ข่าว

วางแผนงานเข้มบริหารจัดการน้ำให้ฝ่าวิกฤตแล้ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จ.เลย หนึ่งในจังหวัดที่ประสบกับภัยแล้ง ฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ น้ำในอ่างแห้ง ประชาชนวิตกว่าจะเกิดภัยพิบัติแล้งหนักหรือไม่ 2563 นี้

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 15 ม.ค.63 ณ  สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย   นายประมวล  ลาภจิตต์ หน.สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารรณภัยจังหวัดเลย  กล่าวว่า   สถานการณ์ภัยแล้งปี 2563  นับว่ารุนแรงกว่าทุกๆปีที่ผ่านมากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้ง 19 จังหวัด   จ. เลย  จากการรายงานจากสถานีอุตุนิยมวิทยาเลยว่าตั้งแต่ตั้งสถานีฯมาเมื่อปี 2497 เพื่อตรวจอากาศและตรวจฝน  มีฝนเฉลี่ยคาบ 30 ปีคือ 1,237มม./ปี  ปรากฎว่าปี 2562 วัดฝนได้น้อยที่สุดคือวัดได้เพียง 625 มม.  นับว้าแล้งที่สุดกว่าทุกปีที่ผ่านมา   น้ำตารมลำห้วย หนอง คลอง บึงและอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 14  แห่งมีน้อยกว่าปกติอีกด้วย ประชาชนเป็นห่วงว่าจะมีน้ำอุปโภค-บริโภค

 

  เพียงพอหรือจะผ่านวิกฤตแล้งได้หรือไม่  เรื่องนี้ทางจังหวัดโดยนายชัยวัฒน์  ชื่นโกสุม  ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย  ได้มอบนโยบายให้ส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำดำเนินการบูรณาการร่วมกันเพื่อวางมาตรการป้องกัน  และแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบ     ตอนนี้เราปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำน้ำเลยฯ วันละ 70,000 -100,000 ลบ. ม./วัน ซึ่งอ่างน้ำน้ำเลย ที่ บ้านสวนปอ ต.แก่งศรีภูมิ อ.ภูหลวง จ.เลย มีความจุที่ 35 ล้าน ลบม. ณ  ปัจจุบันมีน้ำเหลือ 72% = 25.9 ล. ลบ.ม.  และทำการบริหารน้ำโดยเฉลี่ยปล่อยน้ำ เดือนละ 30 วัน × 100000 = 3 ล้าน ลบ.ม.    จาก เดือน มค.-มิ.ย.63   รวม 6 เดือนจะใช้น้ำ 18 ล้าน ลบ.ม.โดยประมาณ ปล่อยลงมาสู่แม่น้ำเลย  ลงมาหล่อเลี้ยงพื้นที่ อ.ภูหลวง  วังสะพุง  เมืองเลยและเชียงคาน  รวมทั้งสูบน้ำเข้าสระน้ำของการประปาส่วนภูมิจังหวัดเลย    เลี้ยง 49 ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงรอบนอก  ขณะที่ปัจจุบันมีน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยวันละ 20,000 - 30,000 ลบ.ม.  ที่ต้นน้ำยังมีป่าและชุ่มชื้นซึมเข้าอ่างฯ 

วางแผนงานเข้มบริหารจัดการน้ำให้ฝ่าวิกฤตแล้ง

วางแผนงานเข้มบริหารจัดการน้ำให้ฝ่าวิกฤตแล้ง

หน.สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย   กล่าอีกว่า   ส่วนน้ำในอ่างน้ำห้วยน้ำหมานตอนบน  อ.เมืองเลย จ.เลย ที่ปล่อยน้ำลงมาให้กับการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดเลยใช้เป็นน้ำประปาเลี้ยงเขตเทศบาลเมืองเลยและรอบนอกมาตลอด นั้น  ปัจจุบันมีน้ำอยู่ 17 % หรือ 4.7 ล้าน ลบ. ม.เอาเก็บสำรองไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน  สำหรับทั้ง 14 อำเภอก็ให้ใช้งบประมาณ จากงบภัยแล้ง 200 ล้านบาท    เข้าดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาล ฝาย ล้างเป่าบ่อบาดาลรวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำและอื่น ฯหมู่บ้านละ 1-3  แห่ง 

วางแผนงานเข้มบริหารจัดการน้ำให้ฝ่าวิกฤตแล้ง

 

ด้านการช่วยเหลือแก้ไขยังมีส่วนราชการทั้งเกษตร ชลประทาน การประปา ทำการขุดเจาะบ่อน้ำ ขุดลอกหน้าฝาย เป่า และมีชุดเผชิญเหตุหรือเคลื่อนที่เร็ว เมื่อพบการเผาป่า เผาอ้อย จะแจ้งเข้ามาจากนั้น พงส.จำไปตรวจและลงบันทึกดำเนินการตามกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM.2.5 ป้องกันมลพิษทางอากาศ รวมทั้งตั้งกลุ่มไลน์เพื่อแจ้งเบาะแส  คือกลุ่มไฟป่า เผาอ้อย ,กลุ่มภัยแล้ง,กลุ่มภัยพิบัติ  กลุ่มสาธารณภัย  แต่ละกลุ่มรับสมาชิกได้ถึง 5,000 คน , ขึ้น และให้แต่ละอำเภอและท้องถิ่นส่งเรื่องงบประมาณ โครงการแก้ปัญหาภัยแล้งมายังสำนักงานจังหวัดรวบรวมนำสู่การประชุม ครม.สัญจร ของบประมาณมาแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบต่อไป  ก็ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและประชาชนช่วยใช้น้ำอย่างประหยัดเกิดประโยชน์สูงสุด ตรวจสอบระบบรอยต่อ ท่อภายในบ้าน สำนักงาน ด้วย เมื่อเราวางมาตรการ โครงการบริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นระบบเชื่อว่าจะสามารถฝ่าวิกฤติแล้งปีนี้ไปได้

 

 

วางแผนงานเข้มบริหารจัดการน้ำให้ฝ่าวิกฤตแล้ง

บุญชู  ศรีไตรภพ จ.เลย  

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ