ข่าว

ทนายรณณรงค์ ไขข้อกฎหมาย ดราม่ากระทงลิขสิทธิ์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทนายรณณรงค์แนะ ให้ความรู้ด้านกฎหมาย กรณีเด็กหญิงวัย 15 ถูกล่อซื้อกระทงลิขสิทธิ์ พร้อมยกตัวอย่างคดีในชั้นศาล แนะทางที่ดีอย่าเสี่ยงขายของผิดลิขสิทธิ์จะดีกว่า

ทนายรณณรงค์แนะ ให้ความรู้ด้านกฎหมาย กรณีเด็กหญิงวัย 15 ถูกล่อซื้อกระทงลิขสิทธิ์ พร้อมยกตัวอย่างคดีในชั้นศาล แนะทางที่ดีอย่าเสี่ยงขายของผิดลิขสิทธิ์จะดีกว่า โดยเขียนผ่านทางเพจ ทนายคู่ใจ ได้ออกมาโพสต์ว่า #ฝากไว้เป็นความรู้ #ลิขสิทธิ์ ดราม่าจับลิขสิทธิ์ กระทงลาย rilakkuma และ minion เรื่องนี้ประเด็นข้อกฎหมายดังนี้

1.)ตัวการ์ตูน rilakkuma และ minion เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทศิลปกรรม ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ มาตรา 4 ดังนั้นเจ้าของหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน หากคนอื่นฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และถ้าเป็นการดัดแปลงเพื่อการค้ามีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม,27,ม.69) จะเห็นว่ามีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ แต่เป็นคดีที่ยอมความได้

2.) การนำตัวการ์ตูน rilakkuma และ minion มาทำกระทงนั้นเป็นการดัดแปลงโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งจำต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน และไม่สามารถดัดแปลงเพื่อนำมาขายได้

3.)ในกรณีตามข่าวน้องที่ทำกระทงถูกว่าจ้างให้ทำกระทง เมื่อทำเสร็จตามที่สั่งและนำไปส่งก็ถูกจับ ถือว่าเป็นการล่อซื้อ จึงมีประเด็นในเรื่องของอำนาจร้องทุกข์ และพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบอีกด้วย ซึ่งเคยมีคดีสู้กันมาถึงศาลฎีกาแล้ว เมื่อฝ่ายผู้เสียหายได้ไปว่าจ้างให้จำเลยกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายเพื่อให้เจ้าพนักงานจับจำเลยมาดำเนินคดีนี้ ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดดังกล่าวได้ และหลักฐานต่างๆนั้น ถือเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ และเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของพยานโจทก์มิใช่การแสวงหาพยานหลักฐานดังกล่าวจึงไม่อาจลงโทษจำเลยได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๖๐๐/๒๕๕๔)

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, ข้อความ

4.)แต่ถึงอย่างไรการที่จะบอกว่าไม่ผิดนั้น ต้องไปสู้กันที่ศาล นั่นหมายความถึงต้องหาหลักทรัพย์ประกันตัว และจ้างทนายสู้คดี ซึ่งกฎหมายลิขสิทธิ์เป็นกฎหมายเฉพาะด้าน ไม่ใช่ทนายทุกคนจะเคยทำคดีประเภทนี้ หลายคนจึงยอมที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อชำระค่าเสียหาย ดีกว่าต้องไปประกันตัวสู้คดี เป็นช่องให้ทางผู้เสียหายและเจ้าหน้ารัฐบางส่วนใช้เรื่องนี้มาบีบเพื่อหากินกับประชาชนที่ไม่รู้กฎหมาย เนื่องจากเป็นคดีที่อัตราโทษและเงินประกันตัวสูง จึงไม่ค่อยมีใครอยากสู้คดี

5.) ในคดีนี้ผู้ต้องหากับผู้เสียหายได้ตกลงค่าเสียหายเพื่อยอมความกันแล้วจึงทำให้คดีระงับ และจบไปแล้ว แต่ทางที่ดี อย่าเสี่ยงขายของที่มันละเมิดลิขสิทธิ์ดีกว่า หรือไม่ก็ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้ไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจ

ขอบคุณ ทนายคู่ใจ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-ตีแผ่พฤติกรรมฉาว หนุ่มจับลิขสิทธิ์สาว 15 เดินสายจับลิขสิทธิ์
-ตัวแทนลิขสิทธิ์โต้กลับไม่ได้เรียกเงินจำนวน 50,000 บาท
-สั่งยธ.จังหวัดเร่งช่วยเด็กถูกล่อซื้อกระทงลิขสิทธิ์
-เพจดังแฉซ้ำแก๊งจับลิขสิทธิ์ แม้แต่แม่ลูกอ่อนก็ไม่เว้น

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ