้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่ ผ้าหมักน้ำนมข้าว น้ำข้าวไพตนมสด และสินค้าเกษตรแปรรูป เป็นต้น

          นายวริทธิ์ นามวงษ์ นายกสมาคมเพื่อนชุมชน กล่าวว่า สมาคมเพื่อนชุมชน ก่อตั้งซึ้นจากความร่วมมือของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ มีเป้าหมายให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งหนึ่งในภารกิจหลักของสมาคมเพื่อนชุมชน คือ การวางรากฐานอาชีพให้ตนในชุมชน ตามหลักการพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและชุมชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญสูการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ 4(Symbiosis) โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) ดำเนิน โครงการเพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเดล" ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 5 นับตั้งแต่ ปี 2559 โดยใช้องค์ความรู้ผ่านนักศึกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำนักวิจัยลงพื้นที่ ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน มสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ก่อเกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของวิเจาหกิจชุมชน"นักศึกษาจะต้องลงทำงานจริงร่วมกับวิสาหกิจชุมชน ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน เพื่อเรียนรู้ปัญหาของชุมชน นำความรู้จากห้องเรียนไปช่วยแก้ปัญหา หาจุดอ่อนของชุมชน ร่วมกันหาตลาดและปรับปรุงสินค้า วางระบบจัดการสต๊อกสินค้า และวางระบบให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ความยากอยู่ที่การทำให้ชุมชนเห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง และยินขอมที่จะทำต่อไปหลังสิ้นสุดโครงการเพื่อจะได้ไม่กลับไปอยู่ในวงวนเก่าๆ ซึ่งเป็นปัญหาของวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ทั่วประเทศ" นายวริทธิ์ กล่าว

         โครงการเพื่อชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเตล ยังได้เชื่อมโยงไปยังผู้ประกอบการ ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ และภาคีเครือข่ายฯ ได้ร่วมกันเป็น "บริษัทพี่เลี้ยง" ให้กับวิสาหกิจชุมชนแต่ละกลุ่ม โดยทำงานร่วมกับนักศึกษา และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ ในการยกระดับศักยภาพ ทั้งด้านบริหารจัดการ การปรับปรุงคุณภาพสินค้า และการบริการสร้างรายได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อเพิ่มยึดความสามารถในการแข่งขันเชิงการค้าให้กับวิสาหกิจชุมชน จ.ระยอง สู่มาตรฐานสากล ตลอดจนร่วมกันขับเคลื่อนต้นแบบการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town)ให้กับ จ.ระยอง ต่อไป นายวริทธิ์ กล่าว

         สำหรับพิธีลงนามความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในครั้งนี้ แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันสร้างวิสาหกิจชุมชนให้มีรากฐานที่เข้มแข็ง และสามารถพึ่งพาตนเองไดต้อย่างยั่งยืน โดยนำองต์ความรู้ท้องถิ่นมาต่อยอดด้วยเทคโนโลยีและการบริหารที่เป็นระบบ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชนอีกด้วย...

"เพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเดล รุ่นที่ 5" "เพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเดล รุ่นที่ 5"

"เพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเดล รุ่นที่ 5" "เพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเดล รุ่นที่ 5"

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ