ข่าว

มอบเตาชีวภาพให้กับเกษตรต้นแบบ 32 รายที่เข้าร่วมโครงการ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มอบเตาชีวภาพให้กับเกษตรต้นแบบ 32 รายที่เข้าร่วมโครงการ

 

 

              ที่บริเวณห้องอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นายธนากร อึ้งจิตรไพรศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ​ ดร.วิภารัตน์​ ดีอ่อง​ รองผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ​ เดินทางมาเป็นประธานในพิธี มอบเตาชีวภาพให้กับเกษตรกรต้นแบบ จำนวน 32 ราย ที่เข้าร่วมโครงการ

โดยมี ผศ.ดร.เรืองเดช วงศ์หล้า อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ดร.จันทร์เพ็ญ ชุมแสง ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นายพยงค์ ยาเภา หน.สนง.จังหวัดอุตรดิตถ์พร้อมด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรต้อนแบบ จำนวน 32 คนเข้าร่วม ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จัดโครงการวิจัย “การปรับปรุงบำรุงดินด้วยถ่านชีวภาพร่วมกับสารชีวภัณฑ์ ในพื้นที่วนเกษตรไม้ผล  จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้วยกระบวนการ วทน. เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงาน 3ภาคีเครือข่าย ระดับประเทศได้แก่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระดับภูมิภาค ได้แก่จังหวัดอุตรดิตถ์ และหน่วยงานวิชาการในท้องถิ่น ได้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 

  ด้วยวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ของการพัฒนาของจังหวัดที่ว่าด้วย “เมืองแห่งคุณภาพชีวิต ผลผลิตปลอดภัย การท่องเที่ยวพัฒนา การค้าชายแดนเติบโต” และมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจนว่า ประชาชนและชุมชนมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพมีชีวิตที่ดีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผนวกกับจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นเมืองแห่งผลไม้ที่หลากหลายชนิด ที่มีต้นทุนทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงานมีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และภูมิปัญญาของการเกษตรกร และมีระบบวิถีการเกษตรแบบวนเกษตรไม้ผลที่มีชื่อเสียง

มอบเตาชีวภาพให้กับเกษตรต้นแบบ  32 รายที่เข้าร่วมโครงการ

มอบเตาชีวภาพให้กับเกษตรต้นแบบ  32 รายที่เข้าร่วมโครงการ

จนได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) ถึง 3 สินค้า ได้แก่ สินค้าสับปะรดห้วยมุ่น สินค้าทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ และสินค้าทุเรียนหลินลับแลอุตรดิตถ์ และกำลังจะยื่นขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย ได้แก่ทุเรียนหมอนทองอุตรดิตถ์ มะขามหวานอุตรดิตถ์ กระเทียมน้ำปาด และมะม่วงหิมพานต์อุตรดิตถ์ มูลค่าทางเศรษฐกิจต่อปีในจังหวัดจากไม้ผล  ทุเรียนหมอนทอง ทุเรียนหลง-หลินลับแล ลองกอง มะขามหวาน มะม่วงหิมพานต์ และสับปะรดห้วยมุ่น ไม่ต่ำกว่าปีละ 5 พันล้านบาท ซึ่งนับได้ว่าบ้านเรามีต้นทุนทางด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และภูมิปัญญาของการเกษตรกรที่มีวิถีเกษตรกรรมไม้ผลมาอย่างยาวนาน  พื้นที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์มีสภาพภูมิประเทศ 3 ลักษณะ คือที่ราบลุ่มแม่น้ำ  ที่ราบระหว่างหุบเขา และเขตภูเขา ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำน่านและแม่น้ำสาขา ส่งผลให้มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเกษตร จากตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถประเมินได้ว่าในปัจจุบันลักษณะของการเพาะปลูกแบบวนเกษตรดั้งเดิมกำลังถูกเปลี่ยนมาเป็นระบบพืชเดี่ยว (monoculture) มีการปลูกไม้ผลเพื่อขายมากขึ้น มีการใช้ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต และกรรมวิธีการเพาะปลูกและการดูแลอาศัยหรือการพึ่งพิงการใช้ปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืชมากขึ้น ผนวกกับลักษณะพื้นที่ปลูกเกือบทั้งหมดอยู่บนภูเขาสูง มีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายและเกิดดินถล่มตลอดเวลา และดินมีความเป็นกรดสูง และการมีเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก การใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีอยู่มาส่งเสริมและพัฒนาเชิงพื้นที่นับว่ามีประโยขน์อย่างมาก การปรับปรุงบำรุงดินด้วยถ่านชีวภาพร่วมกับสารชีวภัณฑ์ ในพื้นที่วนเกษตรไม้ผลจังหวัดอุตรดิตถ์  ด้วยกระบวนการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการผลิตถ่านชีวภาพมาเป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดินร่วมกับสารชีวภัณฑ์ ในพื้นที่วนเกษตรไม้ผลจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่สวนทุเรียน ลองกอง มะขาม และมะม่วงหิมพานต์ เพื่อพัฒนาเตาเผาถ่านชีวภาพโดยเทคโนโลยีที่เหมาะสมเชิงพื้นที่เพาะปลูก และทดสอบประสิทธิภาพของถ่านชีวภาพ (biochar) ต่อการปรับปรุงบำรุงดินทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ

มอบเตาชีวภาพให้กับเกษตรต้นแบบ  32 รายที่เข้าร่วมโครงการ

มอบเตาชีวภาพให้กับเกษตรต้นแบบ  32 รายที่เข้าร่วมโครงการ

เน้นรูปแบบการวิจัยโดยการมีส่วนรวมของเกษตรกรไม้ผล คาดว่าการวิจัยครั้งนี้เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และการเพิ่มมูลค่าและสร้างความตระหนักในการนำวัสดุเหลือทิ้งจากพื้นการเกษตรมาใช้ประโยชน์ โดยผ่านกระบวนการพิสูจน์เชิงคุณภาพและปริมาณ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่อยู่บนพื้นฐานความเหมาะสมและเกษตรกรสามารถดำเนินการได้ และยังเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและให้เกิดการรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตเป็นชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือสังคมคาร์บอนต่ำ ผสมผสานการต่อยอดองค์ความรู้จากการวิจัยเชิงพื้นที่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น

มอบเตาชีวภาพให้กับเกษตรต้นแบบ  32 รายที่เข้าร่วมโครงการ

มอบเตาชีวภาพให้กับเกษตรต้นแบบ  32 รายที่เข้าร่วมโครงการ

ณัฐวัฒน์  ราชประสิทธิ์ ภาพ/ข่าวอุตรดิตถ์

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ