ข่าว

นักวิชาการระบุรัฐหนุนโรงไฟฟ้าชีวมวลหวั่นตัวการก่อฝุ่นพิษ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักวิชาการระบุรัฐหนุนโรงไฟฟ้าชีวมวลหวั่นตัวการก่อฝุ่นพิษทำคนอีสานตายผ่อนส่ง

 

 

                   จากกรณีปัญหาฝุ่นพิษ พีเอ็ม 2.5 ที่กำลังเป็นที่วิตกกังวลของคนไทยอยู่ขณะนี้ รศ.ดร.สถาพร เริงธรรม นักวิชาการจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝุ่นพิษที่มีอยู่ในปริมาณมากกระจายทั่วกรุงเทพฯและภูมิภาคต่างๆ ทั้งเหนือและอีสานขณะนี้ปัญหาใหญ่คือการเผาไหม้ โดยเฉพาะในภาคอีสานคือการเผาไหม้จากการตัดอ้อยเพื่อเก็บเข้าโรงงาน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณฝุ่นฟุ้งกระจายเต็มพื้นที่พร้อมเกิดฝุ่นดำปลิวกระจายไปทั่วบริเวณ

จากนโยบายของรัฐที่มีแผนให้ก่อสร้างโรงงานน้ำตาลพ่วงโรงไฟฟ้าชีวมวลอีก 28 แห่งในภาคอีสานและมีอุตสาหกรรมชีวภาพหรือ ไบโอฮับอีก 1 แห่ง ก็ยิ่งจะก่อให้เกิดปัญหาหนักขึ้นอีก ซึ่งนั่นหมายถึงจะต้องมีการเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยอีกเป็นหลายสิบล้านไร่เพื่อป้อนโรงงานและสิ่งที่จะตามมาคือการตัดอ้อยส่งโรงงานในช่วงฤดูหีบอ้อย ผลกระทบที่ประชาชนจะได้รับคือปัญหาฝุ่นละอองจากการเผาอ้อยก่อนตัด ซึ่งแม้จะมีมาตรการห้ามแต่เพราะต้นทุนที่น้อยกว่าจากปัญหาแรงงานขาดแคลนก็จะทำให้เกษตรกรเลือกวิธีการเผามากกว่าใช้แรงงานคนตัดอยู่ดี

 

นักวิชาการระบุรัฐหนุนโรงไฟฟ้าชีวมวลหวั่นตัวการก่อฝุ่นพิษ

 

“ภาคอีสานรัฐมีนโยบายขยายพื้นที่โรงงานน้ำตาลพ่วงโรงไฟฟ้าชีวมวลอีก 28 แห่ง และมีอุตสาหกรรมไบโอฮับ 1 แห่งอยู่ที่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ทำให้มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยอีก 7.75 ล้านไร่ เพิ่มผลผลิตอ้อย 82 ล้านตัน ปัจจุบันอีสานมีโรงงานน้ำตาล 2 0 โ ร ง ง า น มี พื้ น ที่ ป ลู ก อ้ อ ย 5 . 54 ล้านไร่ ผลิตไฟฟ้าชีวมวล 631 เมกกะวัตต์ เอทานอล 1.4 ล้านลิตร/วัน แต่ผลผลิตอ้อยที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอจะป้อนให้กับโรงงานที่มีอยู่เดิม ซึ่งส่งผลกระทบกับชีวิตประชาชนในฤดูหีบอ้อยมาก”รศ.ดร.สถาพร กล่าว 

และว่า ยกตัวอย่างกรณีโรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่งใน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี กำลังการ ผลิตประมาณ 24,000 ตันอ้อย/วัน อาจต้องใช้พื้นที่ปลูกอ้อย ประมาณ 360,000 ไร่ ซึ่งเท่ากับพื้นที่ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งอำเภอ ผลการศึกษาของกรณีอ.บ้านผือ พบว่า พื้นที่สำหรับปลูกอ้อยร้อย ละ 20 เป็นการถางและบุกเบิกป่าใหม่ (ป่าหัวไร่ปลายนาและ ป่าสาธารณะ) หากกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นกับพื้นที่อื่น ๆ ภาคอีสานจะ สูญเสียป่าหัวไร่ปลายนาและป่าสาธารณะของชุมชนถึง 432,000 ไร่ ซึ่งเทียบเท่ากับพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพานหรือประมาณ 415,439 ไร่

นักวิชาการระบุรัฐหนุนโรงไฟฟ้าชีวมวลหวั่นตัวการก่อฝุ่นพิษ

 

“เมื่อนโยบายของรัฐที่ออกมาแล้วจะส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม สิ่งที่อยากจะเสนอคือ การกำหนด Zoning พื้นที่เหมาะสมกับการปลูกอ้อยที่ไม่ส่งผลกระทบกับระบบนิเวศ เช่นไม่ให้ปลูกอ้อยในพื้นที่นา และไม่ให้ส่งผลกระทบกับลำน้ำเรื่องสารเคมีที่จะไหลลงไปในลำน้ำและจะส่งผลกระทบกับพันธุ์พืชและสัตว์น้ำในอนาคต รวมถึงป่าหัวไร่ปลายนาก็จะหายไป แหลง่น้ำใต้ดินน้ำหน้าดินจะลดลง ปัญหาสุขภาพจากสารเคมี”รศ.ดร.สถาพร กล่าว


นักวิชาการระบุรัฐหนุนโรงไฟฟ้าชีวมวลหวั่นตัวการก่อฝุ่นพิษ

นักวิชาการระบุรัฐหนุนโรงไฟฟ้าชีวมวลหวั่นตัวการก่อฝุ่นพิษ

 

จิติมา จันพรม ผู้สื่อข่าว ประจำจังหวัดขอนแก่น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ