ข่าว

7 ขวบ กินเห็ดพิษตับวายเสียชีวิต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เตือนกินเห็ดพิษช่วงฤดูฝนระวังอันตรายถึงตายได้ 7 ขวบสังเวยแล้ว 1 ราย ป่วยรักษาอีก 4 ราย

 

              นพ.ประเสริฐ ชัยวิรัตนะ ผอ.รพ.ชัยภูมิ ได้แถลงถึงสาเหตุการเสียชีวิตของ ด.ช.อายุ 7 ขวบ นักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่ง อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ เสียชีวิตเนื่องจากทานเห็ดพิษชนิดรุนแรงเข้าไปมาก จนกระทั่งญาติได้นำตัวส่งโรงพยาบาลแก้งคร้อ และเกิดอาการตับวาย ได้ส่งตัวต่อมาเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู โรงพยาบาลชัยภูมิ เพื่อทำการล้างท้องช่วยเหลือชีวิต จำนวน 5 ราย เมื่อวันจันทร์ที่ 9 ก.ย. ผ่านมา โดย ด.ช.วัย 7 ขวบ ได้เสียชีวิตเมื่อคืน (13 ก.ย.) ที่ผ่านมา ซึ่งทางแพทย์ได้เร่งยื้อชีวิตจนสุดความสามารถ โดย ด.ช.วัย 7 ขวบ ได้รับประทานเห็นชนิดดังกล่าวเข้าไปจำนวนมากจนทำให้ตับวายกระทั่งเสียชีวิตในที่สุด

 

 

 

7 ขวบ กินเห็ดพิษตับวายเสียชีวิต

 

 

 

7 ขวบ กินเห็ดพิษตับวายเสียชีวิต

 

 

 

7 ขวบ กินเห็ดพิษตับวายเสียชีวิต

 

 

 

7 ขวบ กินเห็ดพิษตับวายเสียชีวิต

 

 

 

7 ขวบ กินเห็ดพิษตับวายเสียชีวิต

 

 

 

              นพ.ประเสริฐ ฝากเตือนไปยังพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวชัยภูมิ ที่พากันออกไปหาเห็ดตามป่าเขามารับประทานในช่วงหน้าฝนของทุกปี ซึ่งชาวบ้านมักจะพากันออกไปหาเก็บเห็ดป่ามาขายหรือปรุงอาหารรับประทานกันจำนวนมาก และมักจะพบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากการกินเห็ดพิษเป็นประจำทุกปี เนื่องจากเห็ดป่ามีทั้งเห็ดที่กินได้และเห็ดพิษ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก อาจทำให้เข้าใจผิด

              อย่างไรก็ตาม สำหรับเห็ดที่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตส่วนใหญ่ คือ เห็ดระโงกพิษ บางแห่งเรียกว่าเห็ดระโงกหิน เห็ดระงาก หรือ เห็ดไข่ตายซาก ซึ่งเห็ดชนิดนี้คล้ายคลึงกับเห็ดระโงกขาว หรือ ไข่ห่าน ที่สามารถกินได้ แต่แตกต่างกัน คือ เห็ดระโงกพิษจะมีก้านสูง กลางดอกหมวกจะนูนเล็กน้อย มีกลิ่นค่อนข้างแรง นอกจากนี้ยังมีเห็ดป่าชนิดที่มีพิษรุนแรง คือ เห็ดเมือกไครเหลือง โดยประชาชนมักสับสนกับ เห็ดขิง ซึ่งชนิดที่เป็นพิษจะมีเมือกปกคลุมและมีสีดอกเข้มกว่า ซึ่งยากแก่การสังเกตด้วยตาเปล่า

              ทั้งนี้ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้ทดสอบความเป็นพิษของเห็ด เช่น การจุ่มช้อนเงินลงไปในหม้อต้มเห็ด การนำไปต้มกับข้าวสาร หรือใช้ปูนกินหมากป้ายที่ดอกเห็ด ถ้าเป็นเห็ดพิษจะกลายเป็นสีดำ เป็นต้น วิธีเหล่านี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิงในการใช้ทดสอบพิษกับเห็ดกลุ่มนี้ได้ โดยเฉพาะเห็ดระโงกพิษที่มีสารที่ทนต่อความร้อน แม้จะปรุงให้สุกแล้ว เช่น ต้ม แกง ก็ไม่สามารถทำลายสารพิษนั้นได้

 

 

 

              สำหรับอาการหลังกินเห็ดพิษ จะคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือถ่ายอุจจาระเหลว ไม่ควรซื้อยากินเอง หรือไปรักษากับหมอพื้นบ้าน การช่วยเหลือในเบื้องต้น คือ กระตุ้นให้ผู้ป่วยอาเจียน โดยให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 1 - 2 แก้ว ล้วงคอให้อาเจียน หรือดื่มน้ำอุ่นผสมเกลือแกงแล้วล้วงคอให้อาเจียนออกมา (วิธีนี้ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี) จากนั้นรีบพาไปพบแพทย์ทันที แจ้งประวัติการกินเห็ดและนำตัวอย่างเห็ดพิษไปด้วย (หากยังเหลืออยู่) ควรให้ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือนัดติดตามอาการทุกวันจนกว่าจะหายเป็นปกติ เนื่องจากเห็ดพิษชนิดร้ายแรงจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในช่วงวันแรก แต่หลังจากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงตามมา คือ การทำงานของตับและไตล้มเหลว อาจทำให้เสียชีวิตได้

 

 

 

7 ขวบ กินเห็ดพิษตับวายเสียชีวิต

 

 

 

7 ขวบ กินเห็ดพิษตับวายเสียชีวิต

 

 

 

--------------------

อนุชา มูลเทพ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคสำนักข่าวทีนิวส์ จ.ชัยภูมิ

 

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ