ข่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ครู ข้าราชการบำนาญครู ภาคอีสาน 20 จังหวัด เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

 

 

               ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ 9 พ.ย. 2562 ที่โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย  อ.เมือง จ.นครราชสีมา  คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา  ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ( เสวนา 4 ภาค )  ซึ่งเป็นเวทีให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้ง 4 ภูมิภาค

 

               เข้ามามีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็น นำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแน่ะ ที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการและแนวทางในการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา   เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลและสรุปประเด็นสาระสำคัญ

 

               และยกร่างจัดทำแนวทางในการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาต่อไป   โดยมี นาย ออน กาจกระโทก  เลขานุการและคณะกรรมาธิการการศึกษาเป็นผู้กล่าวเปิดการเสวนา และบรรยายพิเศษฯ 

 

               และมี ตัวแทนครู ข้าราชการบำนาญครู จาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  20 จังหวัด  เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น

 

ร่วมแสดงความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

 

ร่วมแสดงความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

 

ร่วมแสดงความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

 

ร่วมแสดงความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

นาย คำพันธ์ บุญยืด ข้าราชการบำนาญสายครู กล่าวว่า สำหรับตนเองนั้นมองว่า พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ  ไม่ว่าจะเป็นฉบับใด  หรือที่กำลังมีการร่างมาก็ตาม  ตนมองว่าเป็นเพียงการปะผุทางการศึกษาเท่านั้น  เพราะการเขียนกฎหมายนั้นหากการเขียนรายละเอียดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มากไป ตนมองว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก  เพราะความไม่เข้าใจถึงเนื้อแท้ของการศึกษา ว่าการศึกษานั้นจัดเพื่ออะไร ซึ่งตนมองว่าไม่ใช้เป็นเพียงเพื่อเด็กอย่างเดียว เพราะต้องเพื่อสังคมประเทศชาติ ส่วนประเด็นต่าง ๆ ที่มีปัญหาอยุ่ขณะนี้  ตนมองว่าเป็นเพราะผู้นำทางการศึกษา ยังไม่เข้าใจถึงเนื้อแท้ทางการศึกษา ดังนั้นตนเองจึงยากมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นบนเวทีใหญ่ ๆ  ซึ่งปัจจุบันตนเองได้เตรียมข้อมูลมากมายไว้นำเสนอแล้ว ด้าน นาย สิทธิศักดิ์  พรหมสุข  ข้าราชการบำนาญ  กล่าวว่า  ตนเองอยากเห็นเจตนาของกฎหมายนี้  จะต้องสนองต่อความต้องการของผู้ที่ปฏิบัติและผู้ที่เรียนเป็นสำคัญ   เพราะหากมีการเขียนกฎหมายไปแล้วไม่ชัดเจนก็จะเป็นปัญหา  ดังนั้นตนมองว่าการปฏิรูปการศึกษา หัวใจสำคัญนั้นคือผู้ปฏิบัติ   เพราะเมื่อกฎหมายส่งเสริมและสนับสนุนผู้ปฏิบัติ  การปฏิรูปการศึกษาก็จะไปสู่เป้าหมายที่ทุกคนในชาติต้องการ   

 

ร่วมแสดงความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

 

ร่วมแสดงความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

 

ร่วมแสดงความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

 

ร่วมแสดงความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

ภาพ/ข่าว  ไพฑูรย์  ดาบพิมาย  ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.นครราชสีมา 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ