ข่าว

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขามหวาน

 

 

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

 

 

               วันที่ 13 ธันวาคม 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่ในปัจจุบันโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มะขามหวานซึ่งนอกจากจะเป็นพืชเศรษฐกิจ และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากเป็นแหล่งเพาะปลูกมากที่สุด และเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพราะมะขามหวานของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีขนาดฝักที่ใหญ่ เนื้อนุ่มหนา ชุ่มฉ่ำ และรสชาดหวานสนิท และมีหลากหลายสายพันธุ์ จนเป็นจังหวัดที่ได้รับฉายาว่า “เมืองมะขามหวาน” ในขณะที่ทายาทลูกหลานเกษตรกรผู้ปลูกมะขามหวาน ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ต่างพากันพัฒนาต่อยอดจากการขายมะขามหวานฝักสด ซึ่งปกติจะมีผลผลิตมะขามหวานออกมาจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้เพียงไม่เกิน 3 เดือน คือ ประมาณกลางเดือนธันวาคมไปจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ แต่เกษตรกรที่มีห้องเย็นจะสามารถมีมะขามหวานขายได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งยังมีการแปรรูปมะขามหวานออกมาจำหน่ายกันหลากหลายชนิด อาทิ มะขามแกะเปลือกแกะเมล็ด และมะขามคลุกรสชาติต่างๆ จนเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้นิยมรับประทานมะขามหวานแปรรูป และผู้ที่ซื้อกลับไปเป็นของขวัญของฝาก

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

เช่นเดียวกับ นางสาววรัชยา จันจิตร อายุ 42 ปี ซึ่งอดีตเป็นเพียงลูกสาวเกษตรกรตัวเล็กๆ ที่คอยติดสอยห้อยตามพ่อแม่ ที่มีอาชีพเหมาสวนมะขามหวาน และรับซื้อมะขามหวาน เพื่อนำไปเร่ขายส่งที่ตามตลาดนัด และตามแนวชายแดนจังหวัดเลยติดประเทศลาว รวมทั้งชานเมืองกรุงเทพฯ มานานกว่า 15 ปี จนคว่ำหวอดกับวงการซื้อขายมะขามหวาน และมองว่าในอนาคตตลาดมะขามหวานน่าจะเปลี่ยนไป พอเรียนจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ และเห็นว่าพ่อแม่เริ่มมีอายุมากแล้ว นางสาววรัชยา จันจิตร จึงได้พลิกผันตัวเองจากลูกสาวคนเร่ขายส่งมะขามหวาน มาเป็นผู้ประกอบการ นักธุรกิจเจ้าของ บริษัท ปิ่นเพชร จำกัด ภายใต้แบรนด์ “มะขามปิ่นเพชร” ซึ่งเป็นโรงงานผลิตมะขามหวานแปรรูปรายใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ มูลค่ากว่า 50 ล้านบาท โดยโรงงานดังกล่าว จะใช้แรงงานหญิงสาวล้วนๆที่อยู่ภายในหมู่บ้าน จำนวนราว 40 คน และได้ใช้ระยะเวลาเพียงประมาณ 4-5 ปี ก็สามารถผลิตมะขามหวานแปรรูป และผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ทำมาจากมะขามหวานได้มากกว่า 25 รายการ อาทิ มะขามไร้เมล็ด มะขามคลุกไร้เมล็ด มะขามจี๊ดแซบ มะขามแซบพริกเกลือขิง มะขามหยี่รสบ้วย กล้วยสอดไส้มะขาม และข้าวแตนไส้มะขาม เป็นต้น ล่าสุดยังได้นำเมล็ดมะขามหวานไปทำเป็นเซรั่มกระชับผิว เพื่อความกระจ่างใสในระดับเซลล์ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนบรรจุภัณฑ์เพื่อจะนำมาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ต่อไป

ปัจจุบัน มะขามหวานแปรรูปภายใต้แบรนด์ “มะขามปิ่นเพชร” สามารถส่งออกไปจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ท็อปส์ซูเปอร์มาเก็ต มินิมาร์ท และโมเดิร์นเทรดต่างๆ รวมทั้งร้านค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ จำนวนมากมายหลายประเทศ อาทิ ประเทศจีน ไต้หวัน กัมพูชา เวียดนาม ลาว และบังกลาเทศ  จนสามารถสร้างรายได้เดือนละกว่า 1 ล้านบาท

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

ลูกสาวแม่ค้ามะขามหวานรถเร่ กลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปมะขา

นางสาววรัชยา จันจิตร กล่าวว่า พ่อแม่และครอบครัวมีอาชีพเหมาสวนและรับซื้อมะขามหวาน นำไปขายไปส่งตามตลาดนัดหรือตามชายแดนและกรุงเทพฯ หลังจากนั้นเริ่มมีลูกค้า จึงมีความคิดว่าเราต้องมีห้องเย็นเพื่อเก็บสต๊อกมะขามหวาน ขายส่งทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน กัมพูชา เวียดนาม โดยการแพ็คกล่อง ทำมาได้ 15 ปี ก็เริ่มมองเห็นว่าตลาดมันเริ่มเปลี่ยน ก็เลยมีแนวคิดทำแบรนด์สินค้า โดยการทดลองทำมะขามหวานไร้เมล็ดส่งขายตามตลาด และได้รับการสนับสนุน จากพาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด และพัฒนาชุมชน ทำให้ได้รับโอกาสไปออกบูธแสดงสินค้าตามงานต่างๆ รวมทั้งมีการนำเสนอสินค้าในห้าง และยังได้ออกบูธในต่างประเทศด้วยสินค้ายังได้วางจำหน่ายในห้างบิ๊กซี  ท็อป และ มินิมาร์ท ซึ่งตอนนี้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตอนนี้มีมากกว่า 25 รายการ โดยผลิตภัณฑ์หลักๆก็ยังเป็นมะขามหวาน ที่พัฒนาเพิ่มขึ้นมาก็คือ ข้าวแต๋นสอดไส้มะขาม กล้วยสอดไส้มะขาม ขั้นตอนการทำมะขามไร้เมล็ด เราจะแกะเปลือกออกก่อนและเอาเมล็ดออก เปลือกเราจะขายให้กับร้านทำเส้นขนมจีนเพื่อเอาไปทำเชื้อเพลิง ส่วนเมล็ดมะขามเรามีงานวิจัยร่วมทำกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการสกัดเป็นเจลโรส โดยการบดเป็นแป้งเม็ดมะขามก่อนและสกัดเป็นเจลโรส เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมพวกสิ่งทอ แต่ที่เราพัฒนามาผลิตเป็นไอศครีม และล่าสุดที่ทำเป็นเซรั่ม เซรั่มเพื่อกระชับผิวเพื่อความกระจ่างใสในระดับเซลล์ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนบรรจุภัณฑ์เพื่อจะนำมาพัฒนาในเชิงพานิชย์ต่อไป ปัญหาอุปสรรคที่เจอเป็นที่รู้กันว่ามะขามยังไงก็จังหวัดเพชรบูรณ์ เราก็จะมีปัญหาเรื่องการผลิตกับวัตถุดิบซึ่งก็มีไม่มากจะมีมากก็คือว่าปีไหนที่วัตถุดิบน้อย เราก็จะมีอุปสรรคหน่อยแต่ว่าเราก็มีห้องเย็นเพื่อสต๊อกก็ไม่ทำให้เกิดปัญหา แต่ปัญหาจะเป็นตัวที่เราทำงานวิจัยมากกว่า เราจะติดตรงที่เรื่องขอ อย. เพราะว่ามันเป็นสารสกัดตัวใหม่ที่ยังไม่มีในประเทศไทย แต่ว่าแป้งจากเม็ดมะขามตอนนี้ขอ อย.ได้แล้ว

ภาพ/ข่าว ชัยวัฒน์ ปานนิล/ภูษณุ ปานนิล ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.เพชรบูรณ์ รายงาน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ