ข่าว

ระดมความคิดเห็น แก้วิกฤติราคายางพารา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ระดมความคิดเห็นจากนักการเมือง นักวิชาการ หน่วยงานเกี่ยวข้องยางพารา แกนนำเรียกร้องปัญหาราคายาง ทางรอดชาวสวนยางพารา หลังจากสถานการณ์ต่างรุมเร้า ฉุดราคายางตกลงเป็นประวัติศาสตร์พาราไทย เพื่อความอยู่รอดของชาวสวนยาง ล่าสุดจีน ประเทศสั่งซื่อยางรายใหญ่ของไทย

 

 

             เมื่อเวลา 08.30 น.วันที่ 17 ก.พ. 2563 ที่ โรงแรมเรือรัษฎา อ.เมืองตรัง เปิดเวทีระดมหลายภาคส่วนเกี่ยวข้องยางพารา เปิดเวที รับฝังความคิดเห็นของประชาชน ทางเลือก ทางรอด ชาวสวนยาง กรณีปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางพาราเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นระบบ โดยมี นายพยุงศักดิ์ อภิรัตนกุล ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย นายสุนทร รักษ์รงค์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย  นายขจรจักษณ์ นวลพรหมสกุล รองผู้การการยางแห่งประเทศไทย นายกิจ หลีกภัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง นางสาวสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ ส.ส.เขต 3 ตรัง นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย  ส.ส.เขต 2  ร.ศ.อาซีซัน แกสมาน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพาราพร้อมด้วยตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวแทนภาคประชาชนจากทั่วทั้งจังหวัดตรัง เข้าร่วม โดยมีเครือข่ายชาวสวนยาง และผู้มีอาชีพทำสวนยางพารา ทั้งใน จ.ตรัง และ จ.ใกล้เคียง เข้าร่วมการเปิดเวทีครั้งนี้กว่า 200 คน

ระดมความคิดเห็น แก้วิกฤติราคายางพารา

ระดมความคิดเห็น แก้วิกฤติราคายางพารา

ระดมความคิดเห็น แก้วิกฤติราคายางพารา

ทั้งนี้ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กล่าวว่า การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้นเป็นความตั้งใจของ ส.ส. ในพื้นที่ตรัง นำโดย ส.ส.สุณัฐชา ส.ส.เขต 3 ได้ปรึกษาหารือกับตนและนายกิจ หลีกภัย ประธานการยางแห่งประเทศไทย เห็นปัญหาสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำ แม้จะมีนโยบายประกันรายได้ช่วยอยู่บ้างแล้ว แต่ชาวบ้านเองอยากเห็นราคายางพาราที่สูงขึ้นและยั่งยืนกว่านโยบายประกันรายได้ ซึ่งเห็นกันว่าหลายจังหวัดปัญหาร้อนถึงขนาดที่มีการจับกลุ่มชุมนุมเรียกร้องก่อม็อบบ้าง จึงมองว่าทางจังหวัดตรังน่าที่จะมาคุยกันเสียก่อน ได้เชิญตัวแทนภาคประชาชนที่ได้รับผลผลกระทบ เช่น สหกรณ์โรงรม ชาวบ้านกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างผู้ว่าการยาง หน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ซึ่งเรื่องที่คุยแยกแยะออกเป็น 3-4 เรื่อง แบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เช่น การแก้ไขปัญหาราคายาง สิทธิประโยชน์จากที่ดินทำกิน การแปรรูปยางพารา คุณภาพชีวิตของเกษตรชาวสวนยาง โดยกระบวนการจะนำนักวิชาการจาก มอ.มาช่วย ช่วงบ่ายจะมีการนำเสนอต่อที่ประชุมในเชิงนโยบาย การการชี้แนะในเชิงนโยบาย ซึ่งเสนอหน่วยงานของรัฐ  อีกส่วนหนึ่งเป็นการเสนอแนะทางนโยบายซึ่งจะเสนอให้ทางรัฐบาลโดยตรง โดยข้อเสนอทั้งหมดจะสรุปประเด็นหลักๆ เหลือกระดาษ A4 แล้วจะฝาก ส.ส.ไปเสนอตรงต่อรัฐบาล

 จากที่พรรคประชาธิปัตย์และพรรคพลังประชารัฐเคยรับปากจะประกันราคายาง 60 บาท หรือ 65 บาท นั้นทุกวันนี้ได้ทำแล้ว แต่ไม่ใช่เรื่องประกันราคา แต่เป็นประกันรายได้ ซึ่งสามารถย้อนไปดูนโยบายของพรรคได้ ประกันรายได้ยางพารากิโลกรัมละ 60  ประกันรายได้ปาล์มกิโลกรัมละ 4 บาท ได้ตั้งแต่ก่อนครบ 90 วันด้วยซ้ำไป ซึ่งการประกันรายได้คนที่ไม่มีเอกสารสิทธิก็ได้เป็นประวัติศาสตร์ แต่บอกว่ามีประกันรายได้แต่ไม่ใช่สวัสดิการช่วยได้ชั่วครั้งชั่วคราว เรื่องที่ยั่งยืนก็คือต้องทำให้รายได้ปรับตัวขึ้นมา ซึ่งวันนี้มารับข้อเสนอว่ามีอะไรบ้างที่สามารถทำให้ยางพาราปรับราคาขึ้นมา

ระดมความคิดเห็น แก้วิกฤติราคายางพารา

ระดมความคิดเห็น แก้วิกฤติราคายางพารา

ระดมความคิดเห็น แก้วิกฤติราคายางพารา

 ส่วนที่ประเทศจีนได้ปิดการรับซื้อยางนั้น ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ไม่ค่อยเป็นใจกับราคายางพาราเท่าไหร่ มีปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจโลกด้วย เรื่องของสถานการณ์การค้า และมามีเรื่องคมนาคมที่ต้องหยุดชั่วคราวเพราะมีเรื่องของเชื้อไวรัสโควิด 19 ด้วย  แต่หวังว่าเรื่องนี้คงเป็นปัญหาระยะสั้น รัฐบาลต้องเตรียมมาตรการณ์ในระยะถัดต่อจากนี้ไปต้องทำให้ยางพาราขึ้นราคา ซึ่งมี 2 ทาง คือ ส่งเสริมตลาดต่างประเทศ ซึ่งมีการไปติดต่อทำสัญญาไว้หลายที่แต่ยังไม่ส่งผลทันที   2. การกระตุ้นใช้ยางในประเทศ เช่นโครงการใช้เงินของรัฐมาจ้างสหกรณ์รมยาง มาทำแบริเออยาง หลักกิโลยาง กรวยยาง เป็นต้น แต่มันยังมีความซับซ้อนในปัญหาเชิงนโยบาย ตรงนี้ถ้าทำได้สหกรณ์ที่รมยางที่ตรังเขารวมตัวกันบอกว่าหากได้งบประมาณนี้มาได้งานนี้มาเขาสามารถซื้อน้ำยางในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด ซึ่งในขณะนี้มีการติดต่อพูดคุยทุกตลาด ทั้งในอินเดีย ยุโรป สหรัฐ เท่าที่ทำได้แม้ในซีกแอฟฟริกาด้วย

ภาพ/ข่าว ถนอมศักดิ์ หนูนุ่ม ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จังหวัดตรัง

ระดมความคิดเห็น แก้วิกฤติราคายางพารา

ระดมความคิดเห็น แก้วิกฤติราคายางพารา

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ